เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
เสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยอาหารที่ดี มีประโยชน์ ต้านโรคโควิด-19
05 พ.ค. 2564
เสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยอาหารที่ดี มีประโยชน์ ต้านโรคโควิด-19

สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทั่วโลก เป็นตัวกระตุ้นให้ประชาชนส่วนใหญ่ต่างหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพ โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ และรักษาความสะอาดมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าหากมีภูมิคุ้มกันที่ดี ก็จะลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคต่างๆได้


ระบบภูมิคุ้มกัน คือระบบที่ป้องกันเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย โดยร่างกายจะมีกลไกต่างๆ เช่น กลไกทางกายภาพ ซึ่งเป็นกลไกป้องกันโรคที่กีดขวางไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เช่นผิวหนัง เยื่อบุทางเดินหายใจ และเยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นต้น กลไกทางเคมี เช่นการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร สารคัดหลั่ง เป็นต้น และกลไกที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน เช่น การสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว (ทำลายเชื้อโรค) เป็นต้น ดังนั้นหากมีร่างกายที่แข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันที่ดีจะลดโอกาสการติดเชื้อจาก COVID-19 ได้ หรือหากติดเชื้อก็จะทำให้อาการเจ็บป่วยไม่รุนแรง


ปกติแล้วรอบตัวเราเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ ในน้ำ ในดิน เราจึงควรป้องกันจุลินทรีย์เหล่านี้ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายด้วยการรักษาสุขอนามัยให้ดี รับประทานอาหารที่สะอาดและทำสุกใหม่ ๆ ตัดเล็บให้สั้น ล้างมือให้สะอาดเสมอโดยเฉพาะก่อนหยิบอาหารเข้าปาก ไม่ไปอยู่ในที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก แสงแดดส่องไม่ถึง อันเป็นแหล่งของเชื้อโรค ไม่ไอ จาม รดกัน ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย หากจำเป็นให้ใช้ผ้าปิดปากและจมูก หรือใส่แมส ก็ช่วยป้องกันโรคติดต่อได้เป็นอย่างดี


ปัจจุบัน ยังไม่มีงานวิจัยรายงานว่าอาหารสามารถรักษาโรค COVID-19 ได้ แต่อาหารสามารถช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ หากมองในมุมโภชนาการ การกินอาหารที่มีโภชนาการที่ดี เช่น การกินอาหารให้ครบ 5 หมู่และได้รับในปริมาณที่เหมาะสม เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ซึ่งเป็นสารอาหารหลัก และวิตามิน และเกลือแร่ซึ่งเป็นสารอาหารรอง และการดื่มน้ำที่สะอาด การออกกำลังกาย และการพักผ่อนที่เพียงพอ สามารถทำให้ร่างกายของเรามีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี และสามารถป้องกันเชื้อโรคได้


ยกตัวอย่างสารอาหารบางตัวที่เกี่ยวข้องการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น 1) โปรตีน เป็นสารอาหารที่ช่วยในการสร้างเซลล์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน (กรดอะมิโนเป็นโมเลกุลพื้นฐานที่สำคัญในการสังเคราะห์โปรตีน) 2) วิตามินซี โดยวิตามินซี เป็นวิตามินที่ช่วยการทำงานของเม็ดเลือดขาวและช่วยกระบวนการทำลายเชื้อโรค 3) โพรไบโอติกแบคทีเรีย (probiotic bacteria) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว (เกี่ยวข้องกับการทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย) ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 4) สารอาหารอื่นๆ เช่น ธาตุสังกะสี ซีลีเนียม ทองแดง เหล็ก วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินบีสอง วิตามินบีหก และวิตามินบีสิบสอง ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารสำคัญในการทำงานและสังเคราะห์เซลล์หรือสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันโดยสารเหล่านี้จะทำงานร่วมกัน ดังนั้นการบริโภคสารอาหารแค่อย่างใดอย่างหนึ่งไม่สามารถทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์ เราจึงควรบริโภคสารอาหารต่างๆ ให้เพียงพอและเหมาะสม


สิ่งสำคัญที่อยากเน้นย้ำคือ ควรเลือกซื้ออาหารจากผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือ โดยซื้ออาหารปรุงสุกจากร้านที่สะอาด มีสุขลักษณะการปรุงอาหารที่ดี หากเป็นอาหารสำเร็จรูป ควรพิจารณาจากเครื่องหมายมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารที่ปลอดภัย เช่น เครื่องหมาย อย. เครื่องหมาย GMP และเครื่องหมาย HACCP เป็นต้น การเก็บรักษาอาหารในที่ที่เหมาะสมและมีภาชนะปิดสนิท สำหรับการปรุงอาหารต้องล้างมือก่อนทุกครั้ง แยกอุปกรณ์ที่ใช้กับอาหารที่ผ่านการปรุงสุกแล้วและวัตถุดิบที่ยังไม่ผ่านการปรุงสุกออกจากกันเพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้าม นอกจากนี้ควรปรุงอาหารให้อาหารมีความสุกสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายทั้งหมด


ผศ.ดร.กิติพงศ์ อัศตรกุล

ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์

และสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

https://www.prachachat.net/hilight-prachachat/news-65824

กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
05 ก.ค. 2567
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
30 เม.ย. 2567
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
13 ก.พ. 2567
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
20 พ.ย. 2566
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x