ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสุกร ครั้งที่ 8 (The 8th International Symposium on Emerging and Re-emerging Pig Diseases : ISERPD 2023 Bangkok, Thailand) จัดโดยสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย ร่วมกับ The 5th International Workshop on Streptococcus suis (IWSs) ถือเป็นเวทีที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อโรคอุบัติใหม่และการจัดการโรคในสุกรไว้ในงานเดียว งานจัดขึ้นภายใต้ธีม “Healthy Pigs, Hygienic Pork, Happy People” เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสุกร นำไปสู่สุขภาพและสุขลักษณะที่ดีของสุกรและเนื้อสุกร รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภค งานดังกล่าว บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ร่วมแสดงศักยภาพของการเป็นผู้นำทางด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร โดยร่วมจัดแสดงนิทรรศการ นำเสนอภาพรวมขององค์กรที่แสดงความรับผิดชอบด้านการผลิตตลอดห่วงโซ่อาหาร ในฐานะขององค์กรผู้นําแห่งนวัตกรรมอาหารด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย เพื่อขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “CPF SUSTAINABLE KITCHEN OF THE WORLD TOWARDS NET-ZERO” ซึ่งการเสนอข้อมูลทางด้านความยั่งยืนนั้น แบ่งเป็นเรื่องราวของนวัตกรรม ทั้งด้านกระบวนการผลิต สินค้าผลิตภัณฑ์ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ขณะเดียวกัน CP BIO from CP China บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพระดับโลก ได้นำสินค้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดจากการ Fermentation และ Green Technology มาร่วมจัดแสดงด้วย
สำหรับความสำเร็จในด้าน SMART Process ซีพีเอฟนำเสนอนวัตกรรมความยั่งยืนทางกระบวนการผลิต Smart Feed-Farm-Food ส่วนความสำเร็จ SMART Product นำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัยได้มาตรฐาน ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหาร ซีพีเอฟ เป็นที่ยอมรับในคุณภาพ และความปลอดภัยจากผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสในการตอบสนองตลาดได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในงานนี้ น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองผู้อำนวยการ ด้านมาตรฐานฟาร์ม และข้อกำหนดลูกค้า ซีพีเอฟ ร่วมแชร์ประสบการณ์ในการบรรยายพิเศษ หัวข้อ "CPF Kitchen of the World" ชูแนวทางปฏิบัติที่ดีเลิศของซีพีเอฟ รวมถึงความสำเร็จด้านความยั่งยืน ด้วยโมเดลการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) ที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) มาสนับสนุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพดูแลสัตว์ในทุกขั้นตอน ช่วยสร้างอาหารปลอดภัย ปลอดสาร สู่ผู้บริโภคทั่วโลก ขับเคลื่อนการผลิตอาหารมั่นคงอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ เป็นบริษัทชั้นนำของไทย ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแบบครบวงจร มุ่งเน้นสุกร ไก่เนื้อและไก่ไข่ เป็ด กุ้ง และปลา ด้วยความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน ซีพีเอฟเป็นหนึ่งบริษัทชั้นนำของโลกดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นผู้ผลิตไก่เนื้ออันดับ 1 ของประเทศไทย มีธุรกิจหลักแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ธุรกิจอาหารสัตว์ (Feed) ธุรกิจเลี้ยงสัตว์ (Farm) และธุรกิจอาหาร (Food) บริษัทมีการลงทุนครอบคลุม 17 ประเทศทั่วโลก มีการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพสูงปลอดภัย ไปมากกว่า 