เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ทำไมต้องเลี้ยง ปลานิล-ปลาทับทิม ตัวผู้?
20 ต.ค. 2557
ทำไมต้องเลี้ยง ปลานิล-ปลาทับทิม ตัวผู้?

ทำไมต้องเลี้ยง ปลานิล-ปลาทับทิม ตัวผู้ ?

กระแสความสนใจดูแลสุขภาพของผู้บริโภคในปัจจุบันนับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะปลาที่นับเป็นอาหารเมนูแรกๆที่คนรักสุขภาพนึกถึง  เพราะปลาเป็นโปรตีนคุณภาพดี ย่อยง่าย รสชาติอร่อย สามารถประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ส่วนปลาที่ได้รับความนิยมบริโภคมากคงมีชื่อ “ปลานิล-ปลาทับทิม” ติดอยู่ด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย ทำให้ปลาทั้ง 2 ชนิดถูกเลี้ยงอย่างแพร่หลายในประเทศไทยจนกลายเป็น “ปลาเศรษฐกิจ” ของพี่น้องเกษตรกรไทย หากแต่ทั้ง “ปลานิล-ปลาทับทิม” ที่เลี้ยงกันอยู่ทั่วไปนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นปลาตัวผู้ทั้งสิ้น นี่จึงเป็นคำถามของหลายคนว่าเหตุไฉนต้องเลี้ยงตัวผู้เท่านั้น วันนี้จึงหาคำตอบมาให้คลายสงสัย

 

เรื่องนี้ต้องเล่าย้อนไปถึงธรรมชาติของปลานิล และปลาทับทิม ซึ่งเป็นพันธุ์ปลาที่เพาะเลี้ยงง่าย ให้ลูกดก แถมยังเจริญพันธุ์เร็ว เพราะอายุเพียง 3-4 เดือนน้ำหนักแค่ 200 กรัมก็สามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้แล้ว แถมยังผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ซึ่งตั้งแต่ผสมถึงเลี้ยงดูลูกจนโตสามารถหาอาหารเองได้จะใช้เวลา 2-3 เดือนต่อ ยิ่งถ้าหากสภาพแวดล้อมสมบูรณ์มีอาหารเพียงพอและเหมาะสม ในระยะเวลา 1 ปี ปลาตัวเมียจะผสมพันธุ์ได้ถึง 5-6 ครั้ง

 

ที่สำคัญตามธรรมชาติแล้วแม่ปลาเท่านั้นที่ต้องดูแลไข่และลูกปลาวัยอ่อน ด้วยวิธีอมไข่เข้าไว้ในปากตลอดเวลา เป็นเวลาถึง 4-5 วัน แล้วไข่จึงจะเริ่มฟักออกเป็นตัว เมื่อลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆ จะอาศัยอาหารจากถุงอาหารธรรมชาติที่ติดอยู่ตรงท้อง โดยแม่ปลาจะยังคงต้องอมลูกปลาอยู่ต่อไปเพื่อป้องกันอันตรายให้ลูกปลา จนกระทั่งถุงอาหารธรรมชาติของลูกปลายุบหายไปแม้แม่ปลาไม่ต้องอมลูกไว้ในปากเหมือนช่วงแรก แต่แม่ปลาก็ยังคงเฝ้าดูแลลูกต่อไป พฤติกรรมดังกล่าวนี้ ทำให้แม่ปลาไม่สามารถกินอาหารได้เต็มที่ในช่วงดูแลไข่และตัวอ่อน และสารอาหารส่วนใหญ่ก็จำเป็นต้องใช้เพื่อพัฒนารังไข่ตลอดทั้งปี ไม่ได้ถูกใช้เพื่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้สมบูรณ์ ปลาตัวเมียจึงโตช้าและมีขนาดเล็กกว่าปลาตัวผู้ที่ไม่ต้องเลี้ยงลูกทำให้สามารถกินอาหารได้ตลอด การเจริญเติบโตจึงดีกว่านั่นเอง

 

ข้อจำกัดของปลานิล -ปลาทับทิมตัวเมียดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ก่อให้เกิดปัญหาจากการเลี้ยงปลาแบบรวมตัว เพราะทำให้เกิดลูกปลาแน่นบ่อ ที่สำคัญเมื่อเลี้ยงไป 4-5 เดือน ถึงเวลาจับปลาขาย ขนาดปลาก็ไม่สม่ำเสมอ ปลาทั้ง 2 ตัว มีน้ำหนักต่างกันมากถึงครึ่งต่อครึ่ง โดยตัวผู้ที่เลี้ยงในระยะเวลาเท่ากันจะมีน้ำหนักสูงถึง 1,000 กรัม ขณะที่ตัวเมียจะมีน้ำหนักเพียง 500-600 กรัมเท่านั้น ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ตลาดไม่ต้องการ แถมยังมีลูกปลาขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถจับปลาพร้อมกันได้ในคราวเดียว เกษตรกรจำเป็นต้องยืดอายุการเลี้ยงปลาที่เหลือออกไป จึงไม่คุ้มกับการลงทุน

 

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกษตรกรเลือกเฉพาะปลาตัวผู้มาเลี้ยงในเชิงอุตสาหกรรม เพราะทั้งโตเร็วกว่า เนื้อเยอะ ที่สำคัญยังให้ผลตอบแทนสูงกว่าการเลี้ยงปลาตัวเมียด้วย...ทั้งหมดนี้คงทำให้ช่วยคลายความสงสัยว่า เหตุไฉนต้องเลี้ยงเฉพาะปลานิล-ปลาทับทิมตัวผู้ ได้เป็นอย่างดี./

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x