เจริญโภคภัณฑ์อาหาร สาขาอังกฤษ ออกรายงานชี้แจงกรณีสื่อเมืองผู้ดี กล่าวหาบริษัทใช้แรงงานทาส ดังนี้
ปัญหา
- ซีพีเอฟเป็นผู้ซื้อปลาป่นรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในประเทศไทย
- ปลาป่นเป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดการวิพากษ์เพราะมีโอกาสเป็นผลพวงจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU) การทำประมงผิดกฎหมายนี้นำไปสู่ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมร้ายแรงหลายอย่างรวมถึงประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนโจมตี
- บทความเมื่อวานนี้ (11 มิถุนายน 2557) เป็นบทความล่าสุดในรายงานของหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน (The Guardian) ซึ่งเปิดโปงการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั่วทั้งอุตสาหกรรมในห่วงโซอุปทานอาหารทะเลของประเทศไทย ซีพีเอฟถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง
- หลังจากล็อบบี้และไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลไทย หนังสือพิมพ์ได้หันมากดดันแบรนด์และธุรกิจใหญ่ๆ ของโลกเพื่อผลักดันให้ปรับปรุงสถานการณ์ทันที
ท่าทีและการดำเนินการของซีพี
การดำเนินการทันที
- ซีพีเอฟเป็นตัวแทนเพียงรายเดียวในอุตสาหกรรมนี้ที่พร้อมจะเผชิญหน้ากับสื่อและตอบคำถามสื่อ
- โดยพื้นฐานแล้ว ซีพีเอฟเชื่อว่าแต่ละคนที่ทำงานให้ซีพีเอฟ ทำงานกับซีพีเอฟในฐานะผู้ค้า หรือผ่านส่วนใดของห่วงโซอุปทานของซีพีเอฟ ตั้งแต่โรงงานไปจนถึงเรือประมง สมควรต้องได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมและด้วยเกียรติภูมิทุกขณะเป็นอย่างน้อย
- ในเรื่องนี้ ซีพีเอฟจึงอยู่ระหว่างการตรวจสอบปฏิบัติการทั้งหมดของบริษัทเพื่อ
- ประนามการใช้แรงงานทาสตลอดแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทานของเรา
- นำระบบตรวจสอบอิสระแบบสุ่ม (spot check) ที่ได้รับการประสานงานมาใช้เพื่อให้มั่นใจว่าห่วงโซ่อุปทานของเราไม่มีและยังคงไม่มีการใช้แรงงานทาส
การดำเนินการระยะยาว
ในฐานะผู้ซื้อปลาป่นรายใหญ่รายหนึ่งในประเทศไทยและผู้นำการผลิตของภูมิภาค ซีพีเอฟมีพันธะสัญญาที่จะ
ความเข้าใจเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานปลาป่นในขณะนี้ของเรา
- ซีพีเอฟใช้ปลาป่นเป็นส่วนประกอบในจำนวนไม่มาก (ประมาณ 10% ของส่วนประกอบ) ในการผลิตอาหารเลี้ยงกุ้ง เรามีโรงผลิตอาหารสัตว์น้ำ 5 แห่งในประเทศไทย ซึ่งทุกโรงใช้ปลาป่นในการผลิตอาหารปลา (โรงงานบ้านบึง มหาชัย หนองแค บ้านพรุ น้ำน้อย)
- โรงงานผลิตอาหารสัตว์แต่ละแห่งของเราได้รับการรับรองมาตรฐานแนวปฏิบัติในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Best Aquaculture Practice) http://www.gaalliance.org/
- ปัจจุบัน บริษัทซื้อปลาป่นที่จำเป็นสำหรับการผลิตอาหารเลี้ยงปลาจากโรงงานแปรรูปปลาป่นอิสระ 55 แห่ง ซึ่ง 40 แห่งจากทั้งหมด ปฏิบัติตามมาตรฐานรับรองการไม่ทำประมงผิดกฎหมาย (non-IUU certification scheme) ของกรมประมงเต็มรูปแบบ
โรงงานแปรรูปผลิตปลาป่นอย่างไร
- โรงงานปลาป่นอิสระที่เราซื้อปลาป่นแปรรูปปลาป่นจากผลพลอยได้ (by-product) หรือปลาที่เหลือจากการจับ (by-catch)
