เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
นักวิชาการย้ำ ตระหนักรู้ เลือกเนื้อสัตว์ปลอดสาร ปลอดภัย ลดเสี่ยงเชื้อดื้อยา
24 ธ.ค. 2564
นักวิชาการย้ำ ตระหนักรู้ เลือกเนื้อสัตว์ปลอดสาร ปลอดภัย ลดเสี่ยงเชื้อดื้อยา

นักวิชาการ สัตวแพทย์ จุฬาฯ ย้ำปัญหาเชื้อดื้อยาเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ตั้งแต่ฟาร์มที่ให้ความสำคัญกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล  ควบคู่กับการจัดการด้านหลักสวัสดิภาพสัตว์ แนะผู้บริโภคตระหนักรู้เลือกเนื้อสัตว์ที่มาจากแหล่งผลิตและจำหน่ายที่ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัย 


รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร. ณุวีร์ ประภัสระกูล รองคณบดีวิจัย นวัตกรรม และสื่อสารองค์กร คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า เชื้อดื้อยานับว่าเป็นวิกฤตของทุกคนทั่วโลก ซึ่งปัญหานี้เกิดจากการพยายามปรับตัวของเชื้อแบคทีเรียให้สามารถอยู่บนโลกนี้ได้ การเกิดเชื้อดื้อยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น จนยาปฏิชีวนะใช้รักษาแล้วไม่ได้ผล ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น ขณะที่องค์การสหประชาชาติ (United Nation; UN) คาดการณ์ว่าหากไม่มีการป้องกันและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ภายในอีก 30 ปีข้างหน้า (ค.ศ. 2050) จะมีผู้เสียชีวิตจากปัญหาเชื้อดื้อยาสูงถึง 10 ล้านคนต่อปี


สำหรับ การใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ ยังมีความจำเป็นในการรักษา ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (animal welfare) เมื่อมีสัตว์เจ็บป่วย และช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อในฝูงของสัตว์ โดยอยู่ในการควบคุมของสัตวแพทย์ และตามมาตรฐานของการใช้ยาปฏิชีวนะควบคุมโดยกรมปศุสัตว์ ที่กำหนดให้มีการใช้อย่างสมเหตุสมผลและเหมาะสม 


“หลักที่สำคัญคือ ระยะการหยุดยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมก่อนส่งเข้าสู่กระบวนการผลิตถัดไป เพื่อลดโอกาสเสี่ยง และยังไม่มีหลักฐานชี้นำว่าเชื้อดื้อยาเป็นผลจากการบริโภคอาหารที่มาจากกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานส่งผลต่อสุขภาพผู้บริโภค” รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร. ณุวีร์ กล่าว


สำหรับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องสมเหตุผลในสัตว์ ควรเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่อนุญาตให้ใช้โดยกรมปศุสัตว์ ซึ่งจะมีมาตรการและข้อกำหนดต่างๆในการใช้ยาให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์น้ำ สัตว์เลี้ยง และปศุสัตว์ และควรเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของยา คุณภาพของยา ความถี่ของการใช้ ควรจะใช้ให้ถูกต้องตามข้อแนะนำของฉลากยา 


นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ยังมีข้อห้ามไม่ให้ใช้กลุ่มของยาที่ใช้รักษามนุษย์มาใช้ในสัตว์ ปัจจุบันวงการปศุสัตว์ไทยตื่นตัวกันมากในการลดใช้ยาปฏิชีวนะ และหาสารทางเลือกอื่นๆ มาใช้การทดแทนยาปฏิชีวนะ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติที่กรมปศุสัตว์กำหนดเป้าหมายมุ่งลดการใช้ยาปฏิชีวนะ 30% ในวงการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมมือกันดำเนินการเพื่อ ยกระดับความปลอดภัยอาหารให้กับผู้บริโภค


รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร. ณุวีร์ ประภัสระกูล กล่าวเพิ่มเติมว่า การตระหนักรู้ ของผู้บริโภคเป็นเรื่องที่ดี และมีส่วนสำคัญในการลดปัญหาเชื้อดื้อยา โดยผู้บริโภคต้องให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ การดูสีรวมถึงลักษณะของเนื้อเป็นหลัก เนื้อสุกรต้องเป็นสีชมพู ไม่มีสิ่งแปลกปลอม ไม่มีรอยเลือดจ้ำ หรือสีของเนื้อผิดปกติ และเลือกซื้อจากร้านจำหน่ายที่สะอาด ได้มาตรฐาน เชื่อถือได้ โดยสังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" ซึ่งเป็นสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ว่าจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ถูกสุขลักษณะ มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานทุกขั้นตอน และตรวจสอบย้อนกลับได้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าได้เลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่ปลอดสารปนเปื้อน และปลอดภัยจากเชื้อดื้อยา

กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
05 ก.ค. 2567
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
30 เม.ย. 2567
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
13 ก.พ. 2567
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
20 พ.ย. 2566
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x