16 ก.ย. 2564
อบก.มอบรางวัลยอดเยี่ยม ให้ “ซีพีเอฟ” องค์กรธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน(LCSi) ประจำปี 2564
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ได้รับรางวัล "ยอดเยี่ยม" ในการประเมินองค์กรธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable Business Index: LCSi) ประจำปี 2564 โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. สะท้อนความมุ่งมั่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม
โดยในวันนี้ (15 กันยายน 2564) นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นประธานในการสัมมนาเรื่อง "แนวทางการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ที่คาร์บอนต่ำและยั่งยืน" และ พิธีประกาศผลการประเมินและจัดระดับธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ประจำปี 2564 พร้อมมอบรางวัลให้กับบริษัทที่ผ่านการประเมิน
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนองค์กร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำ ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน และกำหนดแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ตั้งแต่ส่งเสริมเกษตรกรให้มีการจัดหาวัตถุดิบที่ไม่ได้มาจากแหล่งตัดไม้ทำลายป่า การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การวางแผนระบบโลจิสติกส์ บริหารจัดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการ พร้อมทั้งสานต่อความร่วมมือในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าบกและป่าชายเลน ที่ดำเนินการไปแล้วรวมมากกว่า 1 หมื่นไร่ ซีพีเอฟ นำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้บริหารจัดการทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด โดยในปี 2563 มีสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนคิดเป็น 26% ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 575,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และยังมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และฉลากลดโลกร้อนมากกว่า 790 รายการ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำมากกว่า 1 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟ กำหนดเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิตลง 25% ในปี 2568 เทียบกับปีฐาน
นอกจากนี้ ภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action ซึ่งบริษัทฯ ประกาศเป็นแผนปฏิบัติการในช่วง 10 ปีข้างหน้า (ปี 2564-2573) ทำให้สามารถสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ได้ครบทั้ง 17 เป้าหมาย ส่งเสริมการลงมือทำในระดับของพนักงาน คู่ค้า สู่องค์กรคาร์บอนต่ำและยั่งยืน สอดรับกับทศวรรษแห่งการลงมือทำ (Decade of Action) ตามเป้าหมายของสหประชาชาติ
ทั้งนี้ อบก.ได้จัดทำตัวชี้วัดธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable Business Index: LCSi) มาตั้งแต่ปี 2562 โดยปีนี้ ซีพีเอฟได้รับรางวัลยอดเยี่ยม จากการประเมินข้อมูลที่เปิดเผยในรายงานความยั่งยืนของบริษัทฯย้อนหลัง 3 ปี และสัมภาษณ์ข้อมูลของบริษัท ในมิติด้านสิ่งแวดล้อม มิติด้านสังคม และมิติด้านเศรษฐกิจ ./
โดยในวันนี้ (15 กันยายน 2564) นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นประธานในการสัมมนาเรื่อง "แนวทางการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ที่คาร์บอนต่ำและยั่งยืน" และ พิธีประกาศผลการประเมินและจัดระดับธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ประจำปี 2564 พร้อมมอบรางวัลให้กับบริษัทที่ผ่านการประเมิน
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนองค์กร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำ ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน และกำหนดแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ตั้งแต่ส่งเสริมเกษตรกรให้มีการจัดหาวัตถุดิบที่ไม่ได้มาจากแหล่งตัดไม้ทำลายป่า การเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การวางแผนระบบโลจิสติกส์ บริหารจัดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการ พร้อมทั้งสานต่อความร่วมมือในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าบกและป่าชายเลน ที่ดำเนินการไปแล้วรวมมากกว่า 1 หมื่นไร่ ซีพีเอฟ นำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้บริหารจัดการทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด โดยในปี 2563 มีสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนคิดเป็น 26% ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 575,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และยังมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และฉลากลดโลกร้อนมากกว่า 790 รายการ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำมากกว่า 1 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟ กำหนดเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิตลง 25% ในปี 2568 เทียบกับปีฐาน
นอกจากนี้ ภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action ซึ่งบริษัทฯ ประกาศเป็นแผนปฏิบัติการในช่วง 10 ปีข้างหน้า (ปี 2564-2573) ทำให้สามารถสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ได้ครบทั้ง 17 เป้าหมาย ส่งเสริมการลงมือทำในระดับของพนักงาน คู่ค้า สู่องค์กรคาร์บอนต่ำและยั่งยืน สอดรับกับทศวรรษแห่งการลงมือทำ (Decade of Action) ตามเป้าหมายของสหประชาชาติ
ทั้งนี้ อบก.ได้จัดทำตัวชี้วัดธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable Business Index: LCSi) มาตั้งแต่ปี 2562 โดยปีนี้ ซีพีเอฟได้รับรางวัลยอดเยี่ยม จากการประเมินข้อมูลที่เปิดเผยในรายงานความยั่งยืนของบริษัทฯย้อนหลัง 3 ปี และสัมภาษณ์ข้อมูลของบริษัท ในมิติด้านสิ่งแวดล้อม มิติด้านสังคม และมิติด้านเศรษฐกิจ ./
กิจกรรมอื่น ๆ