เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ซีพีเอฟ ประสานพลัง 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำ ขับเคลื่อน 5 โครงการเชิงรุกเร่งกำจัดปลาหมอคางดำ
23 ก.ค. 2567
ซีพีเอฟ ประสานพลัง 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำ ขับเคลื่อน 5 โครงการเชิงรุกเร่งกำจัดปลาหมอคางดำ

 

ซีพีเอฟ พร้อมเร่งสนับสนุนการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ ขานรับมาตรการรัฐบาล ขับเคลื่อน 5 โครงการอย่างเร่งด่วน ประสานความร่วมมือกับ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำบูรณาการเชิงรุกในหลายมิติ 
 
วันที่ 23 กรกฎาคม 2567  นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ประกาศความร่วมมือกับคณาจารย์จาก 3 สถาบันการศึกษาชั้นนำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งโรงงานผลิตปลาป่น เพื่อบูรณาการแก้ไขสถานการณ์ของปลาหมอคางดำ

นายประสิทธิ์ เปิดเผยว่า บริษัทตระหนักดีว่า ขณะนี้การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำเป็นความเดือดร้อนของประชาชนในหลายพื้นที่ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับตอนนี้ คือ การร่วมมือและสนับสนุนการจัดการปัญหาเพื่อบรรเทาผลกระทบอย่างเร่งด่วน ในฐานะภาคเอกชน บริษัทสนับสนุนแผนปฏิบัติการ 5 โครงการ ร่วมแก้ไขปัญหานี้ของภาครัฐตามศักยภาพของบริษัท ต้องขอบคุณ ฯพณฯ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่มอบหมายให้ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินหน้ามาตรการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน ประกอบกับ  นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมงที่เข้มแข็งลงมือปฏิบัติการเชิงรุกอย่างเต็มรูปแบบเพื่อลดจำนวนปลาหมอคางดำไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน

“บริษัทพร้อมนำศักยภาพขององค์กรเข้ามาช่วยสนับสนุนการแก้ไขอย่างบูรณาการกับทุกภาคส่วน และลงมือปฏิบัติการเชิงรุกในหลายมิติตามแนวทางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยมีแผนปฏิบัติการเชิงรุก 5 โครงการ” ดังนี้

โครงการที่ 1 : ทำงานร่วมกับกรมประมงสนับสนุนการรับซื้อปลาหมอคางดำจากทุกจังหวัดทั่วประเทศที่มีการระบาด ราคา 15 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 2,000,000 กิโลกรัม นำมาผลิตเป็นปลาป่นเพื่อเร่งกำจัดปลาหมอคางดำออกจากระบบให้มากและเร็วที่สุด โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมา บริษัทได้ร่วมมือกับโรงงานปลาป่นศิริแสงอารำพี จังหวัดสมุทรสาคร รับซื้อปลาหมอคางดำในพื้นที่ไปแล้ว 600,000 กิโลกรัม และยังมีแผนรับซื้ออย่างต่อเนื่อง พร้อมประสานจุดรับซื้อเพิ่มเติม

ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณกรมประมงที่มีมาตรการที่รัดกุม ออกประกาศห้ามการเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเพาะเลี้ยงเพื่อการค้า 

โครงการที่ 2 :  ร่วมสนับสนุนภาครัฐและชุมชน ปล่อยปลาผู้ล่าลงสู่แหล่งน้ำ จำนวน 200,000 ตัว โดยที่ผ่านมา บริษัทมีการส่งมอบปลากะพงขาว จำนวน 45,000 ตัว ให้กับประมงจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และจันทบุรี ทั้งนี้ ขั้นตอนในการปล่อยปลาผู้ล่านั้น เป็นไปตามแนวทางของกรมประมง

โครงการที่ 3 : ร่วมสนับสนุนภาครัฐ ชุมชนและภาคประชาสังคม จัดกิจกรรมจับปลา สนับสนุนอุปกรณ์จับปลาและกำลังคน  ในทุกพื้นที่ที่ประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง อาทิ ที่ผ่านมาบริษัทได้ร่วมกิจกรรม “ลงแขกลงคลอง ทีมแม่กลองปราบหมอคางดำ” ที่จัดขึ้นในจังหวัดสมุทรสงครามแล้ว 4 ครั้ง เป็นต้น และจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในทุกจังหวัดทั่วประเทศที่มีการระบาด

โครงการที่ 4 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาหมอคางดำ  โดยมีสถาบันการศึกษาแสดงความสนใจเพื่อร่วมดำเนินการดังกล่าว ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ศึกษาวิจัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร 

