เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
นักวิชาการซีพีเอฟ ย้ำการป้องกันโรคไก่ไทยเข้มแข็ง ผู้บริโภคมั่นใจเนื้อไก่ปลอดภัย
24 ก.พ. 2565
นักวิชาการซีพีเอฟ ย้ำการป้องกันโรคไก่ไทยเข้มแข็ง ผู้บริโภคมั่นใจเนื้อไก่ปลอดภัย

ซีพีเอฟ ชูระบบคอมพาร์ทเมนต์ ให้ความมั่นใจอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ป้องกันโรคไข้หวัดนกได้อย่างเป็นรูปธรรม แนะเกษตรกรเฝ้าระวังและคุมเข้ม พร้อมยกระดับระบบการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มสัตว์ปีกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคว่าเนื้อไก่และไข่ในประเทศยังปลอดภัย ผู้บริโภคควรเลือกซื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์จากแหล่งจำหน่ายที่มีมาตรฐาน และปรุงสุกทุกครั้งก่อนรับประทาน


สพ.ญ.ดร.พัชรีภรณ์ นิลวิไล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สัตวแพทย์บริการด้านสัตว์ปีก นักวิชาการด้านโรคติดเชื้อไวรัสในสัตว์ปีก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่าองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) มีรายงานการระบาดของโรคไข้หวัดนกหลากหลายสายพันธุ์ในหลายทวีปในปี 2565  ล่าสุดมีรายงานพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชาและลาว สำหรับประเทศไทย กรมปศุสัตว์ร่วมมือกับผู้ประกอบการและเกษตรกรได้เตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาด มีการเฝ้าระวังโรคสัตว์ปีกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเข้มงวดด้านการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกบริเวณชายแดน การสุ่มเก็บตัวอย่างสัตว์ปีกในพื้นที่เสี่ยงเพื่อสำรวจและเฝ้าระวังโรค ส่งเสริมการพัฒนาระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกให้เข้าระบบฟาร์มมาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐาน Good Agricultural Practices (GAP) หรือ Good Farming Management (GFM) มากขึ้น รวมถึงให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการป้องกันโรคและสุขศาสตร์ที่ดีภายในฟาร์ม


ที่ผ่านมาซีพีเอฟให้ความสำคัญกับการป้องกันไข้หวัดนกอย่างจริงจังมาตลอด โดยฟาร์มสัตว์ปีกของบริษัท ตลอดจนเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่กับบริษัท ได้พัฒนาระบบการป้องกันโรคและมาตรฐานการจัดการฟาร์มสัตว์ปีกจนได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสัตว์ปีกจากกรมปศุสัตว์ และร่วมจัดทำโครงการปลอดโรคไข้หวัดนกภายใต้ระบบคอมพาร์ทเมนต์ ตามหลักการของ OIE ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ภายใต้รูปแบบการบริหารจัดการใน “ระบบคอมพาร์ทเม้นท์” สำหรับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปครบวงจรอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยแนวคิดที่ว่า “วิธีที่ดีที่สุดก็คือต้องป้องกันตั้งแต่ต้นทาง” ซีพีเอฟมุ่งเน้นให้ความรู้ และสร้างความตระหนักแก่พนักงานและเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกถึงเรื่องสุขศาสตร์ การป้องกันโรค วิธีการสังเกตอาการของสัตว์ปีกป่วย และแนวทางการปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง สามารถป้องกันไม่ให้สัตว์ปีกเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ซีพีเอฟ มุ่งเน้นเรื่องการติดตามสุขภาพฝูงสัตว์ปีกและเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำหนดโปรแกรมการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจติดตามสถานะทางสุขภาพของสัตว์เป็นประจำทุกเดือน เช่น เก็บตัวอย่าง swab สัตว์ปีกพันธุ์เพื่อส่งตรวจแยกเชื้อไวรัสสำคัญ และเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจติดตามสถานะทางภูมิคุ้มกันของฝูงสัตว์ปีกต่อโรคติดเชื้อสำคัญ สำหรับสัตว์ปีกเนื้อ จะมีการสุ่มเก็บตัวอย่าง swab และอวัยวะทุกฝูงก่อนปลด เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ว่าปราศจากการปนเปื้อนไวรัสสำคัญในสัตว์ปีก (ได้แก่ ไข้หวัดนกและนิวคาสเซิล) ควบคู่กับการตรวจสอบการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะและสารตกค้างต่างๆ นอกจากนี้ ยังได้เก็บตัวอย่างเนื้อที่เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายส่งตรวจที่ห้องปฎิบัติการอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟยังได้ร่วมกับกรมปศุสัตว์ และเกษตรกรในพื้นที่ในการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจเฝ้าระวังโรคในฟาร์มสัตว์ปีกที่เลี้ยงอยู่ในบริเวณ 1 กิโลเมตรรอบฟาร์มอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งเสริมการทำวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลในฝูงสัตว์ปีกเลี้ยงหลังบ้าน และสนับสนุนการพ่นยาฆ่าเชื้อบริเวณที่เป็นจุดเสี่ยงต่อการติดเชื้ออีกด้วย