40 ประเทศ ป้อนประชากรกว่า 4,000 ล้านคนทั่วโลก ภายใต้ความมุ่งมั่นในการเป็น “ครัวของโลกที่ยั่งยืน” (Sustainable Kitchen of the World) ด้วยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกัน ยังประกาศกลยุทธ์ “CPF 2030 Sustainability in Action” ขับเคลื่อนภารกิจ 9 ความมุ่งมั่น ภายใต้ 3 เสาหลัก อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และ ดิน น้ำ ป่าคงอยู่ สร้างความมั่นคงทางอาหารบนพื้นฐานการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ส่งเสริมสังคมเติบโตไปด้วยกัน ร่วมบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ( SDGs ) ครบ 17 เป้าหมาย
ทั้งนี้ สวัสดิภาพสัตว์ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ดี เพื่อความปลอดภัยอาหาร ภายใต้หลักความมั่นคงทางอาหาร โดยบริษัทมีการพัฒนาและยกระดับการเลี้ยงสัตว์ตามแนวปฏิบัติสวัสดิภาพสัตว์สากลภายใต้ “หลักอิสระ 5 ประการ : Five Freedoms” อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันความหิวและกระหาย ความไม่สบายกาย ความทุกข์ทรมาน การบาดเจ็บ และสนับสนุนการแสดงออกทางพฤติกรรมตามธรรมชาติของสัตว์ ในฟาร์มไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด สุกร และสัตว์น้ำ จากข้อได้เปรียบเนื่องจากเป็นธุรกิจครบวงจร (CPF Vertical Integration) จึงมั่นใจในความปลอดภัยและคุณภาพอาหารตลอดห่วงโซ่คุณค่า สำหรับโรงงานอาหารสัตว์ (Feed) ของซีพีเอฟเป็น Smart Factory ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ครบวงจร อาหารสุกรและอาหารไก่ ได้รับฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ รับรองโดย อบก. โดยมีการประยุกต์ใช้ความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) กับความปลอดภัยของอาหารสัตว์ (Feed Safety) ด้วยหลักการ HACCP จากอาหาร (Food) สู่อาหารสัตว์ (Feed) ภายใต้ความรับผิดชอบในการจัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้โภชนาการที่แม่นยำ (Precision Nutrition) และอาหารเสริมทางเลือก (Alternative Feed Supplements) ด้วยการควบคุมคุณภาพที่ดีที่สุด ไม่มีการใช้สารเร่งการเจริญเติบโต ไม่ใช้แหล่งโปรตีนจากสัตว์เป็นส่วนประกอบในอาหารสัตว์ ไม่ใช้ฮอร์โมนและสารกระตุ้นการเจริญเติบโตในสัตว์ (Antibiotic growth promoter : AGP) ซีพีเอฟให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เป็นอันดับแรก ด้วยร่วมมือกับภาครัฐ โดยกรมปศุสัตว์ และซีพีเอฟในฐานะภาคเอกชน ร่วมกับผู้ผลิตสุกรไทย ในการป้องกัน ASF ระดับประเทศ นอกจากนี้ บริษัท ยังร่วมกับกรมปศุสัตว์ และผู้ผลิตไก่เนื้อสำหรับการส่งออก ร่วมจัดทำโครงการปลอดโรคไข้หวัดนกภายใต้ระบบคอมพาร์ทเมนต์ ตามหลักการของ OIE ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนกและเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ รวมทั้งผลักดันการกำจัดโรคไข้หวัดนกให้หมดไปจากประเทศไทยและสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ ด้านฟาร์มสุกร ซีพีเอฟใช้ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพขั้นสูง
โดยบุคลากรและผู้เยี่ยมชมทุกคนต้องอาบน้ำก่อนเข้าพื้นที่เลี้ยงสุกร มีการฆ่าเชื้อรองเท้าและมือก่อนเข้าโรงเลี้ยงสุกร มีการแยกพื้นที่เลี้ยงสุกรออกจากพื้นที่อาศัยอย่างเคร่งครัด ลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนโรคสุกร แยกพื้นที่เลี้ยงและพื้นที่อยู่อาศัย ปัจจุบัน ซีพีเอฟก้าวสู่สมาร์ทฟาร์มมิ่ง (Smart Farming) ด้วยระบบควบคุมอุปกรณ์อัตโนมัติเต็มรูปแบบ ภายใต้การเลี้ยงในโรงเรือนแบบปิด (EVAP) มีการตรวจสอบและควบคุมการเลี้ยงผ่านกล้องวงจรปิด (CCTV) ตลอดเวลา มีการแสดงผลและวิเคราะห์ข้อมูลในฟาร์ม