เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
คนรักสุขภาพไม่ต้องกังวล ไก่ไม่ใช่สาเหตุของโรคเก๊าท์
02 ก.ย. 2563
คนรักสุขภาพไม่ต้องกังวล ไก่ไม่ใช่สาเหตุของโรคเก๊าท์

คนไทยหลายคนมีความกังวล และไม่กล้าที่จะบริโภคไก่ เพราะมีความเชื่อว่า การรับประทานเนื้อไก่มากจะทำให้เป็นโรคเก๊าท์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคข้ออักเสบ ที่มีอาการอักเสบฉับพลัน บริเวณข้อปวด บวมแดง ร้อน ตำแหน่งที่พบบ่อ ข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า และหัวเข่า


โรคเก๊าท์ เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงมากเกินไป กรดยูริก เป็นสารชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้น เกิดจากจากการสลายตัวของสารชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า “พิวรีน” (Purine) โดยสาเหตุที่ของกรดยูริกในเลือดสูง ร้อยละ 70-80 เกิดจากการสร้างขึ้นเองจากตับตามธรรมชาติ  ส่วนที่เหลือเพียงร้อยละ 20-30 เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง โรคเก๊าท์เกิดจากการสะสมของผลึกยูริกเป็นเวลานานหลายปี  บางทีอาจจะกินเวลานานถึง 10 ปีผู้ป่วยถึงจะแสดงอาการของโรคออกมา


อย่างไรก็ตาม กรดยูริกที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ร่างกายจะถูกขับออกจากทางปัสสาวะและการขับถ่ายประมาณ 2 ใน 3 ส่วน ดังนั้น ผู้ที่มีกรดยูริกสูง ส่วนใหญ่จึงเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือเกิดจากความผิดปกติของร่างกายเกี่ยวกับการสร้างกรดยูริกมากเกินไป หรือไตขับกรดยูริกน้อยเกินไปมากกว่าจากการบริโภคอาหาร ที่สารพิวรีนสูง ดังที่เข้าใจผิดกันบ่อยๆ 


ในข้อเท็จจริง เนื้อไก่มีปริมาณสารพิวรีนใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ ซึ่งสารพิวรีนจะอยู่มากที่เนื้อบริเวณข้อ ปีก น่อง เครื่องใน และหนัง  รวมถึง ผักบางชนิดมีสารพิวรีนในปริมาณสูง เช่น ชะอม กระถิน เป็นต้น ตลอดน้ำหวาน และ การดื่มน้ำอัดลมที่มีน้ำตาลฟรุกโตสเกินปริมาณที่พอดี  โดยเฉพาะ การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก ยังเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้เพิ่มการสะสมกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นอีกด้วย 


ดังนั้น การบริโภคไก่ จึง “ไม่ใช่” สาเหตุของโรคเก๊าท์ เพราะร่างกายได้รับกรดยูริกมาจากอาหารประเภทอื่นๆ ได้อีกมากมาย  อีกทั้งสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกเพิ่มขึ้นมาจากหลายปัจจัยและไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน รวมทั้ง สภาวะของร่างกายบางอย่างเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรค เช่น ภาวะอ้วน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ ไตทำงานผิดปกติ โรคเบาหวาน เป็นต้น นอกจากนี้ มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเก๊าท์ โดยพบว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคดังกล่าวอีกด้วย


คนรักสุขภาพจึงไม่ต้องกังวลใจ เพราะไก่ไม่ใช่ต้นเหตุของการเป็นโรคเก๊าท์ และเนื้อไก่ ยังคงมีความจำเป็นเพราะเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ร่างกายต้องการ อย่างไรก็ตาม คนที่เป็นโรคเก๊าท์ ควรระมัดระวังและลดการบริโภคเนื้อไก่ ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ และเลือกเนื้อส่วนที่มีไขมันน้อย เช่น เนื้อหน้าอก สะโพกที่ลอกหนัง  


ขณะเดียวกัน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเก๊าท์ ควรจะมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตเพื่อช่วยให้อาการของอาการป่วยของโรคทุเลาลง  ควรเลือกทานอาหารที่หลากหลาย ไม่ทานอาหารประเภทเดิม ซ้ำกันเป็นเวลานาน เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน รวมทั้ง การดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ และไม่ทำให้เกิดการตกตะกอนในระบบทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ ผู้ป่วยควร หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม หรือ เครื่องดื่มที่มีความหวานมาก โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลฟรุกโตส รวมทั้ง ผู้ที่มีภาวะอ้วนควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ไม่ควรอดอาหารหรือลดน้ำหนักรวดเร็วเกินไป เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของโรคลดลง และเพื่อสุขอนามัยที่ดี


นพ.ฆนัท ครุธกุล

นายกสมาคมโภชนาการเพื่อกีฬาและสุขภาพ


ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

Tag: #food #safety 
กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
05 ก.ค. 2567
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
30 เม.ย. 2567
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
13 ก.พ. 2567
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
20 พ.ย. 2566
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x