ที่ผ่านมา บริษัทได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาเมนูอาหารจากปลาหมอคางดำ  อาทิ ปลาร้าทรงเครื่อง ผงโรยข้าวญี่ปุ่น และ น้ำพริกปลากรอบ 

โครงการที่ 5 : ร่วมทำวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญในการหาแนวทางควบคุมประชากรปลาหมอคางดำในระยะยาว  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แสดงเจตจำนงร่วมมือกับบริษัทในการบูรณาการเพื่อพัฒนาแนวทางที่จะบรรเทาปัญหาในระยะยาวต่อไป และยินดีที่จะร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศเพิ่มเติม 

นายปรีชา ศิริแสงอารำพี  เจ้าของโรงงานปลาป่นศิริแสงอารำพี จ.สมุทรสาคร กล่าวว่า ปลาหมอคางดำเป็นปลาที่มีโปรตีนที่สามารถนำมาผลิตเป็นปลาป่นคุณภาพ โรงงานยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาปัญหานี้ โดยได้ประสานงานกับซีพีเอฟที่ร่วมปฏิบัติการกับกรมประมง และได้รับซื้อแล้วตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาเป็นจำนวน 600,000 กิโลกรัม โดยยังคงเปิดรับซื้ออย่างต่อเนื่อง 

“ตั้งแต่กระทรวงเกษตรฯ เริ่มการจับปลาหมอคางดำใน จ.สมุทรสาคร ชาวประมงที่เริ่มออกปลาตั้งแต่วันแรก บอกกับท่านรัฐมนตรีเองว่า วันนี้ปลาหายไป 80% แล้ว แต่เรายังต้องทำต่อเนื่อง ซึ่งรัฐก็มีมาตรการในการกำกับไม่ให้เกิดการลักลอบเลี้ยงและนำมาจำหน่าย การกำจัดด้วยวิธีการนี้จึงมาถูกทางและช่วยลดปริมาณปลาได้มาก การที่ทุกภาคส่วนมาช่วยกันเช่นนี้ถือว่าดีมาก” นายปรีชากล่าว

ด้านนักวิชาการจากสถาบันการศึกษา ผศ.ดร.สิทธิชัย ฮะทะโชติ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และพันธกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีความเชี่ยวชาญโดยตรงกับการวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการควบคุมปลา รวมถึงการพัฒนาแปรรูป เพื่อเร่งนำปลาออกจากแหล่งน้ำได้อย่างรวดเร็วและการปล่อยปลากะพงในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งฃ มหาวิทยาลัยได้มีการทำการวิจัยปลาชนิดนี้มาหลายปี และคิดว่างานวิจัยจะช่วยเติมเต็มภารกิจของกรมประมงได้ ปลามีโปรตีนที่ดี สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารเพื่อการบริโภคได้ โดยมหาวิทยาลัยจะนำปลาหมอคางดำมาทำปลาร้า โดยใช้จุลินทรีย์ที่ช่วยย่นระยะเวลาการหมักปลาร้าให้สั้นลง ทั้งยังสามารถทำปลาป่นใช้ผลิตอาหารสัตว์ได้ รวมถึงการวิจัยและพัฒนาหาแนวทางอื่นๆ ในการจัดการควบคุมปลาหมอคางดำได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

สำหรับความกังวลว่าจะมีการเพาะเลี้ยงปลาเพื่อนำมาขายในโครงการรับซื้อนั้น ข้อเท็จจริง ระยะการเลี้ยงปลาหมอคางดำใช้เวลาเลี้ยงนานเป็นปี แต่มีเนื้อน้อย ต้นทุนการผลิตสูงกว่าราคาที่รัฐบาลรับซื้อ ที่สำคัญการนำมาเป็นปลาป่นสำหรับอาหารสัตว์ยังช่วยลดต้นทุนการนำเข้าปลาป่นจากต่างประเทศ 
ผศ.ดร นันทิภา พันธุ์สวัสดิ์ ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ควรสร้างการรับรู้การบริโภคปลาชนิดนี้ให้มากขึ้น ภาควิชาได้ศึกษานำปลาหมอคางดำมาใช้ประโยชน์ทั้งในระดับครัวเรือน อุตสาหกรรม และร้านอาหาร และปรุงเป็นอาหารหลากหลายเมนู
อาทิ ขนมจีนน้ำยา  ในช่วงนี้ผู้คนสนใจชิมปลาหมอคางดำ จึงควรมีการเชื่อมโยงสู่การแปรรูปตัดแต่งเนื้อปลาและทำ “เนื้อปลาแช่แข็ง” เพื่อให้สามารถขนส่งแก่ผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น หากมีคนที่พร้อมแปรรูปหรือตัดแต่งปลาจะช่วยปลาชนิดนี้เข้าถึงผู้บริโภคในภูมิภาคอื่นๆได้ง่ายขึ้น และการทำเป็นอาหารแปรรูปยังช่วยป้องกันการแพร่กระจายของปลาเข้าสู่พื้นที่อื่นๆ อีกด้วย  

