13 พ.ย. 2564
ซีพีเอฟ ติดอันดับดัชนีความยั่งยืน “DJSI” ต่อเนื่อง 7 ปีซ้อน
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้รับคัดเลือกเป็น สมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices : DJSI) ประจำปี 2564 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 และเป็น 1 ใน 3 ในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร (Food Products Industry) ประเภทตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) จากความโดดเด่นด้านการบริหารนวัตกรรม ด้านสุขภาพและโภชนาการ และด้านการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร สะท้อนความแข็งแกร่งในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตอาหารปลอดภัยด้วยความรับผิดชอบตามมาตรฐานสากลอย่างมีประสิทธิภาพ
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า การได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก DJSI มาตลอด 7 ปี แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ ซีพีเอฟ ในการเป็นผู้นำสร้างความมั่นคงทางอาหารของโลกตามมาตรฐานสากลด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเกษตรแบบครบวงจร สร้างหลักประกันอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภคทั่วโลก โดยเฉพาะการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสและรับผิดชอบต่อสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดัชนี DJSI เป็นหนึ่งในมาตรฐานสูงสุดสำหรับการประเมินความยั่งยืนองค์กรระดับโลก โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการประกาศผลปีนี้ ซีพีเอฟ ยังคงรักษาความโดดเด่นด้านการบริหารนวัตกรรม (Innovation Management) ด้านสุขภาพและโภชนาการ (Health & Nutrition) ด้านการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร (Food Loss & waste) ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นของบริษัทฯในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ร่วมกับประชาคมโลก และเป้าหมายการยกระดับการบริโภคที่ยั่งยืนจากนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ซีพีเอฟ ร่วมมือกับคู่ค้าธุรกิจพัฒนาอาหารสัตว์รักษ์สิ่งแวดล้อมของสุกรและไก่ไข่ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากมูลสัตว์ได้ถึง 72,500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี 2563 มีศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารซีพีเอฟเป็น One-Stop-Service สำหรับลูกค้าเพื่อออกแบบและพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค เช่น ผลิตภัณฑ์โปรตีนสัตว์จากพืช (Plant-based Protein) ภายใต้แบรนด์ Meat Zero และหมูชีวาที่มีโอเมก้า 3 และคำนึงถึงการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร (Food Loss & waste)ในกระบวนการผลิต โดยพัฒนากระบวนการผลิตทั้งกระบวนการให้ปราศจากขยะอาหารและช่วยลดปริมาณขยะสู่บ่อฝังกลบ เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายลดขยะอาหารจากการดำเนินธุรกิจให้เป็นศูนย์ภายในปี 2573 ตอกย้ำการเป็นผู้นำในการสร้างความมั่นคงทางอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเข้าถึงได้ “2 ปี ที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาแห่งความท้าทายจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซีพีเอฟ มีการปรับการบริหารจัดการธุรกิจอย่างรวดเร็วให้เกิดความคล่องตัวและขับเคลื่อนธุรกิจได้เต็มประสิทธิภาพโดยไม่หยุดชะงัก ด้วยมาตรการด้านสุขอนามัยสูงสุดอย่างเคร่งครัด สร้างหลักประกันคนปลอดภัย อาหารปลอดภัย” นายประสิทธิ์ กล่าว ซีพีเอฟ ได้ประกาศกลยุทธ์ความยั่งยืนใหม่ “CPF 2030 Sustainability in Action” เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่องในอีก 9 ปีข้างหน้า ทั้งในประเทศไทยและกิจการในต่างประเทศ สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) โดยมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีกระบวนการผลิตคาร์บอนต่ำตลอดห่วงโซ่ ซึ่งนอกจากการลดขยะอาหารในกระบวนการผลิตของบริษัทเป็นศูนย์แล้ว ยังมีเป้าหมายระหว่างทางขององค์กร คือ ลดของเสียที่ถูกนำไปฝังกลบและเผาให้เป็นศูนย์ และรับซื้อวัตถุดิบหลักจากแหล่งที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า 100% ภายในปี 2573 รวมถึงการปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และยังคงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้อาหารแต่ละมื้อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในอนาคตด้านสุขภาพที่ดี สร้างภูมิคุ้มกันและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Future Food) รองรับความต้องการในอนาคต และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม สมดุลธรรมชาติ ตามแนวทางการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน.
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า การได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก DJSI มาตลอด 7 ปี แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ ซีพีเอฟ ในการเป็นผู้นำสร้างความมั่นคงทางอาหารของโลกตามมาตรฐานสากลด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและความเชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเกษตรแบบครบวงจร สร้างหลักประกันอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภคทั่วโลก โดยเฉพาะการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสและรับผิดชอบต่อสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดัชนี DJSI เป็นหนึ่งในมาตรฐานสูงสุดสำหรับการประเมินความยั่งยืนองค์กรระดับโลก โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการประกาศผลปีนี้ ซีพีเอฟ ยังคงรักษาความโดดเด่นด้านการบริหารนวัตกรรม (Innovation Management) ด้านสุขภาพและโภชนาการ (Health & Nutrition) ด้านการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร (Food Loss & waste) ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นของบริษัทฯในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ร่วมกับประชาคมโลก และเป้าหมายการยกระดับการบริโภคที่ยั่งยืนจากนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ซีพีเอฟ ร่วมมือกับคู่ค้าธุรกิจพัฒนาอาหารสัตว์รักษ์สิ่งแวดล้อมของสุกรและไก่ไข่ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากมูลสัตว์ได้ถึง 72,500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี 2563 มีศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารซีพีเอฟเป็น One-Stop-Service สำหรับลูกค้าเพื่อออกแบบและพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค เช่น ผลิตภัณฑ์โปรตีนสัตว์จากพืช (Plant-based Protein) ภายใต้แบรนด์ Meat Zero และหมูชีวาที่มีโอเมก้า 3 และคำนึงถึงการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร (Food Loss & waste)ในกระบวนการผลิต โดยพัฒนากระบวนการผลิตทั้งกระบวนการให้ปราศจากขยะอาหารและช่วยลดปริมาณขยะสู่บ่อฝังกลบ เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายลดขยะอาหารจากการดำเนินธุรกิจให้เป็นศูนย์ภายในปี 2573 ตอกย้ำการเป็นผู้นำในการสร้างความมั่นคงทางอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเข้าถึงได้ “2 ปี ที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาแห่งความท้าทายจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซีพีเอฟ มีการปรับการบริหารจัดการธุรกิจอย่างรวดเร็วให้เกิดความคล่องตัวและขับเคลื่อนธุรกิจได้เต็มประสิทธิภาพโดยไม่หยุดชะงัก ด้วยมาตรการด้านสุขอนามัยสูงสุดอย่างเคร่งครัด สร้างหลักประกันคนปลอดภัย อาหารปลอดภัย” นายประสิทธิ์ กล่าว ซีพีเอฟ ได้ประกาศกลยุทธ์ความยั่งยืนใหม่ “CPF 2030 Sustainability in Action” เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่องในอีก 9 ปีข้างหน้า ทั้งในประเทศไทยและกิจการในต่างประเทศ สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) โดยมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีกระบวนการผลิตคาร์บอนต่ำตลอดห่วงโซ่ ซึ่งนอกจากการลดขยะอาหารในกระบวนการผลิตของบริษัทเป็นศูนย์แล้ว ยังมีเป้าหมายระหว่างทางขององค์กร คือ ลดของเสียที่ถูกนำไปฝังกลบและเผาให้เป็นศูนย์ และรับซื้อวัตถุดิบหลักจากแหล่งที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า 100% ภายในปี 2573 รวมถึงการปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และยังคงมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้อาหารแต่ละมื้อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในอนาคตด้านสุขภาพที่ดี สร้างภูมิคุ้มกันและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Future Food) รองรับความต้องการในอนาคต และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม สมดุลธรรมชาติ ตามแนวทางการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน.
กิจกรรมอื่น ๆ