เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
นักวิชาการย้ำ!! อุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟปลอดภัย
16 ก.พ. 2564
นักวิชาการย้ำ!! อุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟปลอดภัย

ด้วยวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบันที่มีความเร่งรีบ ต้องการความสะดวกสบาย รวดเร็ว อาหารแช่เข็ง อาหารจานด่วน จึงเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงไมโครเวฟก็เป็นอุปกรณ์ที่ถูกเลือกใช้ประกอบอาหารในอันดับต้นๆ เพราะใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก ขณะเดียวกัน การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในตอนนี้ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้วิถีชีวิตแบบนิวนอร์มอลแทรกซึมจนกลายเป็นเรื่องที่หลายคนคุ้นชิน 


อย่างไรก็ตาม ยังคงมีกระแสข่าวต่างๆในโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับรังสีจากไมโครเวฟกับการอุ่นอาหารที่มีอันตรายต่อร่างกาย จึงอยากทำความเข้าใจก่อนว่า ไมโครเวฟใช้คลื่นรังสีในการทำอาหารซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหมือนคลื่นวิทยุ โดยจะมีความถี่คลื่น 2,450 ล้านรอบต่อวินาที เมื่อคลื่นพุ่งไปกระทบอาหารจะถ่ายทอดพลังงานให้โมเลกุลของน้ำทั้งในและนอกอาหารเกิดการสั่นสะเทือนเสียดสีกันเป็นความร้อน ทำให้อาหารสุกอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นคลื่นจะสลายตัวไปไม่สะสมอยู่ในอาหาร คงเหลือไว้แต่สภาพอาหารที่เปลี่ยนจากอาหารเดิมเป็นอาหารสุกเท่านั้น จึงสรุปได้ว่าคลื่นไมโครเวฟไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์


ทางการแพทย์นำคลื่นไมโครเวฟมาใช้ในการรักษาอยู่บ้าง แต่มีคลื่นความถี่น้อยกว่าคลื่นไมโครเวฟที่ใช้ปรุงอาหาร เนื่องจากต้องการความร้อนเพียงอุ่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ทางเวชศาสตร์พื้นฟูใช้คลื่นไมโครเวฟความถี่ต่ำเพื่อคลายการปวดกล้ามเนื้อ ส่วนทางด้านรังสีรักษาและทางระบบทางเดินปัสสาวะใช้คลื่นไมโครเวฟความถี่สูงกว่า เนื่องจากใช้ในการทำลายเซลล์มะเร็งเฉพาะที่ตื้นๆ ร่วมกับการรักษาด้วยรังสีและยารักษามะเร็ง


สำหรับการจ้องแสงในขณะที่เตาไมโครเวฟกำลังทำงานไม่ได้มีอันตรายต่อดวงตาอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด เพราะคลื่นไมโครเวฟไม่สามารถทะลุผ่านผนังและฝาเตาออกมาได้ นอกจากนี้ แสงที่เห็นภายในเครื่องไม่ใช่แสงคลื่นไมโครเวฟ แต่เป็นแสงของดวงไฟฟ้าที่ติดตั้งเพื่อให้ความสว่างภายในตู้ขณะทำงาน


สิ่งที่ควรระมัดระวังในการใช้เครื่องไมโครเวฟคือ 1) เลือกซื้อเครื่องจากบริษัทที่ได้มาตรฐาน มีการรับรองคุณภาพการผลิต เชื่อถือได้ 2) อ่านคู่มือและทำตามขั้นตอน 3) ไม่วางของหนักเหนี่ยวโหนประตู เพราะอาจทำให้ฝาปิดไม่สนิทมีคลื่นไมโครเวฟรั่วออกมาได้ 4) เมื่อเกิดการชำรุดควรส่งซ่อมโดยช่างที่ชำนาญ 5) ไม่ใช้ดวงตาแนบฝาตู้ขณะเครื่องทำงาน 6) หมั่นดูแลทำความสะอาดเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เพราะความเค็มของอาหารจะทำให้เกิดสนิมและเป็นรอยทะลุ และอาจเกิดรอยรั่วเป็นอันตรายกับผู้ใช้ได้


คำแนะนำสำหรับผู้บริโภคในการใช้เตาไมโครเวฟอย่างปลอดภัย ควรเลือกภาชนะที่ทนความร้อน เช่น ชามแก้วหรือกระเบื้องทนไฟ พลาสติกทนความร้อน ไม่ใช้ภาชนะโลหะทุกชนิดกับตู้ไมโครเวฟเพราะคลื่นไม่สามารถพุ่งผ่านไปได้ จึงอาจทำให้เกิดดวงไฟและอาจทำให้ไฟลุกไหม้ ในส่วนของการอุ่นอาหารควรใช้ฝาพลาสติกทนความร้อนครอบอาหารไว้เพื่อป้องกันอาหารกระเด็น นอกจากนี้ ไม่ควรนำอาหารที่มีผิวมันหรือเปลือกแข็งอุ่นอาหารในตู้ไมโครเวฟเพราะความร้อนจะทำให้อากาศภายในอาหารขยายตัว ประกอบกับไอน้ำที่เกิดขึ้นมีแรงดันสูง จะทำให้เกิดระเบิดเสียงดังได้ ดังนั้น ควรใช้ส้อมจิ้มผิวอาหารหรือเปลือกอาหารให้เป็นรูเพื่อป้องกันการปะทุที่เกิดจากความร้อนภายในอาหารขยายตัว และการอุ่นอาหารที่เป็นภาชนะมีฝาปิด ควรเปิดฝาเล็กน้อยเพื่อให้ไอน้ำกระจายออกมาได้




รศ.พญ.สุพัตรา แสงรุจิ

อดีตอาจารย์สาขาวิชารังสีรักษา 

ภาควิชารังสีวิทยา โรงพยาบาลศิริราช


ขอขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.prachachat.net/hilight-prachachat/news-61289

กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
05 ก.ค. 2567
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
30 เม.ย. 2567
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
13 ก.พ. 2567
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
20 พ.ย. 2566
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x