ซีพีเอฟ ใส่ใจและให้ความสำคัญกับคุณภาพ (food quality) และความปลอดภัย (food safety) ในทุกขั้นตอนของการผลิตอาหารด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ภายใต้มาตรฐานระดับโลก ใส่ใจรับผิดชอบต่อสังคม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่โรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์มไก่พ่อและแม่พันธุ์ โรงฟักไข่ ฟาร์มไก่เนื้อ โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ จนถึงการขนส่งสู่มือผู้บริโภค
โดยบริษัทได้ร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ในการนำมาตรการปฏิบัติที่ดีด้านสวัสดิภาพสัตว์ หรือ Animal Welfare ซึ่งเป็นข้อกำหนดสำหรับการเลี้ยงสัตว์ที่องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organization for Animal Health : OIE) และกฎระเบียบ กฎหมายของสหภาพยุโรป โดยนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมไก่เนื้อมากว่า 28 ปีนับตั้งแต่ปี 2532 จนถึงปัจจุบัน และซีพีเอฟถือเป็นบริษัทแรกนอกเขตประเทศยุโรปที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) สำหรับสัตว์ปีกเนื้อ จากการให้ความสำคัญต่อหลักการเลี้ยงสัตว์ที่มีมาตรฐานสากลเพื่อให้สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยสู่ผู้บริโภค
หลักสวัสดิภาพสัตว์ (Principle of Animal Welfare) คำนึงถึงความเป็นอิสระของสัตว์เลี้ยง 5 ประการ (Five Freedoms of Animals) ได้แก่
1. สัตว์ที่เลี้ยงมีอิสระจากความหิว กระหาย และการให้อาหารที่ไม่ถูกต้อง (Freedom from hungry and thirst)
2. มีอิสระจากความไม่สะดวกสบายอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อม (Freedom from discomfort) มีการระบายอากาศในโรงเรือนที่ดีและไม่เลี้ยงเบียดเสียดหนาแน่น
3. มีอิสระจากความเจ็บปวด การบาดเจ็บ หรือเป็นโรค (Freedom from pain, injury and disease) โดยมีระบบการป้องกันโรคที่ดี การปฎิบัติต่อตัวไก่เป็นไปอย่างนุ่มนวล การใช้อุปกรณ์อย่างเหมาะสม พื้นที่การเลี้ยงที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสัตว์
4. มีอิสระจากความกลัวและความทุกข์ทรมาน (Freedom from fear and distress) ด้วยสภาวะการเลี้ยงดูที่ไม่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานทางจิตใจ เช่น ระหว่างการจับไก่ก่อนการเข้าโรงเชือดต้องทำอย่างนุ่มนวล
5. มีอิสระในการแสดงพฤติกรรมตามปกติของสัตว์ (Freedom to express normal behavior) คือมีอิสระการเป็นอยู่อย่างธรรมชาติ และมีความสบายตามชนิดของสัตว์
หลักการณ์ทั้งหมดนี้ครอบคลุมในทุกส่วนของการผลิตตั้งแต่ 1. การเลี้ยงในฟาร์ม : ต้องจัดเตรียมที่ให้น้ำและให้อาหารอย่างพอเพียงตลอดเวลา พื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ไม่หนาแน่น สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ มีสัตวแพทย์และสัตวบาลดูแลสุขภาพสัตว์อย่างสม่ำเสมอ สภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน เช่น อุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศ ต้องเหมาะสมและเพียงพอต่อการดำรงชีพของสัตว์ตลอดเวลา 2. การขนส่ง : ภาชนะที่ใช้ในการขนส่งสัตว์ จะต้องดีและเหมาะสม เช่น ไม่ก่อให้เกิดอันตรายขณะขนส่ง, ความหนาแน่นของสัตว์ในขณะขนส่งจะต้องไม่มากเกินกว่าที่กำหนด และ 3. โรงงานแปรรูป : เมื่อรถขนส่งไก่มาถึงโรงงาน จะต้องจอดพักในบริเวณที่เหมาะสมและสบายสำหรับตัวสัตว์ เพื่อลดความเครียดของสัตว์ โดยทุกขั้นตอนการแปรรูปต้องเป็นไปอย่างนุ่มนวลโดยเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญและผ่านการฝึกอบรมด้านสวัสดิภาพสัตว์ (CPF Poultry Welfare Officer)
ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามหลักสวัสดิภาพสัตว์อย่างยั่งยืน จึงได้ร่วมมือกับ AW Training Ltd. และ Bristol University UK พัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์ปีก นับเป็นภาคเอกชนรายแรกของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ปีกในโลก
การปฏิบัติตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) ดังกล่าวจะทำให้ไก่มีสุขภาพที่ดี เมื่อมีพื้นฐานสุขภาพที่ดีก็ปราศจากโรคภัย โดยไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ฮอร์โมน หรือยาปฏิชีวนะเร่งการเจริญเติบโตในไก่ จึงเป็นการลดความเสี่ยงจากยาปฏิชีวนะตกค้าง เพราะไก่ที่มีสุขภาพพื้นฐานดีจะสามารถเติบโตตามศักยภาพของพันธุกรรมธรรมชาติ ทำให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารปลอดภัย ซึ่งผู้บริโภคทั่วโลกสามารถมั่นใจได้ในคุณภาพผลิตภัณฑ์ของซีพีเอฟ ขณะเดียวกัน บริษัท ยังปฏิบัติตามมาตรฐานหลักปฏิบัติและกฎระเบียบของสหภาพยุโรป (EU) ตลอดห่วงโซ่การผลิตสัตว์ปีก ตั้งแต่การเลี้ยง การขนส่ง ตลอดจนการชำแหละและแปรรูป ภายใต้การแนะนำของกรมปศุสัตว์
ที่ผ่านมา ซีพีเอฟทุ่มเท การวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์และเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่อย่างต่อเนื่อง และบริษัทยังถือเป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีโรงเรือนปิดที่ทันสมัยด้วยระบบปิดปรับอากาศด้วยการระเหยของน้ำ หรือโรงเรือนอีแวป (EVAP : Evaporative Cooling System) มาใช้เป็นรายแรกของไทย โรงเรือนระบบนี้สามารถควบคุม อุณหภูมิ การระบายอากาศ ช่วยประกับมีมาตรการตามหลักการสวัสดิภาพสัตว์ที่ดี ทำให้ไก่มีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย จึงไม่ป่วย และมีอัตราการเจิญเติบโตที่ดีตามธรรมชาติของพันธุกรรม
ทั้งหมดนี้เพื่อให้มีกระบวนการผลิตที่ดีเยี่ยมที่สามารถควบคุมคุณภาพ ภายใต้มาตรฐานระดับโลก ทำให้ทั้งผลิตภัณฑ์ที่ขายในประเทศและส่งออก รวมทั้งได้รับการยอมรับจากตลาดในประเทศญี่ปุ่น และกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) มานาน ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าทั้งสองตลาดมีความเข้มงวดในเรื่องมาตรฐานของสินค้า และการตรวจสอบสารปนเปื้อน หรือยาปฎิชีวนะภายในเนื้อไก่อย่างเคร่งครัด รวมทั้งการดูแลสวัสดิภาพสัตว์ ทั้งนี้ ญี่ปุ่นนำเข้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่ของซีพีเอฟเป็นระยะเวลากว่า 40 ปี และสหภาพยุโรปนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่มากว่า 20 ปี ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศจึงมั่นใจได้ว่าสินค้าและผลิตภัณฑ์ไก่ของซีพีเอฟปลอดภัยต่อการบริโภค 100%
Update : 21-02-2017
Tag:
#StudentLunchTag:
#Supplychain