น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคาสุกรในภูมิภาคเอเชียว่า ปัจจุบันราคาสุกรทุกประเทศในภูมิภาคนี้ปรับตัวสูงขึ้น จากปัญหาการขาดแคลนปริมาณสุกรในประเทศ ที่เสียหายจากโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ หรือ ASF ในสุกร ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2561 ทำให้ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มของประเทศที่ประสบปัญหาปรับตัวสูงขึ้นหลายเท่าตัว อาทิ ประเทศจีนราคาสูงถึง 172 บาทต่อกิโลกรัม เวียดนามราคา 105 บาทต่อกิโลกรัม กัมพูชาราคา 98 บาทต่อกิโลกรัม และเมียนมาราคา 89 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ประเทศไทยยังคงยืนราคาสุกรหน้าฟาร์มไว้ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งถือเป็นราคาที่ถูกที่สุด และเกษตรกรยังร่วมกันปกป้องอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรไทยจากโรค ASF มาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นประเทศเดียวที่ยังคงสถานะปลอดโรคนี้ มานานกว่า 2 ปี และถือเป็นความสำเร็จระดับภูมิภาคในการป้องกันโรคร้ายแรงในอุตสาหกรรมสุกร ทั้งยังเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้เนื้อสุกรปลอดภัย ไม่ต้องประสบภาวะขาดแคลนได้จนถึงปัจจุบัน ขณะที่ผู้เลี้ยงสุกรในหลายพื้นที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาโรคเพิร์ส (PRRS) ซึ่งเป็นโรคระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจในสุกร
“โรค PRRS ทำให้เกิดความเสียหายในการเลี้ยงสุกรทุกระยะ ทั้งฟาร์มพ่อแม่พันธุ์และสุกรขุน ส่งผลต่อปริมาณสุกรในท้องตลาดที่ลดลง และยังกระทบกับต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น และยังมีค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคทั้ง ASF และ PRRS เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง วันนี้เกษตรกรขอเพียงความเห็นใจว่าเรามีเพียงอาชีพเดียว และขอให้กลไกตลาดได้ทำงานอย่างเสรี ตามอุปสงค์-อุปทานที่แท้จริง ขอให้เกษตรกรได้ลืมตาอ้าปากหลังต้องขาดทุนสะสมมานานกว่า 3 ปี ที่สำคัญเนื้อสุกรไทยมีราคาถูกที่สุดในภูมิภาค รวมถึงผู้บริโภคสามารถเลือกทานเนื้อไก่ ไข่ไก่ ปลาที่เป็นโปรตีนทดแทนได้” น.สพ.วิวัฒน์ กล่าว
อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ย้ำว่าสมาคมฯ ยังคงร่วมมือกับเกษตรกรผู้เลี้ยงทั่วประเทศในการบริหารจัดการด้านการผลิตสุกร เพื่อให้คนไทยมีเนื้อสุกรบริโภคอย่างเพียงพอ ไม่ให้มีปัญหาขาดแคลนเหมือนประเทศอื่นๆ อย่างแน่นอน./น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคาสุกรในภูมิภาคเอเชียว่า ปัจจุบันราคาสุกรทุกประเทศในภูมิภาคนี้ปรับตัวสูงขึ้น จากปัญหาการขาดแคลนปริมาณสุกรในประเทศ ที่เสียหายจากโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ หรือ ASF ในสุกร ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2561 ทำให้ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มของประเทศที่ประสบปัญหาปรับตัวสูงขึ้นหลายเท่าตัว อาทิ ประเทศจีนราคาสูงถึง 172 บาทต่อกิโลกรัม เวียดนามราคา 105 บาทต่อกิโลกรัม กัมพูชาราคา 98 บาทต่อกิโลกรัม และเมียนมาราคา 89 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ประเทศไทยยังคงยืนราคาสุกรหน้าฟาร์มไว้ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งถือเป็นราคาที่ถูกที่สุด และเกษตรกรยังร่วมกันปกป้องอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรไทยจากโรค ASF มาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นประเทศเดียวที่ยังคงสถานะปลอดโรคนี้ มานานกว่า 2 ปี และถือเป็นความสำเร็จระดับภูมิภาคในการป้องกันโรคร้ายแรงในอุตสาหกรรมสุกร ทั้งยังเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้เนื้อสุกรปลอดภัย ไม่ต้องประสบภาวะขาดแคลนได้จนถึงปัจจุบัน ขณะที่ผู้เลี้ยงสุกรในหลายพื้นที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาโรคเพิร์ส (PRRS) ซึ่งเป็นโรคระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจในสุกร
“โรค PRRS ทำให้เกิดความเสียหายในการเลี้ยงสุกรทุกระยะ ทั้งฟาร์มพ่อแม่พันธุ์และสุกรขุน ส่งผลต่อปริมาณสุกรในท้องตลาดที่ลดลง และยังกระทบกับต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น และยังมีค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคทั้ง ASF และ PRRS เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง วันนี้เกษตรกรขอเพียงความเห็นใจว่าเรามีเพียงอาชีพเดียว และขอให้กลไกตลาดได้ทำงานอย่างเสรี ตามอุปสงค์-อุปทานที่แท้จริง ขอให้เกษตรกรได้ลืมตาอ้าปากหลังต้องขาดทุนสะสมมานานกว่า 3 ปี ที่สำคัญเนื้อสุกรไทยมีราคาถูกที่สุดในภูมิภาค รวมถึงผู้บริโภคสามารถเลือกทานเนื้อไก่ ไข่ไก่ ปลาที่เป็นโปรตีนทดแทนได้” น.สพ.วิวัฒน์ กล่าว
อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ย้ำว่าสมาคมฯ ยังคงร่วมมือกับเกษตรกรผู้เลี้ยงทั่วประเทศในการบริหารจัดการด้านการผลิตสุกร เพื่อให้คนไทยมีเนื้อสุกรบริโภคอย่างเพียงพอ ไม่ให้มีปัญหาขาดแคลนเหมือนประเทศอื่นๆ อย่างแน่นอน./น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคาสุกรในภูมิภาคเอเชียว่า ปัจจุบันราคาสุกรทุกประเทศในภูมิภาคนี้ปรับตัวสูงขึ้น จากปัญหาการขาดแคลนปริมาณสุกรในประเทศ ที่เสียหายจากโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ หรือ ASF ในสุกร ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2561 ทำให้ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มของประเทศที่ประสบปัญหาปรับตัวสูงขึ้นหลายเท่าตัว อาทิ ประเทศจีนราคาสูงถึง 172 บาทต่อกิโลกรัม เวียดนามราคา 105 บาทต่อกิโลกรัม กัมพูชาราคา 98 บาทต่อกิโลกรัม และเมียนมาราคา 89 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ประเทศไทยยังคงยืนราคาสุกรหน้าฟาร์มไว้ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งถือเป็นราคาที่ถูกที่สุด และเกษตรกรยังร่วมกันปกป้องอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรไทยจากโรค ASF มาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นประเทศเดียวที่ยังคงสถานะปลอดโรคนี้ มานานกว่า 2 ปี และถือเป็นความสำเร็จระดับภูมิภาคในการป้องกันโรคร้ายแรงในอุตสาหกรรมสุกร ทั้งยังเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้เนื้อสุกรปลอดภัย ไม่ต้องประสบภาวะขาดแคลนได้จนถึงปัจจุบัน ขณะที่ผู้เลี้ยงสุกรในหลายพื้นที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาโรคเพิร์ส (PRRS) ซึ่งเป็นโรคระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจในสุกร
“โรค PRRS ทำให้เกิดความเสียหายในการเลี้ยงสุกรทุกระยะ ทั้งฟาร์มพ่อแม่พันธุ์และสุกรขุน ส่งผลต่อปริมาณสุกรในท้องตลาดที่ลดลง และยังกระทบกับต้นทุนการเลี้ยงที่สูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น และยังมีค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคทั้ง ASF และ PRRS เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง วันนี้เกษตรกรขอเพียงความเห็นใจว่าเรามีเพียงอาชีพเดียว และขอให้กลไกตลาดได้ทำงานอย่างเสรี ตามอุปสงค์-อุปทานที่แท้จริง ขอให้เกษตรกรได้ลืมตาอ้าปากหลังต้องขาดทุนสะสมมานานกว่า 3 ปี ที่สำคัญเนื้อสุกรไทยมีราคาถูกที่สุดในภูมิภาค รวมถึงผู้บริโภคสามารถเลือกทานเนื้อไก่ ไข่ไก่ ปลาที่เป็นโปรตีนทดแทนได้” น.สพ.วิวัฒน์ กล่าว
อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ย้ำว่าสมาคมฯ ยังคงร่วมมือกับเกษตรกรผู้เลี้ยงทั่วประเทศในการบริหารจัดการด้านการผลิตสุกร เพื่อให้คนไทยมีเนื้อสุกรบริโภคอย่างเพียงพอ ไม่ให้มีปัญหาขาดแคลนเหมือนประเทศอื่นๆ อย่างแน่นอน./