22 เม.ย. 2565
CPF สานต่อ Circular Meal ..มื้อนี้เปลี่ยนโลก ปีที่ 2 จัดการอาหารส่วนเกิน สร้างความมั่นคงทางอาหาร
เข้าสู่ปีที่ 2 ของความร่วมมือเพื่อสานต่อ โครงการ “Circular Meal...มื้อนี้เปลี่ยนโลก” ที่มีเป้าหมายส่งมอบอาหารจากการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน (Food Surplus) ส่งเสริมโภชนาการที่ดี พร้อมกับกระบวนการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์อย่างมีความรับผิดชอบ (Take back system) โดยมี บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ จับมือกับภาคีเครือข่ายองค์กรชั้นนำ อาทิ บริษัท โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี.พี อินเตอร์เทรด จำกัด (ข้าวตราฉัตร) บริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด
โครงการดังกล่าว นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ เน้นลดผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้หลักการ Reduce – Recharge – Reborn ประกอบด้วย Reduce เป็นการลดการสูญเสียอาหาร (Food Loss) และการเกิดขยะอาหาร (Food Waste) ReCharge ร่วมเติมพลังงานชีวิต แก่ผู้ที่ขาดแคลนให้สู้ต่อไป ด้วยมื้ออาหารปลอดภัย สด สะอาด จากกระบวนการจัดการอาหารส่วนเกิน อย่างถูกหลักอนามัยและสู่การปรุงตามหลักโภชนาการที่เหมาะสม จนได้มื้ออาหารคุณภาพสำหรับทุกคน (Food Security for ALL) และ ReBorn คือ ร่วมสร้างชีวิตใหม่ ทั้งคนและผลิตภัณฑ์ ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ เพื่อเติมความสมดุลแก่ระบบนิเวศตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมทั้งยกระดับสู่การเปลี่ยนแปลงในระบบอาหารที่ยั่งยืน (Food System Transformation) ตามเป้าหมาย Zero Food Waste to landfill ภายในปี 2030 สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ข้อที่ 2 คือ การขจัดความหิวโหย ข้อที่ 12 คือ การส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน และข้อที่ 17 คือ การสร้างความร่วมมือระดับสากลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนองค์กร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟและภาคีเครือข่ายองค์กรชั้นนำ ประสบความสำเร็จจากการดำเนินโครงการ Circular Meal มื้อนี้เปลี่ยนโลก โดยในปีแรกสามารถบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน ตั้งแต่ต้นทางวัตถุดิบจนถึงปลายทางผู้บริโภค ส่งเสริมให้ผู้ที่ได้รับมื้ออาหารและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเก็บบรรจุภัณฑ์กลับ เพื่อส่งต่อให้บริษัทที่เกี่ยวข้องนำไปรีไซเคิล สร้างประโยชน์ใหม่ (Upcycling) และย่อยสลายอย่างเหมาะสม โดยในปี 2564 ส่งมอบอาหารปลอดภัยไปกว่า 15,000 มื้อ พร้อมทั้งเก็บบรรจุภัณฑ์พลาสติกหลังการบริโภคทั้งหมดกว่า 5,000 ชิ้น กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ช่วยลดขยะอาหารได้มากกว่า 3 ตัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 8 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ที่ผ่านมา ซีพีเอฟ ยังได้ร่วมมือกับบริษัทในกลุ่มเครือข่าย Circular Meal.... มื้อนี้ เปลี่ยนโลก สนับสนุนโครงการ Education for the Deaf (EDeaf) ส่งเสริมการเรียนรู้ของน้องๆ ในโครงการ EDeaf ซึ่งปีนี้ กลุ่มเชฟอาสาของซีพีเอฟร่วมปรุงอาหารกลางวัน โดยใช้วัตถุดิบอาหารส่วนเกินจากโรงงานต่างๆ เช่น ไส้กรอกไก่ ไก่ปรุงสุกแช่แข็ง เป็ดพะโล้ เพื่อมอบให้กับน้องๆ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน และกลุ่มอาสาสมัคร นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และพัฒนาทักษะการสร้างคุณค่าจากทรัพยากรในมือ ซีพีเอฟได้จัดให้มีการสาธิตวิธีผลิตปุ๋ยจากเศษอาหารแก่เยาวชนในโครงการ เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม แม้อยู่ในสังคมเมืองพื้นที่จำกัด โดยวิทยากรจาก Wastegetable ถือเป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างแหล่งอาหารในเมือง (Urban Farming) สร้างรายได้อย่างเสมอภาค (Inclusive Job Opportunities) ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม (Equality) ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม (Social Inclusion) ด้านนายยุทธกฤต เฉลิมไทย ผู้ก่อตั้งโครงการ EDeaf Education for the Deaf กล่าวว่า โครงการ Edeaf เป็นการรวมกันของอาสาสมัคร และทุกภาคส่วนทั้งกระทรวงศึกษาธิการ ภาคเอกชนอย่างซีพีเอฟที่ให้การสนับสนุนมาตลอดทั้งโครงการ เพราะการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง จะมีต่อเนื่อง ซีพีเอฟเป็นผู้ใหญ่ใจดีที่ให้การสนับสนุน ขอขอบคุณซีพีเอฟแทนน้องๆและอาสาสมัครที่บริษัทให้ความสำคัญกับการศึกษาของผู้พิการทางการได้ยิน และการเปิดพื้นที่ร่วมกันในสังคม
