เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
เปิด5มาตรการแก้ไข่ราคาตก ชงเอ้กบอร์ด10 มี.ค
18 ก.พ. 2558
เปิด5มาตรการแก้ไข่ราคาตก ชงเอ้กบอร์ด10 มี.ค

สพ.ญ.วิมลพร ธิติศักดิ์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้มีการประชุมหารือเพื่อแก้ปัญหาไข่ไก่ราคาตกต่ำ โดยได้เชิญสมาชิกสมาคมและเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ทั่วประเทศเข้าร่วม ทั้งนี้ที่ประชุมได้ข้อสรุปแนวทางเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำรวม 5 มาตรการ ประกอบด้วย 1.ให้ผู้ประกอบการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่(P.S.)ทั้ง  22 รายเจรจากันเอง การให้ปรับลดการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ให้เหลือไม่เกิน 5 แสนตัว จากแผนการนำเข้า 2 ปี (2557-2558 ) เฉลี่ยปีละกว่า 6.2 แสนตัว 2.ให้บริษัทผู้ผลิตไข่ไก่รายใหญ่ส่งออกเดือนละ 100 ตู้ หรือ 3 ล้านฟอง โดยรัฐบาลจะชดเชยภาระต้นทุนให้ 3.ปลดแม่ไก่ยืนกรง อายุ 70 วัน โดยจะชดเชยให้ตัวละ 20 บาท 4.จัดระเบียบกฎหมายนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ให้เหมาะสมกับการผลิต และ 5.นำพันธุ์สัตว์ที่เหลือส่งออกต่างประเทศ และให้รายใหญ่ช่วยเก็บไข่ไก่เข้าห้องเย็น มั่นใจว่ามาตรการดังกล่าวจะได้ผล แต่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันจริงจัง ไม่ได้บังคับ

 


          ส่วนกรณีที่นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ ประธานชมรมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคกลางและภาคใต้เห็นชอบร่วมกันที่จะยื่นเรื่องต่ออธิบดีกรมปศุสัตว์ ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่ และผลิตภัณฑ์ (เอ้กบอร์ด)เพื่อขอเงินจำนวน 1.50 พันล้านบาทในการสนับสนุนอุตสาหกรรมไก่ไข่ทั้งระบบนั้น ยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน ซึ่งได้ให้กลุ่มเกษตรกรไปหารือกันอีกครั้ง ก่อนนำสู่ที่ประชุมเอ้กบอร์ดในครั้งต่อไป ทั้งนี้หากผลการประชุมอนุมัติ จะต้องเสนอขอเงินจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานต่อไป

 


          "สาเหตุที่ต้องผลักดันการส่งออกไข่ไก่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไปยังตลาดฮ่องกง เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ และได้ราคาดีเฉลี่ยฟองละ 3 บาท คาดว่าบริษัทใหญ่จะให้ความสนใจ เพราะราคาดีกว่าในประเทศ และอีกทั้งก็เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรทางอ้อมด้วย"

 


          ด้านแหล่งข่าวจากกรมปศุสัตว์ เผยว่า การประชุมเอ้กบอร์ดครั้งหน้าจะมีขึ้นในวันที่ 10 มีนาคมนี้ ประเด็นสำคัญคือแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่ตกต่ำ เนื่องจากมีคณะอนุกรรมการหลายชุด ต้องทำงานทั้งเรื่องการวิเคราะห์ต้นทุน ทิศทางแนวโน้มการตลาด การส่งออก และข้อมูลอื่นๆ จะนำมาประกอบเพื่อรายงานความคืบหน้าให้คณะที่ประชุมรับทราบด้วย

 


          ขณะที่นายชัยพร สีถัน ประธานชมรมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคกลาง กล่าวถึงผลการประชุมทั้ง 5 ข้อข้างต้นนั้นอยากให้ทางกรมปศุสัตว์มีความชัดเจนจะทำข้อใดก่อน แล้วให้ผู้ประกอบการไปเจรจากันเอง ทั้งนี้ในเรื่องการปรับลด หรือการจำกัดโควตาการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์นั้นคาดการเจรจาจะไม่สำเร็จ ซึ่งคงต้องเร่งแก้กฎหมายโดยด่วน  ล่าสุดราคาไข่คละหน้าฟาร์ม ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 เฉลี่ยที่ 2.30 บาท/ฟอง ขณะที่ต้นทุนอยู่ที่ 2.90 บาท/ฟอง ขาดทุน 60 สตางค์/ฟอง หากไม่เร่งแก้ปัญหาคาดในครึ่งปีหลังเกษตรกรรายย่อยจะหายไปจากวงการถึง 30% และจะเข้าทางบริษัทใหญ่ที่จะจ้างเกษตรกรรายย่อยเลี้ยงแบบมีพันธะสัญญา(คอนแทร็กต์ ฟาร์ม)


          "อยากให้กรมปศุสัตว์แก้กฎหมาย โดยจำกัดโควตาการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่เพื่อลดซัพพลายในตลาดลง จะทำให้ราคาไข่ไก่ในประเทศขยับขึ้นได้ อย่างไรก็ดีกำลังร่างหนังสือถึงศูนย์ดำรงธรรม ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานใน 50 จังหวัดที่มีการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อร้องเรียนความเป็นธรรมและให้ความช่วยเหลือไข่ไก่ราคาตก"


          อนึ่ง แผนการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ในปี 2557 มีผู้นำเข้า 22 ราย อาทิ บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร บจก. อาหารเบทเทอร์ บจก.แหลมทองฟาร์ม บจก.ฟาร์มไก่พันธุ์เกิดเจริญดี บจก.ฟาร์มกรุงไทย บจก.ยูไนเต็ทฟีดดิ้ง บจก.ยู่สูงอาหารสัตว์ หจก.อุดมชัยฟาร์ม บจก.สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี บจก.ไทยเอกฟาร์ม บจก.ศรีรุ่งเรืองฟาร์ม บจก.เกียรติดำรงชัยฟาร์ม บจก.ฟาร์มไก่พันธุ์ 111 บจก.อรรณฟาร์มบ้านนา และ บจก.เอเป็กซ์ บรีดเดอร์ฟาร์ม เป็นต้น รวมทั้งหมด 6.99 แสนตัว

 

cr.ฐานเศรษฐกิจ

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x