ด้าน ผศ.ดร.วัลย์ลดา กลางนุรักษ์ ผู้ช่วยคณบดี คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นนิมิตหมายอันดีที่ทุกภาคส่วนมาร่วมมือกัน และ คณาจารย์ สจล.มีความยินดีที่จะร่วมมือกำหนดแนวทางเพื่อจัดการและควบคุมการแพร่ระบาดอย่างยั่งยืน โดยเน้นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยร่วมกับวิธีควบคุมทางชีวภาพ เช่น เทคโนโลยี Environmental DNA  ซึ่งเป็นการสำรวจร่องรอย DNA ในธรรมชาติ สำรวจการระบาดได้ตั้งแต่ช่วงต้น ก็สามารถนำปลาผู้ล่าเข้ามาได้ทันการณ์ นอกจากนี้ ยังรวมถึงการนำปลานักล่าท้องถิ่นกลับสู่ระบบนิเวศ ซึ่งเป็นการมุ่งเป้าไปที่การรักษาสมดุลทางธรรมชาติ และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำของไทย ทั้งนี้ ปลาหมอคางดำ ไม่ใช่เอเลี่ยนตัวแรกที่เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งภาคประชาชนสำคัญมากในการตระหนักรู้และช่วยกันแก้ปัญหาตลอดจนรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ  

ผศ.ดร.สรณัฎฐ์ ศิริสวย  ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า ในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ กรมประมงมีการศึกษาเชิงลึกอยู่แล้ว และมีการเตรียมแผนอย่างดี เพื่อนำปลาขนาดใหญ่ออกจากแหล่งน้ำธรรมชาติให้เร็วที่สุด เหลือแต่ปลาหมอคางดำขนาดเล็ก ทั้งการผ่อนปรนใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ เตรียมพร้อมในการปล่อยปลาผู้ล่า วิธีการดังกล่าวช่วยกำจัดวงจรชีวิตของปลาไปเรื่อยๆ   ขณะที่ กรมประมงอยู่ระหว่างทำการวิจัยปลา 4N เพื่อผสมกับปลาปกติ 2N ให้ได้ปลา 3N ซึ่งเป็นหมัน ส่วนกรณีที่เกษตรกรเข้าใจว่าไข่ปลาสามารถอยู่ได้ถึง 2 เดือนในช่วงที่ตากบ่อนั้น แทบเป็นไม่ได้เลย ขอให้ประชาชนทุกคนตระหนักแต่อย่าตระหนก หากพบเจอปลาหมอคางดำที่ไหนให้แจ้งกับกรมประมงทันที ./ 


 

กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ เปิดเวที Feed Sustainovation 2024 เสริมพลังบุคลากรด้วย AI และนวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
20 พ.ย. 2567
ซีพีเอฟ เปิดเวที Feed Sustainovation 2024 เสริมพลังบุคลากรด้วย AI และนวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
เอกอัครราชทูตเดนมาร์ก นำคณะนักธุรกิจชมกระบวนการผลิตอาหารมาตรฐานสากลของซีพีเอฟ
13 พ.ย. 2567
เอกอัครราชทูตเดนมาร์ก นำคณะนักธุรกิจชมกระบวนการผลิตอาหารมาตรฐานสากลของซีพีเอฟ
'The Foodfellas' คว้ารางวัล 'Technical Partnership Award' จาก Sysco
31 ต.ค. 2567
'The Foodfellas' คว้ารางวัล 'Technical Partnership Award' จาก Sysco
ซีพีเอฟ คว้ารางวัล Southeast Asia Gold MIKE Award 2567 ยกระดับการจัดการองค์ความรู้ สู่นวัตกรรมอาหาร
25 ต.ค. 2567
ซีพีเอฟ คว้ารางวัล Southeast Asia Gold MIKE Award 2567 ยกระดับการจัดการองค์ความรู้ สู่นวัตกรรมอาหาร
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x