โครงการดังกล่าว นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ เน้นลดผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้หลักการ Reduce – Recharge – Reborn ประกอบด้วย Reduce เป็นการลดการสูญเสียอาหาร (Food Loss) และการเกิดขยะอาหาร (Food Waste) ReCharge ร่วมเติมพลังงานชีวิต แก่ผู้ที่ขาดแคลนให้สู้ต่อไป ด้วยมื้ออาหารปลอดภัย สด สะอาด จากกระบวนการจัดการอาหารส่วนเกิน อย่างถูกหลักอนามัยและสู่การปรุงตามหลักโภชนาการที่เหมาะสม จนได้มื้ออาหารคุณภาพสำหรับทุกคน (Food Security for ALL) และ ReBorn คือ ร่วมสร้างชีวิตใหม่ ทั้งคนและผลิตภัณฑ์ ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ เพื่อเติมความสมดุลแก่ระบบนิเวศตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมทั้งยกระดับสู่การเปลี่ยนแปลงในระบบอาหารที่ยั่งยืน (Food System Transformation) ตามเป้าหมาย Zero Food Waste to landfill ภายในปี 2030 สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ข้อที่ 2 คือ การขจัดความหิวโหย ข้อที่ 12 คือ การส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน และข้อที่ 17 คือ การสร้างความร่วมมือระดับสากลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนองค์กร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟและภาคีเครือข่ายองค์กรชั้นนำ ประสบความสำเร็จจากการดำเนินโครงการ Circular Meal มื้อนี้เปลี่ยนโลก โดยในปีแรกสามารถบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน ตั้งแต่ต้นทางวัตถุดิบจนถึงปลายทางผู้บริโภค ส่งเสริมให้ผู้ที่ได้รับมื้ออาหารและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเก็บบรรจุภัณฑ์กลับ เพื่อส่งต่อให้บริษัทที่เกี่ยวข้องนำไปรีไซเคิล สร้างประโยชน์ใหม่ (Upcycling) และย่อยสลายอย่างเหมาะสม โดยในปี 2564 ส่งมอบอาหารปลอดภัยไปกว่า 15,000 มื้อ พร้อมทั้งเก็บบรรจุภัณฑ์พลาสติกหลังการบริโภคทั้งหมดกว่า 5,000 ชิ้น กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ช่วยลดขยะอาหารได้มากกว่า 3 ตัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 8 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ที่ผ่านมา ซีพีเอฟ ยังได้ร่วมมือกับบริษัทในกลุ่มเครือข่าย Circular Meal.... มื้อนี้ เปลี่ยนโลก สนับสนุนโครงการ Education for the Deaf (EDeaf) ส่งเสริมการเรียนรู้ของน้องๆ ในโครงการ EDeaf ซึ่งปีนี้ กลุ่มเชฟอาสาของซีพีเอฟร่วมปรุงอาหารกลางวัน โดยใช้วัตถุดิบอาหารส่วนเกินจากโรงงานต่างๆ เช่น ไส้กรอกไก่ ไก่ปรุงสุกแช่แข็ง เป็ดพะโล้ เพื่อมอบให้กับน้องๆ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน และกลุ่มอาสาสมัคร นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และพัฒนาทักษะการสร้างคุณค่าจากทรัพยากรในมือ ซีพีเอฟได้จัดให้มีการสาธิตวิธีผลิตปุ๋ยจากเศษอาหารแก่เยาวชนในโครงการ เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม แม้อยู่ในสังคมเมืองพื้นที่จำกัด โดยวิทยากรจาก Wastegetable ถือเป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างแหล่งอาหารในเมือง (Urban Farming) สร้างรายได้อย่างเสมอภาค (Inclusive Job Opportunities) ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม (Equality) ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม (Social Inclusion) ด้านนายยุทธกฤต เฉลิมไทย ผู้ก่อตั้งโครงการ EDeaf Education for the Deaf กล่าวว่า โครงการ Edeaf เป็นการรวมกันของอาสาสมัคร และทุกภาคส่วนทั้งกระทรวงศึกษาธิการ ภาคเอกชนอย่างซีพีเอฟที่ให้การสนับสนุนมาตลอดทั้งโครงการ เพราะการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง จะมีต่อเนื่อง ซีพีเอฟเป็นผู้ใหญ่ใจดีที่ให้การสนับสนุน ขอขอบคุณซีพีเอฟแทนน้องๆและอาสาสมัครที่บริษัทให้ความสำคัญกับการศึกษาของผู้พิการทางการได้ยิน และการเปิดพื้นที่ร่วมกันในสังคม
กิจกรรมอื่น ๆ