เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
เนื้อแปรรูป-ไส้กรอก ทานได้ ปลอดภัย หากเลือกทานอย่างเหมาะสม
05 ก.ย. 2563
เนื้อแปรรูป-ไส้กรอก ทานได้ ปลอดภัย หากเลือกทานอย่างเหมาะสม

ควรบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูปในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ทานซ้ำๆ ควรรับประทานร่วมกับผักต่างๆ ช่วยในการขับถ่ายออกไม่ให้ท้องผูก


ข่าวคราวการเสียชีวิตของ แชดวิก โบสแมน นักแสดงนำในภาพยนต์เรื่องแบล็กแพนเทอร์ จากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทำให้หลายหน่วยงานออกมาให้ข้อมูล รวมถึงคำแนะนำในการเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการเลี่ยงเนื้อแปรรูป เรื่องนี้มีนักวิชาการให้ความรู้ไว้มากมาย เนื่องจากเนื้อสัตว์นั้นยังคงเป็นแหล่งของโปรตีนสำคัญที่ร่างกายต้องการทั้งเพื่อการเจริญเติบโตในเด็กและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในวัยผู้ใหญ่


ผศ.ดร.อินทาวุธ สรรพวรสถิตย์ รองคณบดีสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ประจำ ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า เนื้อสัตว์ เป็นแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนสูง ประกอบด้วยแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย อาทิเช่น วิตามินบี 1 วิตามินเอ ฟอสฟอรัส ไนอาซีน และมีธาตุเหล็กจากเนื้อแดง นอกจากนี้ อาหารประเภทเนื้อสัตว์ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย อาทิ ไส้กรอก แฮม ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นเมนูยอดนิยมสำหรับผู้บริโภคทั่วไป เพราะนอกจากรสชาติอร่อย รับประทานง่าย หาซื้อได้สะดวก ยังสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายเมนู


โดยเฉพาะ "ไส้กรอก" ที่หลายคนโปรดปราน ซึ่งมีส่วนประกอบหลักทั้ง เนื้อสัตว์ ไขมัน น้ำ ฯลฯ เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเนื้อสัตว์แปรรูปที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยการทำสุกโดยให้ความร้อน บนหลักการคือ อย่างน้อยอุณหภูมิและเวลาในการทำให้สุกจะฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ในระดับพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurization) ซึ่งหมายถึงใช้อุณหภูมิและเวลาที่สามารถฆ่าจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) ได้


ดังนั้น “ไส้กรอกจึงถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย สามารถรับประทานหลังผลิตเสร็จได้” หากไม่มีการปนเปื้อนจุลินทรีย์ก่อโรคจากแหล่งอื่นๆ มาเพิ่มเติมหลังกระบวนการทำให้สุก ผศ.ดร.อินทาวุธ แนะนำว่าควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีกระบวนการผลิตและการบรรจุที่ดี จากผู้ผลิตที่มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน ยิ่งในปัจจุบันการผลิตไส้กรอกของไทยมีพัฒนาการก้าวหน้าไปมาก ผู้ผลิตรายใหญ่นำเทคโนโลยีการผลิต เช่นระบบการผลิตอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง การผลิตโดยไม่ใช้สารกันเสียอื่นๆ นอกเหนือจากสารทีจำเป็นและมีอยู่ในสูตรการผลิต และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ในว่า "อยู่ในมาตรฐานและปลอดภัย"


ส่วนข้อกังวลเรื่อง การบริโภคไส้กรอกหรือเนื้อสัตว์แปรรูปแล้วจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหรือไม่นั้น ผศ.ดร.อินทาวุธ บอกว่ามีโอกาส “ค่อนข้างน้อย” หากเลือกบริโภคอย่างเหมาะสม เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้ผลิตหลายราย มีการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์อาหาร รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ เพื่อลดโอกาสการก่อสารมะเร็ง อย่างเช่นการที่จำเป็นต้องเติมสารไนไตรท์หรือไนเตรท อาทิ โซเดียมไนเตรท ลงไปในกระบวนการผลิตไส้กรอก เพื่อช่วยให้มีลักษณะเฉพาะของไส้กรอก และถือว่าเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก เนื่องจากสารกลุ่มนี้ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อคลอสตริเดียมโบทูลินัม (Clostridium botulinum) ที่สามารถสร้างสารพิษอันตรายได้ กระบวนการผลิตปัจจุบันจะเติมวิตามินซีหรือสารที่มีโครงสร้างที่คล้ายวิตามินซี เพื่อลดโอกาสการเกิดสารก่อมะเร็งไนโตรซามีน ซึ่งเกิดจากไนไตรท์ตกค้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ส่วนวิธีสังเกตในเบื้องต้นสำหรับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไส้กรอกและเนื้อสัตว์แปรรูป แนะนำให้พิจารณาจากลักษณะภายนอกของไส้กรอก ที่ไม่ควรมีสีชมพูหรือแดงเข้มจนเกินไป สีของผลิตภัณฑ์ควรเป็นตามสีของวัตถุดิบตั้งต้นด้วย ขณะที่รสชาติต้องตรงกับความเป็นธรรมชาติของประเภทของเนื้อสัตว์นั้นๆ ที่สำคัญควรเลือกผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่มีมาตรฐาน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ บนบรรจุภัณฑ์จะต้องระบุสถานที่ผลิต วันผลิต และวันหมดอายุอย่างชัดเจน มีเครื่องหมาย อย. หรือ มอก. เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคที่ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการบริโภคไส้กรอกมากหรือบ่อยจนเกินไป อาจเกิดผลเสียต่อร่างกายได้นั้น โดยข้อเท็จจริงแล้ว คนไทยไม่ได้บริโภคไส้กรอกกันเป็นอาหารหลัก หรือมากเท่ากับคนในชาติตะวันตก อย่างเยอรมัน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และในส่วนของโรคมะเร็ง มีสิ่งที่ก่อให้เกิดได้หลากหลายปัจจัย เช่นพันธุ์กรรม สิ่งแวดล้อมต่างๆ พฤติกรรมการใช้ชีวิต ความเครียด เป็นต้น


ดังนั้น ควรบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูปในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ทานซ้ำๆ ควรรับประทานร่วมกับอาหารอื่นๆ เช่นผักต่างๆ เพื่อให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระและช่วยในการขับถ่ายออกไม่ให้ท้องผูก และทานอาหารที่หลากหลายให้ครบ 5 หมู่ รวมทั้งเนื้อ นม ไข่ ผัก และผลไม้ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน จะได้มีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ห่างไกลโรคภัย./


ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

Tag: #food #safety 
กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
05 ก.ค. 2567
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
30 เม.ย. 2567
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
13 ก.พ. 2567
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
20 พ.ย. 2566
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x