สพ.ญ.ดร.พัชรีภรณ์ นิลวิไล แนะนำเพิ่มเติมว่า เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงไม่ให้เชื้อไวรัสก่อโรคและเชื้อจุลชีพอื่นเข้ามาภายในฟาร์ม ฟาร์มเลี้ยงไก่ควรมีระบบป้องกันโรคที่ดี โดยมีหลักการที่ควรปฏิบัติ ดังนี้ 1) การแยกบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีกให้ชัดเจน มีรั้วรอบขอบชิด สามารถป้องกันสัตว์ปีกจากนอกฟาร์ม 2) จำกัดบุคคลเข้าฟาร์มเท่าที่จำเป็นเท่านั้น 3) ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อยานพาหนะทุกชนิดก่อนเข้ามาไปภายในฟาร์ม 4) ล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเตรียมโรงเรือนก่อนเลี้ยงไก่รุ่นใหม่ 5) ซ่อมแซมโรงเรือน โครงสร้าง และอุปกรณ์การเลี้ยงให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 6) ป้องกันสัตว์พาหะอื่นๆ โดยเฉพาะ หนู ด้วงดำและแมลงวันซึ่งเป็นพาหะนำโรค 7) มีระบบการบำบัดและกำจัดน้ำเสีย และ 8) จัดการของเสียและน้ำจากฟาร์มให้ถูกวิธี เป็นต้น 


อย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศกำลังประสบปัญหาไข้หวัดนกอยู่ในขณะนี้ เกษตรกรผู้ผลิตสัตว์ปีกต้องมีมาตรการเฝ้าระวังและดูแลฝูงสัตว์ปีกที่เข้มข้นขึ้น โดยใช้มาตรการการป้องกันโรคตั้งแต่ต้นทาง และการเลี้ยงด้วยวิธีที่ถูกต้อง ตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์และสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มอย่างเคร่งครัด มั่นใจได้ว่าป้องกันโรคไข้หวัดนกได้อย่างแน่นอนหากปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง กรณีที่เกษตรกรผู้เลี้ยงพบสัตว์ปีกตายกะทันหัน หรือมีอาการผิดปกติ ต้องแจ้งสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มและหน่วยงานปศุสัตว์ในพื้นที่โดยเร็ว หากพบการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกผิดกฎหมายหรือพบสัตว์ปีกตามธรรมชาติแสดงอาการป่วยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตรวจวินิจฉัยต่อไป


สำหรับวิธีการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากไวรัสไข้หวัดนก ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ปีกที่ไม่ทราบประวัติ รวมถึงมูลและสารคัดหลั่ง หรือสัตว์ปีกที่มีอาการหรือสงสัยว่าป่วย หากสัมผัสแล้วให้ใช้สบู่ล้างมือให้สะอาดทันที สำหรับผู้ที่เดินทางที่กลับจากพื้นที่ที่มีรายงานการระบาด ควรสังเกตสุขภาพตัวเอง หากรู้สึกมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ให้ไปพบแพทย์โดยเร็ว รวมถึงสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค


ส่วนของผู้บริโภคสามารถกินไก่ เป็ด และสัตว์ปีกอื่นได้อย่างมั่นใจ โดยเลือกซื้อจากแหล่งจำหน่ายที่เชื่อถือได้ ระบบการผลิตผ่านการรับรองมาตรฐาน โดยสังเกตสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK”  หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์มีฉลากแจ้งข้อมูลสำคัญที่ชัดเจน เช่น วันผลิต วันหมดอายุ นอกจากนี้ต้องปรุงสุกก่อนรับประทาน โดยการปรุงอาหารที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส นาน 3.5 วินาที จะสามารถฆ่าเชื้อไวรัสไข้หวัดนกได้

กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
05 ก.ค. 2567
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
30 เม.ย. 2567
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
13 ก.พ. 2567
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
20 พ.ย. 2566
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x