22 ก.ค. 2565
ซีพีเอฟ หนุนศูนย์ FLEC สร้างโอกาสการศึกษาลูกหลานแรงงานข้ามชาติ ลดความเหลื่อมล้ำ ต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก
รัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุนให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม หากด้วยข้อจำกัดด้านต่างๆ ทั้งความพร้อมของเด็กและผู้ปกครอง ส่งผลให้เด็กข้ามชาติที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทยจำนวนมากเข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษา ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา (Fishermen Life Enhancement Center) หรือ ศูนย์ FLEC คือความร่วมมือภาคีเครือข่ายรัฐ-ประชาสังคม-เอกชน ที่เข้ามาช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งตลอด 6 ปีของการดำเนินงานของศูนย์ฯ สามารถสนับสนุนให้ลูกหลานของแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสงขลา ได้รับสิทธิเข้าเรียนหนังสือและพัฒนาทักษะเพื่อเติบโตอย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของศูนย์ฯ ในการลดความเสี่ยงการค้ามนุษย์อย่างยั่งยืน ตามที่ภาคีเครือข่ายร่วมกันประกาศเจตนารมณ์เนื่องในวันต่อต้านการใช้แรงงานเด็กสากล ตรงกับวันที่ 12 มิถุนายน 2565 ด้วยแคมเปญ “"I raise my hand for a world without child labor"”
นางสาวนาตยา เพชรรัตน์ ผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา ในฐานะกรรมการศูนย์ FLEC กล่าวว่า ศูนย์ FLEC เป็นความร่วมมือของภาคีพันธมิตร 7 องค์กร เพื่อร่วมจัดการปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานผิดกฎหมาย ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติครอบคลุมทุกมิติ ศูนย์ FLEC มีส่วนช่วยสนับสนุนให้บุตรหลานแรงงานเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา ผ่าน “ห้องเรียนรู้เพื่อเด็กและครอบครัวแรงงานเพื่อนบ้าน” ณ อาคารท่าเทียบเรือสงขลา เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนต่อในโรงเรียนรัฐในจังหวัด ซึ่งตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา มีลูกหลานแรงงานข้ามชาติรวม 240 คนได้เข้าถึงการศึกษาในระบบตามมาตรฐานการศึกษาของไทย โดยกว่าร้อยละ 90 ของเด็กสอบผ่านเกณฑ์ประเมินการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 45 คนได้เข้าเรียนต่อในโรงเรียนเทศบาล 2 อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาร่วมกับนักเรียนไทย ห้องเรียนรู้ฯ ของศูนย์ FLEC เปิดเรียนทุกวันไม่เว้นแม้ในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 เพื่อช่วยดูแลเด็กแทนผู้ปกครองที่ต้องทำงานในบริเวณท่าเทียบเรือประมง และในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ห้องเรียนรู้ฯ ยังจัดกลุ่มนักเรียนหมุนเวียนเข้ามาเรียน และมอบหมายการบ้าน เพื่อให้การเรียนของเด็กๆ ต่อเนื่องไม่ขาดตอน โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองเป็นอย่างดีในการติดตามลูกหลานส่งการบ้านอย่างครบถ้วน สำหรับในปีนี้ ลูกหลานแรงงานข้ามชาติในสงขลาเข้ามาเรียนกับศูนย์ FLEC ทั้งหมดจำนวน 42 คน ช่วงอายุตั้งแต่ 4-15 ปี ซึ่งมี “ครูพาตีเมาะ หะแว” ครูประจำห้องเรียนรู้ฯ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ช่วยจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมตามวัย โดย เด็กอนุบาลจะสอนในรูปแบบบูรณาการเพื่อเสริมพัฒนาการและสร้างอุปนิสัยการเรียนรู้ที่ดี ส่วนเด็กวัยประถมขึ้นไป จะสอนรายวิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสอนภาษากัมพูชาให้อ่านออกเขียนได้ รวมทั้งสร้างเสริมทักษะการใช้ชีวิต เช่น การเรียนรู้แยกขยะต่างๆ การดูแลและปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อนำไปรับประทานร่วมกับผู้ปกครอง เป็นต้น รวมทั้ง มีเด็กข้ามชาติสามารถผ่านการประเมินเพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐ ทั้งระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษาได้ 15 คน “ลูกหลานของแรงงานข้ามชาติที่มาเรียนกับศูนย์ FLEC มีทักษะการใช้ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ เด็กๆ กล้าแสดงออก กล้าพูดคุยกับคนนอกครอบครัวมากขึ้น และที่สำคัญ เด็กๆ สามารถดูแลตัวเองได้ในเวลาที่ผู้ปกครองไปทำงาน ใช้ชีวิตประจำได้อย่างปลอดภัย” นางสาวพาตีเมาะกล่าว บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับ 6 องค์กรภาคีพันธมิตร ได้แก่ องค์การสะพานปลา กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา (บ้านสุขสันต์) บริษัท ปตท. โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และ บริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด ที่ร่วมก่อตั้งและดำเนินการ ศูนย์ FLEC มาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน โดยศูนย์ FLEC มีเป้าหมายพัฒนาต้นแบบการบูรณาการทำงาน เพื่อขจัดปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานผิดกฎหมาย ควบคู่กับร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติ ตลอดจนป้องกันการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายในระดับท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมการศึกษา ส่งเสริมสิทธิเด็ก ช่วยให้แรงงานข้ามชาติและบุตรในภาคประมงมีความรู้ ทักษะทางอาชีพที่จำเป็น สามารถสร้างรายได้ พึ่งพาตนเอง และมีความเป็นอยู่ที่ดีต่อไป./