- ผลพลอยได้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการตัดแต่งทูน่าและปูอัดและทั้งหมดได้รับการรับรองว่าได้จากการไม่ทำประมงผิดกฎหมาย ผลพลอยได้จากทูน่าส่วนใหญ่มาจากมหาสมุทรแปซิฟิคและจากเรือประมงที่มีผู้สังเกตการณ์อิสระประจำภูมิภาคบนเรือเพื่อรับรองความถูกต้องของวิธีจับสัตว์น้ำ ผู้สังเกตการณ์อิสระนี้มาจากคณะกรรมาธิการการประมงแปซิฟิคตะวันตกและแปซิฟิคกลาง (WCPFC) http://www.wcpfc.int/
- ปลาที่เหลือจากการจับ หรือที่บางครั้งเรียกว่า “ปลาเป็ด” จะมาจากน่านน้ำนอกประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ (อินโดนีเซีย) และเป็นแค่เสี้ยวหนึ่งของสัตว์น้ำที่เรือจับได้โดยเป็นสิ่งที่ขายไม่ได้อย่างสิ้นเชิงไม่ว่าในตลาดใด ปกติแล้ว ปลาที่เหลือจากการจับจะถูกแช่แข็งในเรือขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “เรือแม่” ซึ่งจะออกเดินทะเลเป็นเวลาหลายๆ เดือนในแต่ละครั้ง เรือขนส่งลำเล็กจะไปรับบล็อกปลาแช่แข็งจากเรือใหญ่นี้เพื่อนำมาขายต่อที่ท่าเรือประมงของไทย
ปลาที่เหลือจากการจับและเรือแม่เป็นประเด็นที่เดอะการ์เดียนยกขึ้นมาโจมตี
- ขณะนี้ มีแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายประมาณ 200,000 ราย ที่ทำงานในอุตสาหกรรมประมงของไทย หลายคนทำงานบน “เรือแม่” มีการกล่าวหาว่าบางราย (16% ตามรายงานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ) ถูกเอาเปรียบจาก “หัวหน้าแก๊งค์” และตัวแทนเพียงเพราะเรือพวกนี้ต้องอาศัยแรงงานประเภทนี้ ชาวพม่าและเขมรมักเป็นเหยื่อที่หาได้ง่ายของนายจ้างผู้เอารัดเอาเปรียบที่สามารถจัดหาแรงงานให้ได้ทันที และเรือเหล่านี้ชักธงไทยไม่ทางใดทางหนึ่ง
ซีพีเอฟทำอะไรเพื่อแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายจากปลาที่เหลือจับ รวมทั้งกรณีการละเมิดสิทธิมนุษย์ชน/ใช้แรงงานผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องใน “เรือแม่”
โครงการ “ทำประมงในอ่าวไทยอย่างยั่งยืน” ของซีพีเอฟเปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2013 เพื่อคุ้มครองอนาคตของน่านน้ำของประเทศไทยและเพื่อให้ชุมชนชาวประมงสามารถทำมาหากินได้ถึงรุ่นลูกหลาน
โครงการของซีพีเอฟนี้ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจของการประมงผิดกฎหมาย ซึ่งการจัดการปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนบนเรือประมงไทยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้เท่านั้น
ขณะนี้ เรากำลังร่วมมือกับหุ้นส่วน ผู้มีส่วนได้เสียรายสำคัญและองค์กรพัฒนาเอกชน ทั่วโลกที่มองโลกด้วยหลักการและเหตุผล เพื่อช่วยขับเคลื่อนโครงการนี้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังคงซับซ้อนมากและจำเป็นต้องทำทีละขั้นตอน
สรุปกิจกรรมหลัก ๆ จนถึงขณะนี้
แผน 10 ประการของซีพีเอฟ
เราสามารถบรรลุเป้าหมายแผน 10 ประการ – มีหลายประเด็นในแผนที่จะส่งผลต่อสังคม อาทิ การกล่าวหาว่าใช้แรงงานทาส ตามที่หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดี้ยนไฮไลท์ สิ่งที่เราทำคือใช้คู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ที่ซื้อวัตถุดิบจากผลพลอยได้ (by-product) ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ปัจจุบัน เราทำได้แล้ว 42% และเป้าหมายของเราคือ 70% ภายในปี 2016 ซึ่งขณะที่เรากำลังเพิ่มสัดส่วนนี้ การพึ่งปลาที่เหลือจากการจับของเราก็ลดลงเป็นจำนวนมหาศาล ผู้ค้าปลาป่นรายใหญ่ที่สุดของเรา ซึ่งก็คือ คิงฟิชเชอร์ (Kingfisher) ใช้ผลพลอยได้จากทูน่าที่ได้จากมหาสมุทรแปซิฟิคและเป็นบริษัทปลาป่นรายแรกที่ได้รับมาตรฐานรับรองการผลิตที่ดี (GMP) และการเป็นผู้ค้าที่รับผิดชอบ (responsible supply)
