เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
นักวิชาการด้านอาหาร แนะ ผู้บริโภคคลายกังวล เนื้อแปรรูป ทานได้ ปลอดภัย
24 มิ.ย. 2563
นักวิชาการด้านอาหาร แนะ ผู้บริโภคคลายกังวล เนื้อแปรรูป ทานได้ ปลอดภัย

ผู้บริโภคในยุคดิจิทัลหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 เป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้คนให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) มากขึ้น โดยเฉพาะการรับประทานอาหารประเภทเนื้อและเนื้อสัตว์แปรรูป ซึ่งหลายเรื่องยังอยู่ในความสนใจของสังคมและเป็นข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง


เนื้อสัตว์ คือ อาหารโปรตีนมีคุณค่าทางโภชนาการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายในปริมาณสูง มีแร่ธาตุที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นธาตุเหล็ก สังกะสี ซิลิเนียม เมื่อเทียบกับปริมาณโปรตีนที่ได้จากอาหารอื่น และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปไม่ว่าจะมาจากการเก็บถนอมอาหารและการปรุงอาหารในรูปแบบต่างๆ อาทิ ไส้กรอก แฮม เบคอน ยังเป็นอาหารยอดนิยมของผู้บริโภค ด้วยรสชาติอร่อย ทานง่าย สะดวก และปรุงเป็นอาหารหลายแบบ


อย่างไรก็ตาม จากการที่องค์กรวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer, IARC) ได้จัดความอันตรายของเนื้อสัตว์แปรรูปและเนื้อแดงอยู่ในกลุ่มที่อันตราย สูงสุดเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ จนทําให้ผู้บริโภคที่ชื่นชอบในการรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูปมากกังวลใจและยังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์หลายด้าน  โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ไส้กรอกที่มีการใช้ไนไตรท์ ซึ่งเป็นสารที่ช่วยคงสภาพ ช่วยยืดอายุอายุ และช่วยทำให้สีของไส้กรอกดูสวยงามน่ารับประทาน


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิฐพร วังใน อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ให้ข้อมูลตามหลักวิชาการมาช่วยสร้างความเข้าใจโดยเฉพาะความจำเป็นของการใช้สารไนไตรท์ในการผลิตไส้กรอก ว่า สารไนไตรท์ ที่ใส่ในผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป อย่าง ไส้กรอก แหนม เป็นสารที่มีคุณสมบัติเฉพาะอย่างที่สำคัญ ทั้งเรื่อง 1.ลดการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค โดยเฉพาะแบคทีเรีย Clostridium Botulinum ที่ผลิตสารพิษที่มีอันตรายรุนแรงถึงชีวิต 2. สามารถจับไมโอโกลบินซึ่งโปรตีนในเนื้อสัตว์ที่ทำให้เนื้อมีสีชมพูแดงน่ารับประทาน 3.มีคุณสมบัติป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันระหว่างการเก็บ ทำให้ไส้กรอกมีกลิ่น รส และเนื้อสัมผัสที่ดีระหว่างการเก็บรักษา ซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่สามารถหาสารตัวใดทดแทนได้ จึงยังมีความจำเป็นในการใส่ไนไตรท์ในไส้กรอกเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด


สำหรับการใช้ไนไตรท์ของผู้ผลิตไทยได้มาตรฐาน อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมอาหารและยา (อย.) เพื่อให้มีความเสี่ยงต่อผู้บริโภคน้อยที่สุด ด้วยการพัฒนาด้านผลิตอาหาร ผู้ผลิตไส้กรอกในปัจจุบัน คำนึงถึงความปลอดภัยในการผลิต ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบจนถึงการบรรจุ เพื่อให้ได้ไส้กรอกที่คุณภาพดี ถูกสุขลักษณะ และมีความปลอดภัยมากที่สุด สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้จนถึงแหล่งผลิตวัตถุดิบ รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ใช้ระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์เข้ามาใช้และใช้คนอยู่ในกระบวนการผลิตน้อยที่สุด เพื่อลดการปนเปื้อนและการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ที่จะทำให้เกิดการเสื่อมเสียของไส้กรอกได้


“ในฐานะที่เป็นนักวิชาการด้านอาหาร ขอแนะนำว่า ผู้บริโภคควรเลือกผลิตภัณฑ์ไส้กรอกที่มาจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้มีมาตรฐานรับรองการผลิตอาหาร บรรจุภัณฑ์อยู่ในสภาพดี และมีฉลากวันหมดอายุชัดเจน” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิฐพร กล่าวย้ำ ทุกวันนี้ สารไนไตรท์ยังพบได้ทั่วไปในผักและผลไม้ เช่น แตงกวา กะหล่ำปลี แตงโม กล้วย  ผู้บริโภคจึงบริโภคไส้กรอกได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องกังวลอีกต่อไป


สำหรับความเสี่ยงในการที่จะเป็นมะเร็งมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะ ปัจจัยในร่างกาย พันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิต ความเครียด อารมณ์ เป็นต้น การเปรียบเทียบอาหารกับบุหรี่ อันตรายและความเสี่ยงเทียบกันไม่ได้ เพราะในการผลิตอาหารต้องปลอดจากสารอันตราย อย่างไรก็ตาม ต้องหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารชนิดเดียวกันซ้ำกันเป็นระยะเวลานานๆ และบริโภคเป็นปริมาณที่มากเกินไป ที่สำคัญเพื่อสุขภาพที่ดีควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ เนื้อ นม ไข่ ผัก ผลไม้ ควรรับประทานให้มีความหลากหลายและในปริมาณที่เหมาะสม


การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการต้องมีความเหมาะสม พอดี สะอาด ปรุงสุก และผู้บริโภคจำเป็นต้องให้ความสำคัญเรื่องสุขอนามัย กินร้อน ช้อนของฉัน ตามมาตรการป้องกันป้องกันโรคระบาด  และควรออกกำลังกาย พักผ่อนอย่างเพียงพอควบคู่กัน เหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริโภคมีภูมิต้านทานที่ดี ไม่เจ็บไม่ป่วยง่าย เพราะไม่มีพรใดประเสริฐเท่ากับการรับประทานดีมีคุณค่า มีร่างกาย แข็งแรง ห่างไกลโรค./


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิฐพร วังใน 

อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

Tag: #food #safety 
กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
05 ก.ค. 2567
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อสัตว์ปลอดภัย มาตรการป้องกันโรคสัตว์ปีกระดับสูงสุด
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
30 เม.ย. 2567
CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
13 ก.พ. 2567
CPFGS ยกระดับการดูแลสุขภาพผู้บริโภค ชู NutriMax อาหารทางการแพทย์ สูตรครบถ้วนพร้อมรับประทาน ในงานประชุมวิชาการแพทย์ฯ 
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
20 พ.ย. 2566
CPF ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกผู้บริโภค พัฒนาอาหารลดโซเดียม หนุนเครือข่ายลดบริโภคเค็ม
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x