นางสาวนาตยา เพชรรัตน์ ผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา ในฐานะกรรมการศูนย์ FLEC กล่าวว่า ศูนย์ FLEC เป็นความร่วมมือของภาคีพันธมิตร 7 องค์กร เพื่อร่วมจัดการปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานผิดกฎหมาย ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติครอบคลุมทุกมิติ ศูนย์ FLEC มีส่วนช่วยสนับสนุนให้บุตรหลานแรงงานเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา ผ่าน “ห้องเรียนรู้เพื่อเด็กและครอบครัวแรงงานเพื่อนบ้าน” ณ อาคารท่าเทียบเรือสงขลา เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนต่อในโรงเรียนรัฐในจังหวัด ซึ่งตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา มีลูกหลานแรงงานข้ามชาติรวม 240 คนได้เข้าถึงการศึกษาในระบบตามมาตรฐานการศึกษาของไทย โดยกว่าร้อยละ 90 ของเด็กสอบผ่านเกณฑ์ประเมินการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 45 คนได้เข้าเรียนต่อในโรงเรียนเทศบาล 2 อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาร่วมกับนักเรียนไทย ห้องเรียนรู้ฯ ของศูนย์ FLEC เปิดเรียนทุกวันไม่เว้นแม้ในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 เพื่อช่วยดูแลเด็กแทนผู้ปกครองที่ต้องทำงานในบริเวณท่าเทียบเรือประมง และในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ห้องเรียนรู้ฯ ยังจัดกลุ่มนักเรียนหมุนเวียนเข้ามาเรียน และมอบหมายการบ้าน เพื่อให้การเรียนของเด็กๆ ต่อเนื่องไม่ขาดตอน โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองเป็นอย่างดีในการติดตามลูกหลานส่งการบ้านอย่างครบถ้วน สำหรับในปีนี้ ลูกหลานแรงงานข้ามชาติในสงขลาเข้ามาเรียนกับศูนย์ FLEC ทั้งหมดจำนวน 42 คน ช่วงอายุตั้งแต่ 4-15 ปี ซึ่งมี “ครูพาตีเมาะ หะแว” ครูประจำห้องเรียนรู้ฯ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ช่วยจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมตามวัย โดย เด็กอนุบาลจะสอนในรูปแบบบูรณาการเพื่อเสริมพัฒนาการและสร้างอุปนิสัยการเรียนรู้ที่ดี ส่วนเด็กวัยประถมขึ้นไป จะสอนรายวิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสอนภาษากัมพูชาให้อ่านออกเขียนได้ รวมทั้งสร้างเสริมทักษะการใช้ชีวิต เช่น การเรียนรู้แยกขยะต่างๆ การดูแลและปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อนำไปรับประทานร่วมกับผู้ปกครอง เป็นต้น รวมทั้ง มีเด็กข้ามชาติสามารถผ่านการประเมินเพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐ ทั้งระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษาได้ 15 คน “ลูกหลานของแรงงานข้ามชาติที่มาเรียนกับศูนย์ FLEC มีทักษะการใช้ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ เด็กๆ กล้าแสดงออก กล้าพูดคุยกับคนนอกครอบครัวมากขึ้น และที่สำคัญ เด็กๆ สามารถดูแลตัวเองได้ในเวลาที่ผู้ปกครองไปทำงาน ใช้ชีวิตประจำได้อย่างปลอดภัย” นางสาวพาตีเมาะกล่าว บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับ 6 องค์กรภาคีพันธมิตร ได้แก่ องค์การสะพานปลา กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา (บ้านสุขสันต์) บริษัท ปตท. โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และ บริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด ที่ร่วมก่อตั้งและดำเนินการ ศูนย์ FLEC มาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน โดยศูนย์ FLEC มีเป้าหมายพัฒนาต้นแบบการบูรณาการทำงาน เพื่อขจัดปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานผิดกฎหมาย ควบคู่กับร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติ ตลอดจนป้องกันการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายในระดับท้องถิ่น เพื่อสร้างความเท่าเทียมการศึกษา ส่งเสริมสิทธิเด็ก ช่วยให้แรงงานข้ามชาติและบุตรในภาคประมงมีความรู้ ทักษะทางอาชีพที่จำเป็น สามารถสร้างรายได้ พึ่งพาตนเอง และมีความเป็นอยู่ที่ดีต่อไป./
กิจกรรมอื่น ๆ