การรับรองภายใต้มาตรฐานการไม่ทำประมงผิดกฎหมายของรัฐบาลไทย
ขณะนี้ คู่ค้า 40 จากทั้งหมด 55 รายของเราได้รับการรับรองตามมาตรฐานรัฐบาลไทยว่าด้วยการไม่ทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้โรงงานแปรรูปต้องยื่นเอกสารทั้งหมด รวมถึงเอกสารการซื้อสัตว์น้ำที่จับได้ หนังสือรับรองการจับสัตว์น้ำ คำแถลงของกัปตัน และหนังสือรับรองการทำประมง ซึ่งทั้งหมดคิดเป็น 73% ของคู่ค้าของเราและเราตั้งเป้าว่าจะทำให้ได้ 100%
ซีพีเอฟจ่ายค่าส่วนเพิ่มให้กับคู่ค้าที่ไม่ทำประมงผิดกฎหมาย (supplier premium for non-IUU)
ขั้นตอนหนึ่งที่ทำได้ทันทีเพื่อสนับสนุนให้ผู้ค้าปลาป่นของเราทุกรายเข้าร่วมในโครงการนี้ คือเราเป็นผู้ผลิตรายเดียวที่จ่ายค่าส่วนเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองเต็มรูปแบบว่าไม่ได้มาจากการทำประมงผิดกฎหมายแก่คู่ค้า ซึ่งเมื่อสิ้นสุดปี 2013 ซีพีเอฟจ่ายค่าส่วนเพิ่มไปแล้วอีก 48.2 ล้านบาท
การรับรองห่วงโซ่อุปทานอิสระผ่านทาง Chain of Custody
ขั้นตอนที่ 2 คือขณะนี้เรากำลังทำงานกับ IFFO ในโครงการผู้ปรับปรุง IFFO RS (IFFO RS Improvers Program) http://www.iffo.net/node/493 ซึ่งเป็นโครงการตรวจสอบอิสระเพื่อสนับสนุนให้คู่ค้าทุกรายของเรานำกลไกที่ปรับปรุงการทำงานของตนมาใช้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ขั้นตอนที่ต้องทำก่อนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการผู้ปรับปรุง IFFO RS อย่างเป็นทางการคือคู่ค้าต้องได้รับมาตรฐานการรับรองการผลิตที่ดี (GMP) และการเป็นคู่ค้าที่รับผิดชอบ www.gmpplus.org ก่อน
ในเดือนนี้ โรงงานบ้านบึงของซีพีเอฟจะเป็นโรงงานอาหารสัตว์แห่งแรกในเอเชียที่จะได้รับการรับรอง IFFO RS CoC (Chain of Custody) ผ่านคู่ค้าปลาป่นรายหนึ่งของเรา และภายใน 3 ปี โรงงานแห่งนี้ตั้งเป้าว่าจะใช้ปลาป่น 100% จากคู่ค้าผู้ได้รับการรับรองมาตรฐาน IFFO RS ตามพันธะสัญญาที่เราทำไว้ในแผน 10 ประการของเรา
การทำงานกับรัฐบาลไทย
เราเป็นผู้ผลิตรายใหญ่รายเดียวในเอเชียที่ทำงานกับรัฐบาลไทย (กรมประมง) เพื่อช่วยผลักดันให้เกิดการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายประมง โดยได้มีการประชุมอย่างเป็นทางการกับหน่วยงานรัฐตลอดปี 2013 และในไตรมาสแรกของปี 2014 ขณะนี้ กฎหมายใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา
การผลักดันแผนปรับปรุงการทำประมง – แถบอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ผู้แปรรูปอาหารทะเลไทยรายสำคัญ 8 ราย*ลงนามในบันทึกเพื่อความเข้าใจ (MOU) (เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2014) พร้อมโครงร่างแผนที่นำทางเพื่อการพัฒนาการประมงไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งงานนี้จะมีการนำประเด็นสังคมว่าด้วยการใช้แรงงาน “ทาส” ที่ถูกกล่าวหามาแก้ไขด้วย ขณะนี้ ผู้แปรรูปกำลังจัดทำแผนปรับปรุงการทำประมง (Fishery Improvement Plan – FIP) สำหรับอ่าวไทยและทะเลอันดามัน แต่จำเป็นต้องมีเงินทุน c$500,000 ดอลลาร์เพื่อว่าจ้าง Sustainable Fisheries Partnership (SFP) http://www/sustainablefish.org และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) www.wwf.or.th/en/ ซึ่งมีทั้งทักษะและความเชี่ยวชาญในการทำการศึกษา ซีพีเอฟอยู่ระหว่างการระดมทุนก้อนแรก
