เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ทำความรู้จัก…“แพนกาเซียสดอร์รี่” ปลาดีมีคุณค่าทางโภชนะ โดย วงศ์อร อร่ามกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านประมง
19 ม.ค. 2558
ทำความรู้จัก…“แพนกาเซียสดอร์รี่” ปลาดีมีคุณค่าทางโภชนะ โดย วงศ์อร อร่ามกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านประมง

ทำความรู้จัก...“แพนกาเซียสดอร์รี่” ปลาดีมีคุณค่าทางโภชนะ
โดย วงศ์อร อร่ามกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านประมง

     ช่วงนี้ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ ปลาดอรี่ ปลาสวาย เกิดเป็นกระแสพูดกันให้ได้ยินเข้าหู ทั้งที่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีข้อมูลอยู่พอสมควร จึงขอหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาชี้แจงแถลงไขสักครั้ง และเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันระหว่างสายพันธุ์ปลาที่โดนพาดพิงถึงในที่นี้ จะขออธิบายก่อนว่าเรากำลังพูดกันถึงปลา 2 สายพันธุ์หลัก

     สายพันธุ์แรกคือ ปลาดอรี่ ซึ่งมีชื่อเต็มว่า จอห์น ดอรี่ (John Dory) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zenopsis conchifera อาศัยอยู่ในทะเลลึกของมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นปลาตัวกลมๆ อ้วนๆ เนื้อปลามีสีขาว รสชาติอร่อย และมีการนำเข้ามาขายในประเทศไทยมานานแล้ว เเต่ข้อเสียก็คือราคาเเพงมาก

     สายพันธุ์ที่สองคือ ปลาในกลุ่มแพนกาเซียสหรือปลาสวาย ซึ่งปลาในตระกูลนี้มีหลายชนิด เช่น ปลาบึก ปลาคัง ปลาเทโพ เป็นต้น สำหรับสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับปลาตระกูลแพนกาเซียสที่มีการพูดถึงกันอยู่ขณะนี้คือ ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Pangasius Hypophthalmus” มีลักษณะเนื้อสีขาว รสชาติอร่อยใกล้เคียงกับปลาจอห์นดอรี่ แต่ราคาถูกกว่า จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อดอร์รี่ อย่างติดปากมาเนิ่นนาน

     ประเทศไทยมีการนำเข้าปลากลุ่มแพนกาเซียสดอร์รี่นี้จากประเทศเวียดนามเป็นส่วนใหญ่ โดยที่เวียดนามนั้นมีปลาแพนกาเซียส 2 ชนิดหลักๆคือ BASA และ TRA เป็นเหตุให้เกิดความสับสนเรียกปลาชนิดนี้กันไปหลายชื่อ เช่น ปลาบาซาบ้าง ปลาเผาะบ้าง ดังนั้น กลุ่มผู้นำเข้าจึงต้องการสร้างความเข้าใจให้ถูกต้อง และเริ่มมีการพูดคุยกันถึงชื่อทางการค้าที่จะใช้ตรงกัน

