เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวทาง Eco-Efficiency พร้อมปันน้ำช่วยเกษตกร
31 ม.ค. 2563
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวทาง Eco-Efficiency พร้อมปันน้ำช่วยเกษตกร

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ตลอดกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้น้ำ และนำน้ำที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำจากธรรมชาติ พร้อมปันน้ำจากฟาร์มและโรงงานช่วยเหลือเกษตรกรบรรเทาภัยแล้ง

   

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ   ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ  เปิดเผยว่า บริษัทฯตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำซึ่งเป็นหัวใจหลักในการผลิตของภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม มีการบริหารจัดการน้ำด้วยความรอบคอบให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุดตลอดกระบวนตลอดห่วงโซ่การผลิต ตามแนวทาง Eco-Efficiency ซึ่งเป็นการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตของธุรกิจและการรักษาระบบนิเวศโดยการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน สู่เป้าหมายการลดปริมาณการใช้น้ำจากธรรมชาติ

 

ซีพีเอฟ มีเป้าหมายลดปริมาณการดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิต 25% ในปี 2563 และ 30% ในปี  2568 ตามลำดับ และมีการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน 3 แนวทาง คือ 1.การประเมินความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี ตามหลักการของ Aqueduct ซึ่งเป็นหน่วยงานประเมินความเสี่ยงสากลด้านน้ำ 2.การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ และ 3.การกระจายน้ำที่บำบัดแล้วจากฟาร์มปศุสัตว์และโรงงานแปรรูปอาหาร ให้กับชุมชนและเกษตรกรรอบโรงงานเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ

 

ทั้งนี้ ข้อมูลจากการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงด้านน้ำของบริษัทและคู่ค้าธุรกิจ จะช่วยลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับชุมชนโดยรอบในสภาวะแล้ง ขณะที่การนำน้ำที่บำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่จะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยในปี 2561 บริษัทฯมีน้ำที่ผ่านการบำบัดและนำกลับมาใช้ใหม่จำนวน 28 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 18% ของปริมาณการดึงน้ำมาใช้ทั้งหมด ทั้งยังส่งผลให้การดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิตของบริษัทฯลดลง 32% เมื่อเทียบกับปีฐาน 2558

 

“บริษัทฯ ได้ย้ำให้ทุกธุรกิจของบริษัทฯทั่วประเทศปฏิบัติตามมาตรการจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและดูแลการปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วไปช่วยเหลือชุมชนรอบฟาร์มและโรงงาน” นายประสิทธิ์ กล่าว

 

ในปี 2561 ฟาร์มกุ้งของ ซีพีเอฟ ลดการใช้น้ำได้ 23 ล้านลูกบาศก์เมตร จากการพัฒนาและปรับปรุงวิธีการเลี้ยงอย่างเหมาะสมและนำเทคโนโลยีรีไซเคิล (Recycle) เพื่อนำน้ำจากกระบวนการเลี้ยงไปหมุนเวียนใช้ในฟาร์ม โดยไม่มีการปล่อยน้ำจากฟาร์มสู่สิ่งแวดล้อม  (Zero Discharge) ทำให้ลดการนำน้ำจากภายนอกมาใช้ 70-75 % เมื่อเทียบกับการเลี้ยงกุ้งแบบเดิม  ตลอดจนการนำเทคโนโลยีไบโอฟลอค (Biofloc Technology) มาช่วยจัดการของเสียในบ่อเลี้ยงกุ้ง  ลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำระหว่างการเลี้ยง  ส่งผลให้การใช้น้ำลดเหลือเพียง 1.5 ลูกบาศก์เมตรต่อกุ้ง  1 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับการเลี้ยงกุ้งโดยทั่วไปที่น้ำหนักเท่ากันต้องใช้น้ำ 5 ลูกบาศก์เมตร

 

