เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
CPF จับมือ PIM มอบทุนการศึกษาร่วมสร้างผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพระดับโลกด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร
24 ส.ค. 2561
CPF จับมือ PIM มอบทุนการศึกษาร่วมสร้างผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพระดับโลกด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร

กรุงเทพฯ (24 สิงหาคม 2561) – บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันปัญญาภิวัฒน์ (PIM) เปิดตัวงาน CPF Scholarship Day 2018 เพื่อมอบทุนการศึกษา ระดับปริญญาตรีแก่นักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศจำนวน 48 ทุน เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลมืออาชีพในระดับโลก เพื่อยกระดับธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารอย่างยั่งยืน

 

ปี 2561 เป็นปีแรกที่มีการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาจากประเทศที่ ซีพีเอฟ เข้าไปลงทุน 17 ประเทศ เข้ามาศึกษาในประเทศไทยได้ โดยมีผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือก 15 คน จาก 6 ประเทศ คือ อินเดีย บังคลาเทศ กัมพูชา เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม  นักศึกษาต่างประเทศเหล่านี้จะเข้าศึกษาร่วมกับนักศึกษาไทยที่ผ่านการสอบคัดเลือกอีก 33 คน เพื่อศึกษาในระดับปริญญาตรี 4 ปี หลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต (Bachelor of Science Degree) สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม (Farm Technology Management) และ สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร (Food Processing Technology Management)

 

นายสุขสันต์ เจียมใจสว่างฤกษ์ ประธานคณะผู้บริหารธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม และกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทได้ให้ความสำคัญกับการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่สามารถปฎิบัติงานได้ทันทีที่สำเร็จการศึกษา โดยนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จะได้รับโอกาสเรียนภาคทฤษฏีที่ PIM แล้วเข้าฝึกงานจริงในฟาร์มและโรงงานแปรรูปอาหารระดับโลกของ ซีพีเอฟ ทำให้บัณฑิตมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในระดับมืออาชีพได้อย่างแท้จริง บุคลากรรุ่นใหม่เหล่านี้พร้อมรองรับการเติบโตของธุรกิจ ซีพีเอฟ ทั้งในประเทศไทยและประเทศที่ ซีพีเอฟ ไปลงทุน

 

“การพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญแบบมืออาชีพ เป็นนโยบายสำคัญที่ ซีพีเอฟ ดำเนินการภายใต้ปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน คือ เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและประเทศที่ ซีพีเอฟ เข้าไปลงทุน เป็นประโยชน์ต่อประชาชนของทุกประเทศ และเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ ในลำดับสุดท้าย เป็นค่านิยมที่ ซีพีเอฟ ใช้ในการพัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน” นายสุขสันต์ กล่าว

 

นายสุขสันต์ กล่าวย้ำอีกว่า นักศึกษาต่างชาติที่ได้รับทุน ซีพีเอฟ ทุกคน เมื่อสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตแล้ว จะกลับไปทำงานให้กับธุรกิจของ ซีพีเอฟ ในประเทศบ้านเกิดของตนเอง จะนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่เล่าเรียนในประเทศไทยที่เป็น Headquarter ของ ซีพีเอฟ กลับไปพัฒนาประเทศของตนเองได้ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่วนบัณฑิตชาวไทย สามารถปฏิบัติงานในประเทศไทย หรือไปปฏิบัติงานในประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลก

 

นายสุขวัฒน์ ด่านเสริมสุข ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจอาหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) ซีพีเอฟ กล่าวว่า ความสำเร็จของบริษัทฯ ทางด้านฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ไปสู่การผลิตอาหารคุณภาพ มีพื้นฐานมาจากปฏิบัติการที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง เรามุ่งสร้างนวัตกรรมฟาร์มเลี้ยงสัตว์และนวัตกรรมการแปรรูปอาหาร ที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยที่แข่งขันได้ในระดับโลก ดังนั้น นักศึกษาทุกคนทั้งไทยและต่างประเทศ ที่มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ระบบปฏิบัติการแบบครบวงจรของ ซีพีเอฟ เมื่อสำเร็จเป็นบัณฑิตแล้ว จะมีส่วนเข้าร่วมพัฒนาระบบการเลี้ยงสัตว์ที่เป็นเลิศ และระบบการแปรรูปอาหารที่เป็นเลิศ จะช่วยยกระดับการผลิตอาหารของ ซีพีเอฟ ไปสู่วิสัยทัศน์ “ครัวของโลก” ได้  บัณฑิตทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศทุกคนที่สำเร็จการศึกษา จะนำองค์ความรู้และประสบการณ์จริงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในประเทศของตนเอง อันจะนำไปสู่การเติบโตและความก้าวหน้าของธุรกิจอาหารของ ซีพีเอฟ ไปทั่วโลก

 

นายสุขวัฒน์ ได้กล่าวอย่างมั่นใจว่า “บุคลากรถือเป็นรากฐานและหัวใจสำคัญของการสร้างความความสำเร็จทางธุรกิจ บุคลากรของ ซีพีเอฟ ต้องสามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคม โดยต้องสามารถสร้างเมนูอาหารใหม่ๆ ที่มีรสชาติและโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับคนทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็ก คนหนุ่มคนสาว ไปจนถึงผู้สูงวัย การที่นักศึกษาของคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้รับทุนการศึกษาทุกคน ได้รับการเรียนการสอนจากมืออาชีพของ ซีพีเอฟ ในการฝึกงานในฟาร์มและการฝึกงานโรงงานแปรรูปอาหารของบริษัทฯ จะทำให้บัณฑิตสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อสร้างนวัตกรรมอาหาร และคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ให้ตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของประชากรทั่วโลกได้ รวมทั้งยกระดับปฏิบัติการของ ซีพีเอฟ ให้เป็น ซีพี 4.0 เพื่อตอบสนองนโยบายประทศไทย 4.0 ได้” นายสุขวัฒน์ กล่าว