“แพนกาเซียสดอร์รี่” เป็นชื่อสากล ขณะที่ “สวาย” เป็นชื่อท้องถิ่น

แม้ว่าผู้บริโภคคนไทยส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าปลาแพนกาเซียสดอรี่คือปลาสวายสายพันธุ์หนึ่งก็ตาม แต่ก็ยังมีผู้บริโภคอีกส่วนหนึ่งยังสับสนระหว่าง ปลาจอห์นดอรี่กับปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ ผู้นำเข้าและผู้ค้าเองก็พยายามที่จะทำความเข้าใจกับผู้บริโภคให้ถูกต้อง จึงมีการระบุชื่อสากลอย่างแพนกาเซียสดอร์รี่ไว้ เพื่อให้สามารถเข้าใจตรงกันได้ทั่วโลก ขณะที่คำว่า สวาย หรือปลาสวาย เป็นชื่อท้องถิ่นที่ใช้กันเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น 
ในที่สุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ก็ได้ออกหนังสือเรื่องแนวทางการแสดงฉลากเนื้อปลาสวายหรือเนื้อปลาในตระกูลแพนกาเซียสเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 เพื่อเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติร่วมกันสำหรับผู้ค้าและสร้างความเข้าใจกับผู้บริโภค โดยระบุให้ปรับแก้ไขการแสดงฉลากให้ถูกต้อง ภายในวันที่ 1 มกราคม 2555 ความว่า 
1. หากผู้ใดมีความประสงค์จะนำเข้าปลาสวายที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius Hypophthalmus เพื่อจำหน่าย ฉลากจะต้องแสดงชื่อภาษาไทยกำกับว่า ปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ 
2. หากผู้ใดมีความประสงค์จะนำเข้าปลาโมง หรือปลาเผาะ หรือปลาบึก ซึ่งเป็นปลาในตระกูล Pangasius เพื่อจำหน่าย ให้แสดงชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius spp ฉลากจะต้องแสดงชื่อภาษาไทยกำกับว่า ปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่  
จากประกาศของ อย.ดังกล่าว ทำให้ต้องมีการระบุคำว่า แพนกาเซียส ลงไปบนฉลาก ซึ่งหมายถึงสายพันธุ์หนึ่งของปลาสวายอย่างชัดเจนอยู่แล้ว และผู้ค้าทุกรายก็ถือปฏิบัติตามคำสั่งของทางราชการอย่างเคร่งครัด

     อย่างไรก็ตาม แม้ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ที่นำเข้าจากเวียดนามและปลาสวายไทยจะจัดเป็นปลาชนิดเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันในด้านคุณภาพเนื้อปลา เนื่องจากวิธีการเลี้ยงและสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงตลอดจนอาหารที่ใช้ ส่งผลให้ลักษณะของเนื้อปลา สีสัน และกลิ่น แตกต่างกัน นอกจากนี้ลักษณะการวางจำหน่ายของปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ก็แตกต่างกับปลาสวายที่ขายกันตามตลาดสดทั่วไปในเมืองไทย

เวียดนามเลี้ยงปลาแพนกาเซียสดอร์รี่อย่างไร ? 
เวียดนามเลี้ยงปลาแพนกาเซียสดอร์รี่เป็นปลาเศรษฐกิจ ส่งออกไปขายทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย มีกระบวนการเลี้ยงการจัดการฟาร์มที่ได้มาตรฐานในฟาร์มระบบปิด และเป็นการเลี้ยงในน้ำสะอาดที่มีน้ำใสไหลผ่านตลอดเวลาอย่างแม่น้ำโขง โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (Mekong Delta) ซึ่งเป็นจุดที่น้ำมีคุณภาพที่ดีมากจากการที่แม่น้ำ 5 สายมาบรรจบกันมีกระแสน้ำไหลแรง สภาพน้ำที่ดีเกิดการไหลเวียนของน้ำอยู่ตลอดเวลาเช่นนี้ เอื้อต่อการเติบโตของปลาแพนกาเซียสดอร์รี่เป็นอย่างดี และแม้ไม่ได้เลี้ยงในจุดแม่น้ำโขงเดลต้า เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาก็จะต้องมีระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 30% เป็นประจำทุกวัน ขณะเดียวกันปลาชนิดนี้ยังกินอาหารเม็ดคุณภาพสูง ไม่ได้กินอะไรที่เป็นของเสียเลย กล้ามเนื้อของปลาจึงมีสีขาว น่ารับประทาน ทั้งยังสามารถเลี้ยงได้อย่างหนาแน่น ซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ในวงกว้าง กลายเป็นส่วนสนับสนุนให้ปลาชนิดนี้กลายเป็นปลาเศรษฐกิจของประเทศเวียดนามได้อย่างไม่ยากเย็น

     ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่จากประเทศเวียดนาม นอกจากจะมีเนื้อสีขาวแล้ว ยังไม่มีกลิ่นคาว เนื้อแน่น ไม่ยุ่ย สะดวกต่อการเลาะก้างออกและแล่เป็นชิ้น ขณะเดียวกันที่เวียดนามก็ยังมีระบบโรงงานตัดแต่งที่ได้มาตรฐาน มีแรงงานฝีมือที่สามารถแล่เนื้อได้อย่างถูกต้อง สวยงาม รวมถึงมีกระบวนการรักษาอุณหภูมิด้วยการแช่แข็ง เราจึงเห็นปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ในลักษณะเนื้อปลาแช่แข็งที่แล่อย่างสะอาด สวยงามวางจำหน่ายอยู่ในแพ็คเกจที่ดูดี 

คุณค่าทางโภชนะที่ไม่ควรมองข้าม
ปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ เป็นปลาเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม ในตระกูลเดียวกับปลาสวาย ปลาคัง ปลาเทโพ และปลาบึก เลี้ยงได้ในน้ำจืด จัดเป็นปลาหนัง ไม่มีเกล็ด เนื้อนุ่ม มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็น (Essential Amino Acids) อย่างครบถ้วน มีกรดไขมันจำเป็นอย่างโอเมก้า -3  วิตามินบี 2 ซึ่งร่างกายต้องใช้ในการเผาผลาญโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต มีวิตามินดีที่กระดูกจำเป็นต้องใช้ในการสะสมแคลเซียม นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ไอโอดีน และแมกนีเซียมด้วย 
  
     จากลักษณะเด่นของปลาแพนกาเซียสดอร์รี่ที่กล่าวมา ทำให้กลายเป็นปลายอดนิยมในการบริโภคชนิดหนึ่ง โดยร้านฟาสต์ฟู้ดดังๆทั่วโลก ที่มีการขาย Fish and Chip หรือ Fish Burger ต่างก็ใช้วัตถุดิบจากปลาชนิดนี้กันแทบทั้งสิ้น

     ล่าสุด ขอคัดลอกข่าวของ ดร.วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง ที่อธิบายถึงปลาดอร๋รี่ผ่านสื่อว่าเป็นการเรียกผิดแบบไทยที่ชอบเรียกอะไรสั้นๆ ปลาดอร์รี่ที่แท้จริงนั้น เป็นปลาทะเลน้ำลึก ส่วนดอร์รี่ที่เรียกกันผิดๆ เป็นปลาน้ำจืด ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangsius Hypophthalmus และผู้นำเข้าใช้ชื่อทางการค้าว่า Pangsius Dory คำว่า Pangsius แปลว่าปลาสวายอยู่แล้ว และมีการเติมคำว่า Dory ลงไป เพื่อให้ความหมายว่าปลาสวายเนื้อสีขาว เพราะมีลักษณะพิเศษ เนื้อไม่เหลืองเหมือนปลาสวายบ้านเรา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและอาหารที่ใช้เลี้ยงต่างกัน เพราะปลาสวายที่เลี้ยงในเวียดนาม บริเวณปากแม่น้ำโขงที่มีกระแสน้ำไหลแรง ปลาต้องออกแรงว่ายน้ำเยอะ ไขมันเลยมีน้อย ประกอบกับการเลี้ยงที่ไม่ให้อาหารที่มีส่วนผสมของข้าวโพดเนื้อปลาจึงไม่เหลืองเท่านั้นเอง...นับเป็นคำอธิบายสั้นๆ ที่สร้างความเข้าใจได้อย่างง่ายดายทีเดียว 

     การจะให้คนไทยได้บริโภคโปรตีนจากเนื้อปลากันอย่างกว้างขวางนั้น ถือเป็นสิ่งที่ดีเพราะปลาเป็นอาหารสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป คนทุกระดับควรจะได้กินโปรตีนเนื้อปลาที่สะอาด ปลอดภัย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของคนในชาติอย่างที่ทราบกัน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นแพนกาเซียสดอร์รี่  สวาย  ช่อน  เทโพ หรือ แซลมอน  ก็ล้วนแต่ดีต่อการบริโภคทั้งนั้น ...วันนี้คุณกินปลาแล้วหรือยัง? ./

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x