สำหรับฟาร์มสุกรและฟาร์มไก่เนื้อมีการใช้น้ำอย่างประหยัดด้วยการปฏิบัติตามมาตรฐานการกินและใช้น้ำต่อตัวสัตว์ ตลอดจน ตรวจสอบอุปกรณ์ส่งน้ำในฟาร์มให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เป็นต้น โดยในปี 2561 สามารถส่งน้ำที่บำบัดแล้วช่วยเหลือเกษตรกรรอบฟาร์มและโรงงานเพื่อใช้ในการเพาะปลูกจำนวน 380,000 ลูกบาศก์เมตร ครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 3,650 ไร่ โดยน้ำที่ใช้จากการเลี้ยงสุกรเมื่อนำเข้าสู่กระบวนการหมักในระบบไบโอแก๊ส ได้แก๊สมีเทนไปใช้เป็นพลังงานทดแทนในฟาร์ม ส่วนน้ำที่ได้หลังจากการบำบัดมีธาตุอาหารที่พืชต้องการ คือ ไนไตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เป็นน้ำปุ๋ยส่งให้เกษตรกรสวนผลไม้ ไร่อ้อย มันสำปะหลัง นอกจากช่วยลดปริมาณการใช้น้ำของเกษตรกรแล้ว ยังช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนค่าปุ๋ยด้วย    

 

นายประสิทธิ์ กล่าวต่อไปว่า ซีพีเอฟ ยังให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูผืนป่า “เขาพระยาเดินธง” ในจังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญของแม่น้ำป่าสัก ผืนป่าที่สมบูรณ์จะช่วยเพิ่มระดับความชุ่มชื้นและปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสัก เพื่อรักษาสมดุลธรรมชาติอย่างยั่งยืน

 

นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังเดินหน้าสู่องค์กร “คาร์บอนต่ำ” มีเป้าหมายจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 25% ในปี 2568 จากปีฐาน 2558 ซึ่งให้ความสำคัญการลดการปล่อยก๊าซฯทั้งในกระบวนการผลิตและจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียนจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ โครงการพลังงานจากชีวมวล โครงการโซล่าร์รูฟท็อปจำนวน 25 โรงงาน และโครงการนวัตกรรมอาหารสุกรรักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได-

อ๊อกไซด์ได้เฉลี่ยปีละ 522,000 ตันต่อปี โดยในปี 2562 บริษัทฯ เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 25% ของการใช้พลังงานทั้งหมด

 

ซีพีเอฟ ยังได้นำแนวทาง “Neutral Carbon” ไปใช้ในการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการ เดิน-วิ่งการกุศล ด้วยการนำคาร์บอนเครดิตที่บริษัทฯสะสมไว้ในโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand  Voluntary  Emission  Reduction  Program :  T-VER)  จำนวน 560  ตันคาร์บอนไดอ๊อกไซด์เทียบเท่า  มาชดเชยกับก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากการใช้พลังงานไฟฟ้าในการจัดงาน การเดินทางของผู้เข้าร่วมงาน การพักแรม อาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งสิ่งเหลือทิ้งจากการจัดงาน ให้เท่ากับศูนย์ โดยจะเริ่มดำเนินการในปี 2563.

กิจกรรมอื่น ๆ
กรุงเทพโปรดิ๊วส และ อีอาร์เอ็ม-สยาม ร่วมยกระดับมาตรฐานจัดซื้อสินค้าเกษตรสู่ระดับสากล ไม่รุกป่า ไม่เผา ยึดหลักสิทธิมนุษยชน พร้อมรับกฎระเบียบการค้าโลก
01 ก.ค. 2567
กรุงเทพโปรดิ๊วส และ อีอาร์เอ็ม-สยาม ร่วมยกระดับมาตรฐานจัดซื้อสินค้าเกษตรสู่ระดับสากล ไม่รุกป่า ไม่เผา ยึดหลักสิทธิมนุษยชน พร้อมรับกฎระเบียบการค้าโลก
บังกี้ และ ซีพีเอฟ รับมอบกากถั่วเหลืองปลอดรุกป่าจากบราซิล "ตู้แรก"  ย้ำผู้นำความโปร่งใสระบบตรวจสอบย้อนกลับด้วยบล็อกเชน
10 มิ.ย. 2567
บังกี้ และ ซีพีเอฟ รับมอบกากถั่วเหลืองปลอดรุกป่าจากบราซิล "ตู้แรก" ย้ำผู้นำความโปร่งใสระบบตรวจสอบย้อนกลับด้วยบล็อกเชน
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นผลิตอาหารปลอดภัย-ร่วมคืนสมดุลธรรมชาติ
05 มิ.ย. 2567
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นผลิตอาหารปลอดภัย-ร่วมคืนสมดุลธรรมชาติ
ซีพีเอฟ เดินหน้าส่งเสริมโรงเรียน-ชุมชน บริหารจัดการขยะยั่งยืน
17 พ.ค. 2567
ซีพีเอฟ เดินหน้าส่งเสริมโรงเรียน-ชุมชน บริหารจัดการขยะยั่งยืน
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x