 

ดร.ถิรนันท์ ศรีกัญชัย คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร PIM กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Work Based Education ที่มีการเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียนครั้งละ 3 เดือน สลับกับฝึกงานในสถานประกอบการจริงครั้งละ 3 เดือน สลับไปมาตลอดหลักสูตร 4 ปี ทำให้มีอัตราส่วนการเรียนภาคทฤษฎี 45% และมีการเรียนภาคปฏิบัติในฟาร์มเลี้ยงสัตว์มาตรฐานโลก และในโรงงานแปรรูปอาหารมาตรฐานโลกอีก 55%  ทำให้บัณฑิต พร้อมที่จะปฏิบัติงานในฟาร์มและโรงงานแปรรูปอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพทันทีที่สำเร็จการศึกษา ตามวิสัยทัศน์ “การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง” ของ PIM ซึ่งเป็น Corporate University หรือมหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจแห่งแรกของประเทศไทย ได้สร้างบรรทัดฐานและมาตรฐานใหม่ของการศึกษา ที่จะผสมผสานการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในอัตราส่วนใกล้เคียงกัน จะสามารถผลิตบัณฑิตชาวไทยให้พร้อมพัฒนาประเทศไทยไปสู่ “ประเทศที่พัฒนาแล้ว” และผลิตบัณฑิตชาวต่างประเทศให้กลับไปพัฒนาและยกระดับประเทศของตนเอง ให้มีศักยภาพการแข่งขันไปสู่ระดับโลกต่อไป

 

หลักสูตรสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม และสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร ได้รับการออกแบบจากผู้บริหารมืออาชีพจาก ซีพีเอฟ กว่า 100 คน โดยออกแบบหลักสูตรร่วมกับคณะกรรมการของ PIM ทำให้เนื้อหาหลักสูตร มีความสอดคล้องกับกระบวนการเลี้ยงสัตว์จริงในฟาร์มอุตสาหกรรม และสอดคล้องกับกระบวนการแปรรูปอาหารจริงในโรงงานแปรรูปอาหารที่ทันสมัยระดับโลก

 

“คณะอุตสาหกรรมเกษตร ได้รับความอนุเคราะห์จากมืออาชีพ ซีพีเอฟ มากกว่า 100 คน มาช่วยเป็นอาจารย์พิเศษสอนเป็นรายวิชา โดยการนำประสบการณ์จริงมาสอนนักศึกษาให้มีพื้นฐานความรู้แบบมืออาชีพ และที่โดดเด่นที่สุดก็คือ การที่นักศึกษาได้มีโอกาสเข้าฝึกปฏิบัติงานจริง ในฟาร์มและโรงงานแปรรูปอาหารระดับโลกของ ซีพีเอฟ ทำให้ได้สัมผัสงานจริง แก้ปัญหาจริง ในสภาพแวดล้อมการทำงานจริง จึงทำให้มั่นใจได้ว่า “บัณฑิตคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จะสามารถปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพทันทีที่สำเร็จการศึกษา” ดร.ถิรนันท์ กล่าว

กิจกรรมอื่น ๆ
กรุงเทพโปรดิ๊วส และ อีอาร์เอ็ม-สยาม ร่วมยกระดับมาตรฐานจัดซื้อสินค้าเกษตรสู่ระดับสากล ไม่รุกป่า ไม่เผา ยึดหลักสิทธิมนุษยชน พร้อมรับกฎระเบียบการค้าโลก
01 ก.ค. 2567
กรุงเทพโปรดิ๊วส และ อีอาร์เอ็ม-สยาม ร่วมยกระดับมาตรฐานจัดซื้อสินค้าเกษตรสู่ระดับสากล ไม่รุกป่า ไม่เผา ยึดหลักสิทธิมนุษยชน พร้อมรับกฎระเบียบการค้าโลก
บังกี้ และ ซีพีเอฟ รับมอบกากถั่วเหลืองปลอดรุกป่าจากบราซิล "ตู้แรก"  ย้ำผู้นำความโปร่งใสระบบตรวจสอบย้อนกลับด้วยบล็อกเชน
10 มิ.ย. 2567
บังกี้ และ ซีพีเอฟ รับมอบกากถั่วเหลืองปลอดรุกป่าจากบราซิล "ตู้แรก" ย้ำผู้นำความโปร่งใสระบบตรวจสอบย้อนกลับด้วยบล็อกเชน
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นผลิตอาหารปลอดภัย-ร่วมคืนสมดุลธรรมชาติ
05 มิ.ย. 2567
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นผลิตอาหารปลอดภัย-ร่วมคืนสมดุลธรรมชาติ
ซีพีเอฟ เดินหน้าส่งเสริมโรงเรียน-ชุมชน บริหารจัดการขยะยั่งยืน
17 พ.ค. 2567
ซีพีเอฟ เดินหน้าส่งเสริมโรงเรียน-ชุมชน บริหารจัดการขยะยั่งยืน
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x