เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
จาก “ปลานิล” สู่ “ปลาทับทิม”
08 พ.ย. 2559
จาก “ปลานิล” สู่ “ปลาทับทิม”
  • “ปลานิล” เป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพในองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หลังจากที่สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ถวายปลานิลแด่พระเจ้าอยู่หัวฯจำนวน 50 ตัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508  และโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา เป็นที่มาของชื่อ ปลานิลจิตรลดา

 

  • ต่อมาทรงพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมง จำนวน 10,000 ตัว เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น เลี้ยงง่าย  โตเร็ว กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่  ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี  กลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่สร้างงานให้คนไทยนับล้าน และเป็นโปรตีนราคาถูกให้พสกนิกรทั่วประเทศของพระองค์ได้บริโภค   

 

  • นอกจากปลานิลสายพันธุ์ทั่วไปแล้ว ยังมีปลานิลอีกสายพันธุ์ที่มีสีแดง ซึ่งปัจจุบัน เกษตรกรโดยเฉพาะในภาคกลางและภาคเหนือ ได้ทำการเพาะเลี้ยงปลานิลควบคู่ไปกับปลานิลสีแดง โดยมีการพบครั้งแรกในราวปี พ.ศ.2511 ณ จังหวัดอุบลราชธานี โดยนักวิชาการประมงของสถานีประมงจังหวัดอุบลราชธานีและเกษตรกรในจังหวัดนั้น ได้ปลานิลแดงปะปนอยู่ในบ่อเลี้ยงปลานิล นักวิชาการประมงประจำสถานีฯ จึงได้ทำการคัดเลือกปลานิลที่มีสีแดงทั้งตัวแยกเพาะเลี้ยงไว้ต่างหากจากปลานิลพันธุ์ปกติ โดยในขณะนั้นยังไม่มีการศึกษาด้านพันธุกรรมของปลานิลชนิดนี้

 

  • ต่อมาในปี พ.ศ.2525 กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ ได้นำลูกปลานิลสีแดงขนาด 2–3 เซนติเมตร จำนวน 1,000 ตัว จากสถานีประมงจังหวัดอุบลราชธานีมาเลี้ยงไว้เพื่อทำการคัดพันธุ์และศึกษาวิจัยด้านพันธุกรรม ภายใต้โครงการ “พันธุกรรมปลา” ในปี พ.ศ.2527 กรมประมงได้ส่งตัวอย่างปลานิลแดงนี้ไปตรวจสอบพันธุ์ ณ มหาวิทยาลัยสเตอร์ริง สหราชอาณาจักรและมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ จากการศึกษาสายพันธุ์โดยการวิเคราะห์ในระดับโปรตีนที่ถูกควบคุมด้วยยีนบางชนิดพบว่า ปลานิลแดงเป็นปลาลูกผสมระหว่างปลานิลกับปลาหมอเทศ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามมกุฏราชกุมารี ได้ทรงพระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า “ปลานิลสีแดง” แต่มักจะเรียกกันว่า “ปลานิลแดง

 

  • ส่วน“ปลาทับทิม” เป็นการพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลโดยภาคเอกชน คือเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยซีพีเอฟที่ทำการพัฒนาสายพันธุ์ปลาตามแนวพระราชดำริด้วยวิธีธรรมชาติ  ไม่ใช่การตัดแต่งพันธุกรรม ด้วยการนำปลานิลแดงมาพัฒนาต่อ โดยผสมข้ามสายพันธุ์กับปลานิลแดงที่มีลักษณะเด่นมากในด้านต่างๆจากหลายประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อิสราเอลและไต้หวัน โดยทำการปรับปรุงสายพันธุ์ทางด้านคุณภาพ ความต้านทานโรค ลักษณะเนื้อและรสชาติให้ดีขึ้นด้วยวิธีตามธรรมชาติ กระทั่งได้ปลาเนื้อพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะภายนอกอันโดดเด่นคือสีของเกล็ดและตัวปลาที่มีสีแดงอมชมพู ดูเป็นมงคล และสามารถเลี้ยงให้เติบโตได้ดีในน้ำที่มีความเค็ม

 

  • เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานนามปลาชนิดใหม่นี้ว่า “ปลาทับทิม” กล่าวได้ว่าปลาทับทิมถือกำเนิดขึ้นจากปลานิลจิตรลดาและเกิดขึ้นจากพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโดยแท้

 

ปัจจุบัน “ปลาทับทิม” มีการเพาะพันธุ์จำหน่ายโดยเกษตรกรและบริษัทต่างๆมากมาย มิใช่เพียงเครือเจริญโภคภัณฑ์ และปลาทับทิมก็ได้รับความนิยมทั้งจากเกษตรกร ผู้ประกอบการร้านอาหาร และผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย กลายเป็นปลาเนื้อเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณภาพสูง เป็นปลาของคนไทยที่สามารถสร้างงานสร้างอาชีพและรายได้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน...สมดังพระราชประสงค์

กิจกรรมอื่น ๆ
'The Foodfellas' คว้ารางวัล 'Technical Partnership Award' จาก Sysco
31 ต.ค. 2567
'The Foodfellas' คว้ารางวัล 'Technical Partnership Award' จาก Sysco
ซีพีเอฟ คว้ารางวัล Southeast Asia Gold MIKE Award 2567 ยกระดับการจัดการองค์ความรู้ สู่นวัตกรรมอาหาร
25 ต.ค. 2567
ซีพีเอฟ คว้ารางวัล Southeast Asia Gold MIKE Award 2567 ยกระดับการจัดการองค์ความรู้ สู่นวัตกรรมอาหาร
16 ต.ค. "วันอาหารโลก" CPF ร่วมส่งเสริมการเข้าถึงอาหาร เพื่อชีวิตและอนาคตที่ดี
16 ต.ค. 2567
16 ต.ค. "วันอาหารโลก" CPF ร่วมส่งเสริมการเข้าถึงอาหาร เพื่อชีวิตและอนาคตที่ดี

Tag:

#Foodsecurity 
รายแรกของไทย ... ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ ได้รับมาตรฐาน Global G.A.P. ระบบความปลอดภัยอาหารสัตว์ สิ่งแวดล้อม สังคมและมีธรรมาภิบาล (ESG)
15 ต.ค. 2567
รายแรกของไทย ... ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ ได้รับมาตรฐาน Global G.A.P. ระบบความปลอดภัยอาหารสัตว์ สิ่งแวดล้อม สังคมและมีธรรมาภิบาล (ESG)
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x