16 มี.ค. 2565
BBFAW ชู ซีพีเอฟ รักษาระดับองค์กรชั้นนำของโลกด้านสวัสดิภาพสัตว์และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมีความรับผิดชอบ
สถาบันจัดอันดับระดับโลกด้านสวัสดิภาพสัตว์ The Business Benchmark on Farm Animal Welfare หรือ BBFAW เผยบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ องค์กรชั้นนำระดับโลกด้านอุตสาหกรรมอาหารได้อยู่ในระดับ Tier 3 ในรายงานเกณฑ์การประเมินภาคธุรกิจด้านสวัสดิภาพสัตว์ ปี 2021 (The Business Benchmark on Farm Animal Welfare Report 2021: BBFAW) เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน สะท้อนเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนยกระดับมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ตลอดห่วงโซ่การผลิตอย่างจริงจัง เป็นต้นแบบในการริเริ่มโครงการและสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ มาใช้
ทั้งนี้ BBFAW เปิดรายงาน เกณฑ์การประเมินภาคธุรกิจด้านสวัสดิภาพสัตว์ปี 2021 (The Business Benchmark on Farm Animal Welfare Report 2021: BBFAW) ได้จัดอันดับบริษัทชั้นนำระดับโลก จำนวน 150 บริษัททั่วโลก ในเรื่องนโยบาย และการดำเนินงานด้านสวัสดิภาพสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม โดยเกณฑ์การประเมินแบ่งออกเป็น 4 มิติ ได้แก่ 1.นโยบายและความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการ (Management Commitment and Policy) 2. การกำกับดูแลกิจการและการบริหาร (Governance and Management) 3. นวัตกรรมและความเป็นผู้นำ (Innovation and Leadership) และ 4. การรายงานผลการดำเนินงานและผลกระทบ (Performance Reporting and Impact) น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านมาตรฐานอาหารสากลและความยั่งยืน ในฐานะประธานคณะกรรมการสวัสดิภาพสัตว์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทมีผลคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยในหลายด้าน และได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับ Tier 3 เป็นปีที่สองติดต่อกัน จากการประเมิน 150 บริษัททั่วโลก ใน 25 ประเทศ ซึ่งความสำเร็จนี้เป็นผลมาจากการที่บริษัทฯ มีนโยบายสวัสดิภาพสัตว์และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมีความรับผิดชอบที่ครอบคลุมทุกชนิดสัตว์ที่เลี้ยง อาทิ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร ปลา และ กุ้ง และครอบคลุมทั้ง 17 ประเทศทั่วโลก โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ 5 ประการ อีกทั้งยังมีการเสริมสภาพแวดล้อมการเลี้ยงสัตว์ที่ดี (Environmental Enrichment) เช่น การนำของเล่นให้สัตว์ได้ผ่อนคลายลดความเครียด การไม่ตัดแต่งพันธุกรรม หรือการโคลนนิ่ง การให้ความสำคัญการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อช่วยยกระดับและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เช่น ระบบ Smart Farm ควบคุมทางไกลอัตโนมัติผ่านระบบคอมพิวเตอร์ การใช้สารสกัดสมุนไพรช่วยลดพฤติกรรมการต่อสู้ในลูกสุกร เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทยังเป็นหนึ่งในสมาชิกของ 3Ts-Alliance ที่จัดตั้งโดย World Animal Protection โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะ ลด ละ เลิก การตอนสุกรเพศผู้ การตัด/กรอฟัน และการตัดหาง ลด ความเจ็บปวดของสุกรในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรทั่วโลก ยิ่งไปกว่านี้ บริษัทได้ปรับปรุงฟาร์มและระบบการเลี้ยงแม่พันธุ์สุกรอุ้มท้อง ให้สอดคล้องตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ระดับโลก โดยตั้งเป้าหมาย 100% ของฟาร์มสุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องเป็นระบบการเลี้ยงแบบคอกขังรวมภายในปี 2568 สำหรับกิจการในประเทศไทย และปี 2571 สำหรับกิจการในต่างประเทศทั้งนี้ ปัจจุบัน ฟาร์มสุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องได้รับการเลี้ยงดูในระบบคอกขังรวมแล้วคิดเป็นร้อยละ 43 สำหรับกิจการในประเทศไทย และร้อยละ 15 สำหรับกิจการในต่างประเทศ สำหรับธุรกิจไก่ บริษัทฯ มีแผนขยายการผลิตฟาร์มวังสมบูรณ์ ซึ่งเป็นฟาร์มแห่งแรกของประเทศไทยที่ผ่านการรับรองมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่แบบไม่ใช้กรง (Cage Free) จากกรมปศุสัตว์ โดยในปี 2565 นี้ตั้งเป้าหมายผลิตไข่ไก่ Cage Free เพิ่มขึ้นสู่ 20 ล้านฟองจาก 16 ล้านฟองในปีที่ผ่านมา ตอบรับแนวโน้มความต้องการที่เพิ่มขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น บริษัทยังมีนโยบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาในธุรกิจการเลี้ยงสุกรและไก่เนื้อ เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม ทั้งสุขภาพคน สุขภาพสัตว์ และสุขภาพสิ่งแวดล้อมภายใต้ความมุ่งมั่นนี้ บริษัทได้ประกาศวิสัยทัศน์ระดับโลกด้านการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ ในปี 2560 มุ่งเน้นการผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย มีคุณภาพ และยึดหลักความยั่งยืนด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมีความรับผิดชอบและสมเหตุสมผล เป็นหลักปฏิบัติหนึ่งเดียวทั้งในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของบริษัท และฟาร์มในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกร โดย 1. ปราศจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่ผ่านการรับรองให้ใช้เฉพาะในคนเท่านั้น (Human-Only Antibiotics) 2. ปราศจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่ผ่านการรับรองให้ใช้ทั้งในคนและสัตว์ (Shared-Class Antibiotics) และ 3. ปราศจากการใช้ฮอร์โมน เพื่อวัตถุประสงค์เร่งการเจริญเติบโต (Growth Promotor) ซีพีเอฟ มีความมุ่งมั่นยกระดับมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์สู่ระดับสากล ตามเป้าหมายกลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action ภายใต้เสาหลัก "ด้านอาหารมั่นคง" ที่ใส่ใจกระบวนการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ควบคู่กับนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการฟาร์มเพื่อการผลิตและส่งมอบอาหารที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภคทั่วโลก.
ทั้งนี้ BBFAW เปิดรายงาน เกณฑ์การประเมินภาคธุรกิจด้านสวัสดิภาพสัตว์ปี 2021 (The Business Benchmark on Farm Animal Welfare Report 2021: BBFAW) ได้จัดอันดับบริษัทชั้นนำระดับโลก จำนวน 150 บริษัททั่วโลก ในเรื่องนโยบาย และการดำเนินงานด้านสวัสดิภาพสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม โดยเกณฑ์การประเมินแบ่งออกเป็น 4 มิติ ได้แก่ 1.นโยบายและความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการ (Management Commitment and Policy) 2. การกำกับดูแลกิจการและการบริหาร (Governance and Management) 3. นวัตกรรมและความเป็นผู้นำ (Innovation and Leadership) และ 4. การรายงานผลการดำเนินงานและผลกระทบ (Performance Reporting and Impact) น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านมาตรฐานอาหารสากลและความยั่งยืน ในฐานะประธานคณะกรรมการสวัสดิภาพสัตว์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทมีผลคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยในหลายด้าน และได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับ Tier 3 เป็นปีที่สองติดต่อกัน จากการประเมิน 150 บริษัททั่วโลก ใน 25 ประเทศ ซึ่งความสำเร็จนี้เป็นผลมาจากการที่บริษัทฯ มีนโยบายสวัสดิภาพสัตว์และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมีความรับผิดชอบที่ครอบคลุมทุกชนิดสัตว์ที่เลี้ยง อาทิ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร ปลา และ กุ้ง และครอบคลุมทั้ง 17 ประเทศทั่วโลก โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ 5 ประการ อีกทั้งยังมีการเสริมสภาพแวดล้อมการเลี้ยงสัตว์ที่ดี (Environmental Enrichment) เช่น การนำของเล่นให้สัตว์ได้ผ่อนคลายลดความเครียด การไม่ตัดแต่งพันธุกรรม หรือการโคลนนิ่ง การให้ความสำคัญการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อช่วยยกระดับและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เช่น ระบบ Smart Farm ควบคุมทางไกลอัตโนมัติผ่านระบบคอมพิวเตอร์ การใช้สารสกัดสมุนไพรช่วยลดพฤติกรรมการต่อสู้ในลูกสุกร เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทยังเป็นหนึ่งในสมาชิกของ 3Ts-Alliance ที่จัดตั้งโดย World Animal Protection โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะ ลด ละ เลิก การตอนสุกรเพศผู้ การตัด/กรอฟัน และการตัดหาง ลด ความเจ็บปวดของสุกรในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรทั่วโลก ยิ่งไปกว่านี้ บริษัทได้ปรับปรุงฟาร์มและระบบการเลี้ยงแม่พันธุ์สุกรอุ้มท้อง ให้สอดคล้องตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ระดับโลก โดยตั้งเป้าหมาย 100% ของฟาร์มสุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องเป็นระบบการเลี้ยงแบบคอกขังรวมภายในปี 2568 สำหรับกิจการในประเทศไทย และปี 2571 สำหรับกิจการในต่างประเทศทั้งนี้ ปัจจุบัน ฟาร์มสุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องได้รับการเลี้ยงดูในระบบคอกขังรวมแล้วคิดเป็นร้อยละ 43 สำหรับกิจการในประเทศไทย และร้อยละ 15 สำหรับกิจการในต่างประเทศ สำหรับธุรกิจไก่ บริษัทฯ มีแผนขยายการผลิตฟาร์มวังสมบูรณ์ ซึ่งเป็นฟาร์มแห่งแรกของประเทศไทยที่ผ่านการรับรองมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่แบบไม่ใช้กรง (Cage Free) จากกรมปศุสัตว์ โดยในปี 2565 นี้ตั้งเป้าหมายผลิตไข่ไก่ Cage Free เพิ่มขึ้นสู่ 20 ล้านฟองจาก 16 ล้านฟองในปีที่ผ่านมา ตอบรับแนวโน้มความต้องการที่เพิ่มขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น บริษัทยังมีนโยบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาในธุรกิจการเลี้ยงสุกรและไก่เนื้อ เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม ทั้งสุขภาพคน สุขภาพสัตว์ และสุขภาพสิ่งแวดล้อมภายใต้ความมุ่งมั่นนี้ บริษัทได้ประกาศวิสัยทัศน์ระดับโลกด้านการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ ในปี 2560 มุ่งเน้นการผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย มีคุณภาพ และยึดหลักความยั่งยืนด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมีความรับผิดชอบและสมเหตุสมผล เป็นหลักปฏิบัติหนึ่งเดียวทั้งในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของบริษัท และฟาร์มในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกร โดย 1. ปราศจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่ผ่านการรับรองให้ใช้เฉพาะในคนเท่านั้น (Human-Only Antibiotics) 2. ปราศจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่ผ่านการรับรองให้ใช้ทั้งในคนและสัตว์ (Shared-Class Antibiotics) และ 3. ปราศจากการใช้ฮอร์โมน เพื่อวัตถุประสงค์เร่งการเจริญเติบโต (Growth Promotor) ซีพีเอฟ มีความมุ่งมั่นยกระดับมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์สู่ระดับสากล ตามเป้าหมายกลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action ภายใต้เสาหลัก "ด้านอาหารมั่นคง" ที่ใส่ใจกระบวนการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ควบคู่กับนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการฟาร์มเพื่อการผลิตและส่งมอบอาหารที่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภคทั่วโลก.
กิจกรรมอื่น ๆ