เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
กรมปศุสัตว์ ชูสุขภาพหนึ่งเดียว เพื่อสุขภาพที่ดีของคนและสัตว์
17 พ.ย. 2564
กรมปศุสัตว์ ชูสุขภาพหนึ่งเดียว เพื่อสุขภาพที่ดีของคนและสัตว์

กระแสความสนใจกับปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ ซึ่งเป็นหนึ่งในวิกฤตที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยองค์การสหประชาชาติ ได้ขับเคลื่อนสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนในการร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวบนพื้นฐานของแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว (One health approach) เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้คนทั่วโลก


ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่แสดงความมุ่งมั่นในการร่วมแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพกับนานาประเทศทั่วโลก และได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ.2560 - 2564 โดยจัดทำ แผนยุทธศาสตร์จัดการดื้อยาต้านจุลชีพ พ.ศ.2560-2564  ประกอบด้วย  6  ยุทธศาสตร์ วางเป้าหมายชัดเจนในการจัดการกับปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ  ซึ่ง กรมปศุสัตว์เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เป็นแกนหลัก ในการบูรณาการจากภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร และภาคสังคม ในการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยา และควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคเกษตรและการเลี้ยงสัตว์


กรมปศุสัตว์ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลและส่งเสริมการผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ที่มีความปลอดภัยตามหลักอาหารปลอดภัย (Food safety) และสามารถสอบย้อนกลับได้ (Traceability) ในด้านปัญหาเชื้อดื้อยา ได้มีการดำเนินการด้านต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในการลดเชื้อดื้อยาในสัตว์ เช่น ยกเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะทุกชนิดเพื่อการเร่งการเจริญเติบโต (Growth Promoter) การกำกับดูแลอาหารสัตว์ที่ผสมยา (Medicated Feed) การเฝ้าระวังสถานการณ์การเกิดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพตามวิธีสากล (OIE) จากความมุ่งมั่นนี้ส่งผลให้ปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพในภาคปศุสัตว์ไทยปี 2562 เทียบกับปี 2560 ภาคปศุสัตว์ได้ลดใช้ยาลงได้ 49% ซึ่งเกินจากเป้าหมายที่ตั้งไว้


ปัญหาเชื้อดื้อยาส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนหรือตกค้างของยาต้านจุลชีพในสิ่งแวดล้อม สาเหตุมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่มากเกินความจำเป็นและไม่เหมาะสม จึงมีแนวทางที่พึงปฏิบัติในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างถูกต้องสมเหตุผล คือ ใช้เท่าที่จำเป็นในการรักษาสุขภาพของสัตว์ที่เจ็บป่วย ซึ่งเป็นไปตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare) ภายใต้การควบคุมของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้สำเร็จได้นั้น ต้องอาศัยการร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง ทั้งหน่วยงานด้านสาธารณสุข ด้านเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้หมุดหมายในการป้องกันเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพบรรลุเป้าหมายที่วางไว้


กรมปศุสัตว์ ได้ริเริ่มและดำเนินโครงการที่ป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค 1.โครงการ “การลดใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์” เพื่อลดการใช้ยาต้านจุลชีพในการทำปศุสัตว์ ซึ่งเป็นการต่อยอดโครงการการผลิตสินค้าปศุสัตว์ให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เช่น โครงการเขียงสะอาด โครงการเนื้ออนามัย โครงการปศุสัตว์ OK 2.โครงการ “การเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะในระบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์ (Raised Without Antibiotics; RWA)” จะไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยงจนถึงแหล่งจำหน่าย หากสัตว์มีการเจ็บป่วยระหว่างการเลี้ยงจะมีการรักษาสัตว์ป่วยตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (animal welfare) โดยการรักษาจะอยู่ภายใต้ความดูแลของสัตวแพทย์ โดยใช้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีระยะหยุดให้ยาตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริม และจัดทำโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้ทางเลือกอื่นๆ (Alternatives) เพื่อทดแทนและลดการใช้ยาต้านจุลชีพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เช่น สมุนไพร Prebiotics และ Probiotics


ทุกวันนี้ ผู้ประกอบการ และเกษตรกรไทยให้ความสำคัญเรื่องการเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะมากขึ้น และ กรมปศุสัตว์ได้ให้การรับรองฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะแล้วมากกว่า 200 แห่ง ทั้งฟาร์มไก่ ฟาร์มสุกร ฟาร์มไก่ไข่แบบไม่ใช้กรง (Cage Free)  นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน NSF ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ยืนยันผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ที่มาปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยงดูอีกด้วย ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าจะได้รับประทานอาหารคุณภาพสูง ปลอดภัย ปลอดสารตกค้าง ดีต่อสุขภาพ


นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล 

รองอธิบดีกรมปศุสัตว์

กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
05 ก.ค. 2567
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
30 เม.ย. 2567
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
13 ก.พ. 2567
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
20 พ.ย. 2566
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x