เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ซีพีเอฟ แนะหลัก 5 หัวใจเลี้ยงสัตว์ปลอดโรค ต้นทางอาหารปลอดภัย ส่งต่อสุขภาพดีแก่ผู้บริโภค
07 มิ.ย. 2565
ซีพีเอฟ แนะหลัก 5 หัวใจเลี้ยงสัตว์ปลอดโรค ต้นทางอาหารปลอดภัย ส่งต่อสุขภาพดีแก่ผู้บริโภค

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มุ่งมั่นในการผลิตอาหารคุณภาพเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงอาหารปลอดภัยอย่างเพียงพอ ย้ำ “5 หัวใจของการเลี้ยงสัตว์”  ประกอบด้วย 5 ดีได้แก่ พันธุ์ดี-อาหารดี-โรงเรือนดี-การจัดการดี-ป้องกันโรคดี บูรณาการหลักสวัสดิภาพสัตว์ และเทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อการผลิตอาหารปลอดภัย ปลอดเชื้อ มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐานสากล  เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้  

 

น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความใส่ใจเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ แหล่งที่มาที่รับผิดชอบ นอกเหนือจากคุณภาพ และความปลอดภัยของอาหาร ซีพีเอฟ จึงมุ่งมั่นยกระดับห่วงโซ่การผลิตเนื้อสัตว์อย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักการ “5 หัวใจการเลี้ยงสัตว์ ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัยตั้งแต่ต้นทาง รวมทั้งนำระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยดำเนินงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์อัจฉริยะ (smart farm) เพื่อให้ได้ผลผลิตปลอดภัย ปลอดโรค ปราศจากสารตกค้าง ได้มาตรฐาน มีส่วนร่วมสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหาร 

 

“หลัก 5 หัวใจ ประกอบด้วย พันธุ์ดี-อาหารดี-โรงเรือนดี-การจัดการดี-ป้องกันโรคดี เป็นแนวทางที่ซีพีเอฟยึดถือเพื่อการผลิตและส่งต่ออาหารที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ช่วยรับมือกับความท้าทายต่างๆได้อย่างเข้มแข็ง” น.สพ.ดำเนิน กล่าว

 

5 หัวใจในการเลี้ยงสัตว์ นับเป็นหลักการพื้นฐานของการเลี้ยงสัตว์ ประกอบด้วย  

1) พันธุ์ดี หรือ การใช้พันธุ์สัตว์ที่ดี แข็งแรง ไม่มีโรค เป็นต้นทางที่สำคัญของการผลิตเนื้อสัตว์คุณภาพสูง ซีพีเอฟจึงให้ความสำคัญกับการคัดสรรพันธุ์สัตว์ที่ดี แข็งแรง ปลอดโรคที่สำคัญ ควบคู่กับการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์สัตว์ที่เหมาะสม เพื่อให้สัตว์เจริญเติบโตได้เต็มที่ตามลักษณะสายพันธุ์ เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต 

2) อาหารดี โดยสัตว์ต้องได้รับอาหารที่มีคุณภาพดี อย่างเพียงพอ ซีพีเอฟจึงคัดสรรวัตถุดิบชั้นดี ยังไม่หยุดวิจัยและพัฒนาสูตรอาหารที่เหมาะสมกับสัตว์ในแต่ละช่วงวัย รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าและคุณค่าทางโภชนาการในอาหารให้กับผู้บริโภค เช่น การใช้โปรไบโอติก เพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้สัตว์แข็งแรงช่วยให้ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ ยังนำวัตถุดิบที่เป็นแหล่งของโอเมก้า-3 มาเพิ่มคุณค่าโภชนาการในอาหารสัตว์ เช่น เมล็ดแฟลกซ์ (flaxseed) จนได้เป็นผลิตภัณฑ์ หมูชีวา และไก่เบญจา เสริมโอเมก้า-3 

3) โรงเรือนดี คือการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนที่เหมาะสม มีระบบการป้องกันโรคที่ดี อย่างการเลี้ยงสุกร ในโรงเรือนระบบปิด Evaporative Cooling System หรืออีแวป ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบอัจฉริยะในการควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือนที่เหมาะสม ช่วยให้สัตว์มีความเป็นอยู่สบาย กินอาหารได้เต็มที่ เจริญเติบโตดี ไม่เครียด ไม่ป่วย จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา  

4) การจัดการดี เป็นการจัดการฟาร์มและสภาพแวดล้อมที่ดี โดยยึดหลักมาตรฐานฟาร์มของกรมปศุสัตว์และกรมประมง เพื่อการผลิตสัตว์ที่มีมาตรฐาน ใส่ใจชุมชน ร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม เช่น การติดตั้งระบบไบโอแก๊สที่ช่วยลดกลิ่นและได้ก๊าซชีวภาพที่เป็นพลังงานสะอาดมาผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์ม และมีการนำระบบโซลาเซลล์มาใช้ควบคู่ด้วย 

5) การป้องกันโรคดี ซีพีเอฟตระหนักดีว่า ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เป็นกระบวนการที่จะช่วยปกป้องฟาร์มให้ปลอดจากโรคระบาดสัตว์และโรคระบาดคน ป้องกันสัตว์พาหะไม่ให้เข้าฟาร์ม บูรณาการระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยยกระดับความปลอดภัย อาทิ ระบบสังเกตการณ์ทางไกลด้วยระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ช่วยให้สามารถดูแลสัตว์ได้ทุกที่ทุกเวลา ติดตามสุขภาพสัตว์อย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดความเสี่ยงจากคนที่ต้องเข้าไปในโรงเรือน ช่วยติดตามการปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน รวมทั้งมีการตรวจสิ่งปนเปื้อนและเชื้อโรคในห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง 

 

นอกจากนี้ ทุกกระบวนการผลิตในโรงงานผลิตเนื้อสัตว์ ตั้งแต่โรงงานชำแหละ โรงตัดแต่ง โรงงานแปรรูป จนถึงศูนย์กระจายสินค้า ซีพีเอฟคำนึงถึงความปลอดภัยอาหารเป็นสำคัญ มีการตรวจเชื้อและสิ่งแปลกปลอมเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อน และได้รับการรับรองมาตรฐานควบคุมกระบวนการผลิต เช่น ระบบประกันคุณภาพ (Good Manufacturing Practice; GMP) และระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร (Hazard Analysis and Critical Control Point System; HACCP) จึงเป็นการสร้างความมั่นใจในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพให้กับลูกค้า ตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงต้นทางกระบวนการผลิต./

กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
05 ก.ค. 2567
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
30 เม.ย. 2567
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
13 ก.พ. 2567
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
20 พ.ย. 2566
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x