ด้วยระบบประมวลผลแบบทันที (real time processing) โดยใช้ระบบ AI (Artificial Intelligence) และ IoT (Internet of Things) ยกระดับมาตรฐานการผลิต อย่างเช่น การตรวจสอบอุณหภูมิ ความชื้น ความเร็ว การทำงานของพัดลม และปริมาณการป้อนอาหาร การตรวจสอบความปลอดภัยทางชีวภาพด้วยกล้องวงจรปิด การตรวจสุขภาพ และการแจ้งเตือนความผิดปกติ ทั้งหมดดำเนินการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ควบคุมการเลี้ยงด้วยสมาร์ทโฟนได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งข้อดีของ Smart Farming คือจากอดีตที่ต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อการจัดการ (Collected data for management) สู่ปัจจุบัน ที่สามารถจัดการได้ทันทีและแม่นยำ (Real time and Precision) ตั้งแต่การติดตามเวลาจริงเพื่อดำเนินการในทันที ประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้นจากการจัดการที่แม่นยำ มีการตรวจสอบได้จากทุกที่ ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหากสัมผัสน้อยก็เป็นโรคน้อย และการใช้อุปกรณ์อัตโนมัติเพื่อลดการใช้พลังงานในฟาร์ม ทั้งหมดนี้ปูพื้นฐานสู่อนาคต ด้วยการจัดการเชิงคาดการณ์ด้วย AI สำหรับแนวทาง "สุขภาพหนึ่งเดียว" นับเป็นวิสัยทัศน์และนโยบายระดับโลกของซีพีเอฟ ในด้านการดูแลการใช้สารต้านจุลชีพในอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นห่วงโซ่อุปทานอาหารระดับโลก และร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเพื่อปกป้องสุขภาพของผู้คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ด้านความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ซีพีเอฟมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อาทิ ผลิตภัณฑ์ไก่เบญจา (Benja Chicken) และหมูชีวา (Cheeva Pork) ของซีพีเอฟ ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ 100% ตลอดการเลี้ยงดู จาก NSF ขณะเดียวกัน ยังพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Products) ที่ได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำด้วย ที่สำคัญยังเน้นการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ทั้งมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ (อยู่ใน BBFAW Rank : Tier 3 ปี 2020-2021 และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง) มาตรฐานความปลอดภัยของอาหารและคุณภาพอาหาร ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการอนุมัติฮาลาลสำหรับการเชือดไก่
โดยซีพีเอฟเป็นผู้ผลิตนอกยุโรปรายแรกและรายเดียวที่ได้รับ “QS Standard Scheme for Food” จากเยอรมนี, Farm First Welfare Std., LRQA สหราชอาณาจักร, Global G.A.P. Std. เนเธอร์แลนด์ รวมถึงการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และแนวทางปฏิบัติที่ดีในการผลิต (GMP) นอกจากนี้ บริษัทยังให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการมุ่งสู่ Net-Zero ด้วยแนวคิด “Sustainable products of the World …Towards Net-Zero” (World Towards Net-Zero) ด้วยนวัตกรรม Smart Process , Smart Sourcing , Smart Production และ Smart Consumption ความมุ่งมั่นทั้งหมดของซีพีเอฟ นำไปสู่ผลสำเร็จ ด้วยการได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 (2558-2565) จากผลงานโดดเด่น 6 ด้าน ทั้งการจัดการนวัตกรรม สิทธิมนุษยชน สุขภาพและโภชนาการ บรรจุภัณฑ์ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ และความปลอดภัยของข้อมูล/ความปลอดภัยทางไซเบอร์และความพร้อมใช้งานของระบบ ตอกย้ำความเป็นผู้นำของบริษัทในด้านความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน