20 ม.ค. 2565
CPF เลิกใช้ถ่านหินภายในปี 2565 เดินหน้าโครงการฟาร์ม-โรงงานต้นแบบใช้พลังงานหมุนเวียน
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ยกเลิกใช้ถ่านหินในปี 2565 สำหรับกิจการในประเทศไทย ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 70,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี เดินหน้าผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) มุ่งมั่นใช้เชื้อเพลิงสะอาด ทั้งจากพลังงานชีวมวล (Biomass) พลังงานชีวภาพ (Biogas) ในกระบวนการผลิต พร้อมตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำ และของเสีย ร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างฐานการผลิตอาหารมั่นคงและการบริโภคอย่างยั่งยืน
นายพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สำนักวิศวกรรมกลาง ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำ และของเสีย ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ดำเนินโครงการ “CPF Coal Free 2022” มีเป้าหมายยกเลิกการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตทั้งหมด สำหรับกิจการในประเทศไทย ในปี 2565 และทดแทนด้วยพลังงานชีวมวลจากวัสดุเหลือทิ้ง เช่น เศษไม้ ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 70,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี โดยปัจจุบันโรงงานผลิตอาหารสัตว์บกของบริษัทฯทั้งหมด 12 แห่ง ได้ยกเลิกการใช้ถ่านหิน โดยใช้พลังงานชีวมวลทดแทนถ่านหินในการผลิตไอน้ำแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการในโรงงานอาหารสัตว์น้ำ 2 แห่ง และโรงงานแปรสภาพขนเป็ด-ไก่ท้ายบ้าน 1 แห่ง คาดว่าโดยภาพรวมจะสามารถยกเลิกการใช้ถ่านหินได้ตามเป้าหมาย ภายในไตรมาส 4 ของปีนี้ "ซีพีเอฟ เดินหน้าธุรกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน มุ่งมั่นใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งการหยุดใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน จะช่วยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดูแลสิ่งแวดล้อม บรรเทาผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน สู่เป้าหมายองค์กรปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs)" นายพีรพงศ์ กล่าว ซีพีเอฟ มีเป้าหมายขับเคลื่อนสู่องค์กรคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Organization) กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทางตรงและทางอ้อมต่อหน่วยการผลิตลง 25% ในปี 2568 เทียบกับปีฐาน 2558 ภายใต้กลไกสำคัญ คือ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในรูปแบบของพลังงานชีวมวล พลังงานชีวภาพ และพลังงานแสงอาทิตย์ โดยปัจจุบัน มีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน 26% ของการใช้พลังงานทั้งหมด ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 575,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นายพีรพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปี 2565 บริษัท ฯ เดินหน้าส่งเสริมโครงการฟาร์มและโรงงานต้นแบบที่ใช้พลังงานหมุนเวียน อาทิ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยปัจจุบันดำเนินการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) บนหลังคาโรงงานและอาคารสำนักงานไปแล้ว 23 แห่ง โซลาร์ ฟาร์ม (Solar Farm) 4 แห่ง และโซลาร์ ลอยน้ำ (Solar Floating) 2 แห่ง ทั้งนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการสำรวจเพื่อติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในระยะที่สาม โดยจะติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป โซลาร์ ฟาร์ม และโซลาร์ ลอยน้ำ อีกไม่น้อยกว่า 60 แห่ง คาดว่าหลังจากดำเนินการทั้ง 3 ระยะเสร็จสิ้นในปี 2566 จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวม 43 เมกะวัตต์ หรือเทียบเท่าการใช้ไฟฟ้า 62 ล้านหน่วยต่อปี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 26,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ปีละ 2.8 ล้านต้น ทั้งนี้ ซีพีเอฟ ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำ และของเสีย (Climate Change Water and Waste Working Group) เพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนให้มีการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าว สร้างฐานการผลิตอาหารมั่นคงและการบริโภคอย่างยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องกับเป้าหมายกลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรที่เป็นเลิศ เพื่อสร้างผลเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่า
นายพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สำนักวิศวกรรมกลาง ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำ และของเสีย ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ดำเนินโครงการ “CPF Coal Free 2022” มีเป้าหมายยกเลิกการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตทั้งหมด สำหรับกิจการในประเทศไทย ในปี 2565 และทดแทนด้วยพลังงานชีวมวลจากวัสดุเหลือทิ้ง เช่น เศษไม้ ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 70,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี โดยปัจจุบันโรงงานผลิตอาหารสัตว์บกของบริษัทฯทั้งหมด 12 แห่ง ได้ยกเลิกการใช้ถ่านหิน โดยใช้พลังงานชีวมวลทดแทนถ่านหินในการผลิตไอน้ำแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการในโรงงานอาหารสัตว์น้ำ 2 แห่ง และโรงงานแปรสภาพขนเป็ด-ไก่ท้ายบ้าน 1 แห่ง คาดว่าโดยภาพรวมจะสามารถยกเลิกการใช้ถ่านหินได้ตามเป้าหมาย ภายในไตรมาส 4 ของปีนี้ "ซีพีเอฟ เดินหน้าธุรกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน มุ่งมั่นใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งการหยุดใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน จะช่วยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดูแลสิ่งแวดล้อม บรรเทาผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน สู่เป้าหมายองค์กรปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs)" นายพีรพงศ์ กล่าว ซีพีเอฟ มีเป้าหมายขับเคลื่อนสู่องค์กรคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Organization) กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทางตรงและทางอ้อมต่อหน่วยการผลิตลง 25% ในปี 2568 เทียบกับปีฐาน 2558 ภายใต้กลไกสำคัญ คือ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในรูปแบบของพลังงานชีวมวล พลังงานชีวภาพ และพลังงานแสงอาทิตย์ โดยปัจจุบัน มีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน 26% ของการใช้พลังงานทั้งหมด ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 575,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นายพีรพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปี 2565 บริษัท ฯ เดินหน้าส่งเสริมโครงการฟาร์มและโรงงานต้นแบบที่ใช้พลังงานหมุนเวียน อาทิ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยปัจจุบันดำเนินการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) บนหลังคาโรงงานและอาคารสำนักงานไปแล้ว 23 แห่ง โซลาร์ ฟาร์ม (Solar Farm) 4 แห่ง และโซลาร์ ลอยน้ำ (Solar Floating) 2 แห่ง ทั้งนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการสำรวจเพื่อติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในระยะที่สาม โดยจะติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป โซลาร์ ฟาร์ม และโซลาร์ ลอยน้ำ อีกไม่น้อยกว่า 60 แห่ง คาดว่าหลังจากดำเนินการทั้ง 3 ระยะเสร็จสิ้นในปี 2566 จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวม 43 เมกะวัตต์ หรือเทียบเท่าการใช้ไฟฟ้า 62 ล้านหน่วยต่อปี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 26,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ปีละ 2.8 ล้านต้น ทั้งนี้ ซีพีเอฟ ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำ และของเสีย (Climate Change Water and Waste Working Group) เพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนให้มีการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าว สร้างฐานการผลิตอาหารมั่นคงและการบริโภคอย่างยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องกับเป้าหมายกลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรที่เป็นเลิศ เพื่อสร้างผลเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่า
กิจกรรมอื่น ๆ
Tag:
#PartnershipSchool