จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ สร้างความกังวลให้กับหลายภาคส่วน รวมถึงธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากยอดขายที่กำลังฟื้นตัวต้องหยุดชะงัก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ได้ขยายเวลาการดำเนินโครงการ Faster Payment ลดระยะเวลาเครดิตเทอมภายใน 30 วัน จนถึงกลางปีนี้ เพื่อร่วมเสริมสร้างความแกร่งทางการเงินให้คู่ค้าธุรกิจที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยสามารถยืนหยัดฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้
ซีพีเอฟ ได้ดำเนินโครงการ Faster Payment มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เพื่อช่วยเหลือคู่ค้าธุรกิจ SMEs จำนวนกว่า 6 พันราย ได้รับเครดิตเทอมภายใน 30 วัน ซึ่งที่ผ่านมา โครงการฯ สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถรักษากิจการ ดำเนินธุรกิจ รักษาการจ้างงานได้อย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs มั่นใจที่ขยายและปรับแผนธุรกิจรองรับยุคนิวนอร์มอล
นางสาวนฤมล แสงมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอ็มพี ยูนิฟอร์ม จำกัด ผู้ผลิตชุดยูนิฟอร์มของพนักงานให้กับซีพีเอฟ กล่าวว่า วิกฤตโควิด ทำให้ยอดขายลดลงเกือบ 50% ยาวนานติดต่อกัน 3-4 เดือนส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท ตอนที่ได้รับประมูลงานผลิตเสื้อฟอร์มของซีพีเอฟมา ก็กังวลใจว่าต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก โชคดีที่ซีพีเอฟมีโครงการ “Faster Payment” ลดระยะเวลาเครดิตเทอมภายใน 30 วัน เป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ประกอบการ SMEs ทำให้มีเงินหมุนเวียนเข้ามาเร็วขึ้นและแน่นอน ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถผ่านพ้นวิกฤติโควิดได้ และเชื่อว่าจากการขยายเวลาโครงการ ช่วยให้เรามีความแข็งแกร่ง สามารถพัฒนาและต่อยอดธุรกิจใหม่ๆ ได้ เชื่อมั่นว่าบริษัทจะฝ่าวิกฤตระลอกใหม่ไปได้ด้วยดี
นายเสกภณ บุญเตชะธนาวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ขอบคุณ 2562 จำกัด ผู้จัดหาวัสดุและเคมีภัณฑ์ ให้กับซีพีเอฟ กล่าวว่า โครงการ Faster Payment ของซีพีเอฟ เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ SMEs เมื่อได้รับเงินรวดเร็วช่วยเสริมสภาพคล่องขอวบริษัทขนาดเล็กให้ดีขึ้น ในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แแน่นอน สามารถลดภาระต้นทุนสินค้า จากการไม่ต้องกู้เงินที่มีดอกเบี้ยสูงมาใช้ดำเนินงาน ช่วยแก้ปัญหาการชำระเงิน และเปิดโอกาสให้ทางบริษัทนำสินค้าใหม่ๆมารองรับความต้องการในตลาด ซึ่งช่วยเพิ่มยอดขายของธุรกิจอีกด้วย
ด้าน นางสาวธิดารัตน์ เดชายนต์บัญชา รองกรรมการผู้จัดการ ด้านจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทได้ติดตามประเมินผลโครงการ Faster Payment อย่างต่อเนื่อง พบว่า โครงการนี้ช่วยเสริมให้คู่ค้าซีพีเอฟที่เป็นผู้ประกอบการ SMEs ของซีพีเอฟมีความแข็งแกร่งทางการเงิน โดยเฉพาะการระบาดโควิดระลอกใหม่
โครงการนี้ช่วยให้คู่ค้าได้รับเงินที่รวดเร็วขึ้น สนับสนุนให้ SMEs ของไทยสามารถประคับประคองกิจการและการจ้างงานในภาวะเศรษฐกิจที่แนวโน้มยังผันผวนได้อย่างเข้มแข็ง
นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังให้การสนับสนุนและแบ่งปันมาตรการ และแนวทางการปฏิบัติในป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ให้คู่ค้าธุรกิจของซีพีเอฟสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถรักษาสถานภาพการผลิตและการส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพปลอดภัยให้กับซีพีเอฟอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีส่วนสำคัญที่จะช่วยป้องกันให้ห่วงโซ่การผลิตอาหารของซีพีเอฟดำเนินการได้ไม่หยุดชะงัก
ขณะเดียวกัน ในปีนี ซีพีเอฟยังดำเนินโครงการเพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพคู่ค้าธุรกิจ โดยร่วมมือกันปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของคู่ค้าธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านการปฏิบัติที่ดีในด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการอย่างมีจริยธรรม เพิ่มขีดความสามารถในการ