*สมาคมอาหารสัตว์ไทย สมาคมประมงแห่งชาติ สมาคมประมงไทยต่างประเทศ สมาคมผู้ผลิตปลาป่นประจำประเทศไทย สมาคมอาหารแช่แข็งไทย สมาคมกุ้งไทย สมาคมอุตสาหกรรมปลาทูน่าไทย และสมาคมผู้แปรรูปอาหารไทย
การที่บริษัทเข้าไปเกี่ยวข้องกับหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน
หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนติดต่อบริษัทเพื่อสอบถามแผนความยั่งยืนโดยทั่วไปของเรา ซึ่งบริษัทตัดสินใจจะสื่อสารกับหนังสือพิมพ์ ด้วยเข้าใจว่าในฐานะเป็นหนังสือพิมพ์ที่รับผิดชอบ บริษัทหวังว่าเดอะการ์เดียนจะช่วยสร้างความตระหนักรู้ที่จำเป็นในงานที่บริษัทกำลังทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับแผนปรับปรุงการทำประมงที่ทั้ง SFP และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล นำเสนอ
ระหว่างการติดต่อสื่อสาร บริษัทส่งคำตอบให้กับคำถามต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์ รวมทั้งสถิติการส่งออกมหภาคและรายละเอียดการกำกับดูแลห่วงโซ่อาหารในขณะนี้ของเรา ข้อมูลคู่ค้าปลาป่นและความคืบหน้าที่ดีในการควบคุมการจัดซื้อปลาป่นของเราให้เข้มงวดขึ้น หนึ่งในตัวอย่างคืองานที่เรากำลังทำกับ IFFO เพื่อผลักดัน “โครงการ IFFO RS Improvers Chain of Custody”
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าหนังสือพิมพ์ได้ตัดสินใจไปแล้วว่าจะเจาะประเด็นแรงงานทาสเพียงประเด็นเดียวโดดๆ โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเรื่องนี้เกี่ยวโยงกับแผนปรับปรุงการทำประมงโดยรวม
หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดี้ยนสามารถช่วยได้ด้วยการเขียนข่าวโดยมีบริบทผูกโยงกับงานที่ซีพีเอฟกำลังทำ แต่หากหนังสือพิมพ์เลือกที่จะแค่ตั้งเป้าไปที่ผู้ค้าปลีกที่ถูกกล่าวหาว่าใช้แรงงานทาสอย่างที่กำลังทำอยู่ งานของเราก็จะยิ่งยากขึ้น เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของทั้งอุตสาหกรรม
ซีพีเอฟมีทางเลือก เราสามารถเลือกที่จะไม่ใช้ปลาป่นอีกต่อไป ทั้งนี้ เราได้พัฒนาโปรตีนซึ่งสามารถนำมาใช้แทนปลาป่น และเรามีพันธะสัญญาที่จะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จภายในปี 2021 หากจำเป็น (แผน 10 ประการของซีพีเอฟ)
หรือเราสามารถเลือกที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไปและประพฤติตัวด้วยความรับผิดชอบด้วยการใช้พลังและศักยภาพของเราเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าเดิม
สิ่งที่เราทำกำลังคืบหน้าไปด้วยดี แต่ขณะนี้เรายืนอยู่บนจุดหักเห เราสามารถเลือกที่จะไม่ทำอะไรเลยและเฝ้าดูปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมพวกนี้ทำลายน่านน้ำรอบประเทศไทยรวมทั้งอุตสาหกรรมประมงในอีกหลายรุ่นข้างหน้า หรือไม่เราสามารถช่วยผลักดันแผนปรับปรุงการทำประมงที่ SFP และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล นำเสนอ
นอกเหนือจากที่ซีพีเอฟได้ออกเงินสนับสนุนไปแล้ว ขณะนี้ เราอยู่ระหว่างการพัฒนาแผนเพื่อระดมทุน ในการนำเงินไปใช้ในการจัดทำแผนและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้เพื่อความยั่งยืน