เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ซีพีเอฟ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำตลอดกระบวนการผลิต  หมุนเวียนนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ร่วมแบ่งปันให้ชุมชน
08 ก.ค. 2563
ซีพีเอฟ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำตลอดกระบวนการผลิต หมุนเวียนนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ร่วมแบ่งปันให้ชุมชน

บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มุ่งมั่นเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตสูงสุด เดินหน้าเป้าหมายลดการดึงน้ำมาใช้ 30% ในปี 2568 ลดความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำและมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน


นายสุชาติ วิริยะอาภา รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ตระหนักดีถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งพลังงานและน้ำ จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเป็นระบบ เพื่อสนับสนุนแผนการใช้ทรัพยากรและลดความเสี่ยงของธุรกิจ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยในปี 2562 บริษัทฯสามารถลดปริมาณการดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิตได้ 6% หรือ 9 ล้านลูกบาศก์เมตร และสามารถลดปริมาณการดึงน้ำโดยรวมได้ 36%เมื่อเทียบกับปีฐาน 2558 ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายปี 2568 ที่กำหนดไว้ 30%


“ซีพีเอฟ เดินหน้าตามแผนการลดปริมาณการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 และมีการดำเนินงานทุกธุรกิจ จนถึงปัจจุบันเราดำเนินงานได้เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และจะมีการทบทวนเป้าหมายอีกครั้งหลังการประเมินผลการดำเนินงานในปีนี้” นายสุชาติ กล่าว  


สำหรับการใช้ทรัพยากรน้ำของ ซีพีเอฟ เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีการบำบัด การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ และการแบ่งปันให้ชุมชน เช่น ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกุ้งของบริษัทฯ ที่บางสระเก้า จังหวัดจันทบุรี และฟาร์มร้อยเพชร จังหวัดตราด เป็นโครงการนำร่องในการติดตั้งเทคโนโลยีการบำบัดน้ำ เช่น ระบบไบโอฟลอค (Bio-Floc) ซึ่งเป็นการเติมจุลินทรีย์ลงในน้ำเพื่อบำบัดสารละลายไนโตรเจนที่เกิดจากของเสียที่กุ้งขับถ่ายออกมา ช่วยลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำระหว่างการเลี้ยงกุ้งลงถึง 70% เทียบกับการเลี้ยงกุ้งโดยทั่วไป  รวมถึงการนำเทคโนโลยี Ultra Filtration (UF) มากรองน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว หมุนเวียนนำกลับมาใช้เลี้ยงกุ้งได้มากกว่า 90%  และกำลังเดินหน้านำความสำเร็จดังกล่าวไปขยายผลในฟาร์มอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ดำเนินธุรกิจสัตว์น้ำ 


อีกหนึ่งตัวอย่าง คือ การนำเทคโนโลยี UF และ Reverse Osmosis มาใช้ในการกรองน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว เพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ในเครื่องทำระเหย (Evaporator) ในระบบทำความเย็น ที่โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูปหนอกจอก ซึ่งสามารถทดแทนน้ำจากแหล่งภายนอกได้ถึง 216,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ลดค่าใช้จ่ายได้กว่า 1.7 ล้านบาทต่อปี 


นอกจากนี้ ธุรกิจอาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์บก และธุรกิจอาหาร ยังช่วยลดการดึงน้ำจากธรรมชาติ โดยมีการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ในกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น รดน้ำต้นไม้ ล้างพื้นถนน และล้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์กว่า 30 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 21% ของการดึงน้ำมาใช้ทั้งหมด


ในส่วนของการแบ่งปันน้ำให้ชุมชน ธุรกิจสุกรได้นำน้ำที่ผ่านการบำบัดจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพไปกระจายส่งเป็น “น้ำปุ๋ย” ให้แก่ชุมชนรอบฟาร์มกว่า 447,000 ลูกบาศก์เมตร ครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 3,650 ไร่ ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ช่วยลดต้นทุนการเพาะปลูก และสร้างความมั่นคงให้กับชุมชน 


“การใช้ทรัพยากรน้ำและการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใช้น้ำของบริษัทฯ แล้ว ยังช่วยลดการดึงน้ำจากธรรมชาติและสามารถหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้มากขึ้น” นายสุชาติ กล่าว  


นายสุชาติ กล่าวต่อไปว่า ซีพีเอฟ ยังประเมินความเสี่ยงด้านน้ำด้วยเครื่องมือ Aqueduct Water Risk Atlas 3.0 ซึ่งพัฒนาโดย World Resources Institute และเป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดแคลนน้ำจากสถานที่ตั้งของธุรกิจบริษัทและธุรกิจของคู่ค้า ช่วยในการเลือกสถานที่ตั้งของธุรกิจและการทำแผนจัดการน้ำได้อย่างเหมาะสม 


บริษัทฯ ยังสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับใช้น้ำ รวมถึงการส่งบุคลากรลงพื้นที่เพื่อสนับสนุนคู่ค้าธุรกิจในการจัดทำแผนรองรับความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำ และผลกระทบจากภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชนโดยรอบทั้งปัจจุบันและในอนาคต./

Tag: #cpf 
กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ เปิดเวที Feed Sustainovation 2024 เสริมพลังบุคลากรด้วย AI และนวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
20 พ.ย. 2567
ซีพีเอฟ เปิดเวที Feed Sustainovation 2024 เสริมพลังบุคลากรด้วย AI และนวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
เอกอัครราชทูตเดนมาร์ก นำคณะนักธุรกิจชมกระบวนการผลิตอาหารมาตรฐานสากลของซีพีเอฟ
13 พ.ย. 2567
เอกอัครราชทูตเดนมาร์ก นำคณะนักธุรกิจชมกระบวนการผลิตอาหารมาตรฐานสากลของซีพีเอฟ
'The Foodfellas' คว้ารางวัล 'Technical Partnership Award' จาก Sysco
31 ต.ค. 2567
'The Foodfellas' คว้ารางวัล 'Technical Partnership Award' จาก Sysco
ซีพีเอฟ คว้ารางวัล Southeast Asia Gold MIKE Award 2567 ยกระดับการจัดการองค์ความรู้ สู่นวัตกรรมอาหาร
25 ต.ค. 2567
ซีพีเอฟ คว้ารางวัล Southeast Asia Gold MIKE Award 2567 ยกระดับการจัดการองค์ความรู้ สู่นวัตกรรมอาหาร
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x