เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
อาหารไทย วินาทีนี้ต้อง FOOD SAFETY
16 มิ.ย. 2557
อาหารไทย วินาทีนี้ต้อง FOOD SAFETY

อาหารเป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญสำหรับมวลมนุษยชาติอันขาดเสียไม่ได้ เพราะทุกชีวิตต้องดำรงอยู่ด้วยอาหารและคงไม่มีใครเถียงว่าที่เราทำงานหนักทุกวันนี้ก็เพื่อให้มีอะไร “กิน” ต่อไป ซึ่งเมื่อพูดถึงอาหารแล้วบางคนก็อาจจะนึกถึงการเกษตร การแปรรูปอาหาร ธุรกิจอาหาร ราคาอาหาร ร้านอาหารอร่อยๆ ทุนนิยมกับอุตสาหกรรมอาหาร การส่งออกอาหาร การแข่งขัน ทรัพยากรและความอุดมสมบูรณ์ หรือแม้แต่แนวคิดขั้วตรงข้ามอย่างความจน ความอดอยาก วิกฤตด้านอาหารฯลฯ

ทว่า มีสิ่งหนึ่งที่เชื่อเหลือเกินว่า คนสมัยนี้เริ่มคิดถึงกันมากขึ้นก็คือ “ความปลอดภัยทางด้านอาหาร” ที่กินแล้วไม่เพียงแต่อิ่มท้อง ร่างกายได้พลังงานเท่านั้น แต่สำคัญอย่างยิ่งชีวิตต้องปลอดภัยไร้โรคด้วย

ปุจฉาจึงมีอยู่ว่า ปัจจุบันประเทศไทยของเรานั้นมีผู้ที่มีความรู้ด้านความปลอดภัยอาหารแล้วนำความรู้นั้นมาใช้อย่างถูกต้องเพียงพอหรือยัง และถ้ายัง…? คิดว่าจะมีผลต่ออุตสาหกรรมอาหารแปรรูปไทยสู่การเป็นผู้นำในตลาดอาเซียน และการแข่งขันในเวทีโลกหรือไม่ เป็นโจทย์ที่ผู้มีหน้าที่ ทั้งภาครัฐ หน่วยงานรัฐ หรือแม้แต่เอกชนจะนิ่งเฉยไม่ได้

ถึงเวลาผลิตผู้ผลิตผู้มีความรู้ด้าน FOOD SAFETY

และเมื่อเร็วๆนี้ คณะอุตสาหกรรมเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้นำร่องแถลงเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร เน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการจัดการความปลอดภัยของอาหาร หรือ FOOD SAFETY เป็นแห่งแรกของประเทศในระดับปริญญาโท

ตั้งเป้าหมายผลิตนักจัดการความปลอดภัยอาหาร 30 คนต่อปีสู่ตลาดแรงงานอาหาร เพื่อเตรียมยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปไทยสู่การเป็นผู้นำในตลาดอาเซียน ผ่านจัดเด่นด้านการจัดการคุณภาพอาหารที่ได้มาตรฐานโลก ตอบโจทย์การพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยในภาคอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย

รศ.ดร.ประพันธ์ ปิ่นศิโรดม คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร (สจล.) ให้ความเห็นกับการเปิดหลักสูตรดังกล่าวว่า ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ร้านอาหารหรือภัตตาคาร ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอาหารและอื่นๆ ทั่วประเทศรวมกันกว่าหลายแสนราย แต่มีจำนวนผู้มีความรู้ด้านความปลอดภัยของอาหารและนำมาใช้อย่างถูกต้องเพียงไม่ถึง 5% ของจำนวนดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเร่งด่วน เพราะเมื่อปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โซนประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นกลุ่มในประเทศสำคัญในการเป็นแหล่งผลิตของอาหารที่สำคัญอันดับหนึ่งของโลก และนั่นยอมหมายถึงความต้องการที่ใช้บุคลากรด้านความปลอดภัยอาหารย่อมมีมากขึ้นตามด้วย

“ประเทศไทยซึ่งมีความพร้อมและศักยภาพสูงสุดในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในด้านอุตสาหกรรมอาหาร มีพื้นฐานด้านการเกษตรที่มั่นคง ทำให้มีผลผลิตที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารได้อย่างหลากหลาย โดยอัจจุบันอุตสาหกรรมของไทยมีมูลค่าการส่งออกกว่า 9.13 แสนล้านบาท อีกทั้งภาครัฐยังมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารหลายโครงการ อาทิ โครงการครัวไทยสู่ครัวโลก ไทยแลนด์ฟู้ดวัลเลย์

ดังนั้น จึงควรเตรียมความพร้อมในการพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมอาหารเพื่อรองรับการส่งออก พร้อมชูจุดเด่นของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปไทยที่ใส่ใจด้านความปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั่วโลกเป็นหลัก เนื่องจากแนวคิดด้านการควบคุมคุณภาพความปลอดภัยอาหาร ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารอย่างยิ่ง เพราะเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคโดยตรง” คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร สจล.กล่าว

การจัดการความปลอดภัยอาหารอย่างเป็นระบบ

รศ.ดร.อดิศร เสวตวิวัฒน์ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิชาการจัดการความปลอดภัยอาหาร กล่าวว่า ในการจัดการความปลอดภัยในอาหารอย่างเป็นระบบต้องเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต และการพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมทั้งบรรจุภัณฑ์เพื่อควบคุมอันตรายจากจุลินทรีย์ สารเคมี สารพิษ สารก่อภูมิแพ้ หรือสารอื่นๆที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งอาจเจือปนอยู่ในอาหารแปรรูปที่ถูกส่งต่อมาจากภาคอุตสาหกรรมสู่ผู้บริโภค หรือสารอื่นๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพซึ่งอาจเจือปนอยู่ในอาหารแปรรูปที่ถูกส่งต่อมาจากภาคอุตสาหกรรมสู่ผู้บริโภค

ประธานหลักสูตรฯ กล่าวต่อว่า ซึ่งในการก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหารระดับโลก คุณภาพความอร่อยหรือรสชาติของอาหารนั้นไม่พอ ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัย หรือ FOOD SAFETY ของอาหารเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งมีการแบ่งประเภทของอันตรายในอาหารออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ หนึ่ง อันตรายด้านกายภาพคือ อันตรายที่เกิดจากสิ่งแปลกปลอมที่อาจปนเปื้อนมากับอาหาร อาทิ โลหะ เศษแก้ว ลวดเย็บกระดาษ ลูกแม็ก เป็นต้น ซึ่งเมื่อรับประทานก็จะได้รับอันตราย สอง อันตรายทางเคมี คือ อันตรายที่เกิดจากสารเคมีในวัตถุดิบที่ใช้แปรรูปอาหาร หรือเกิดจากการปกเปื้อนในระหว่างการผลิตวัตถุดิบการแปรรูปอาหาร การบรรจุ และการเก็บรักษา อาทิ สารพิษตกค้างจากสารกำจัดศัตรูพืช ยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์ ถ้าปนเปื้อนอยู่ในปริมาณที่มากผู้บริโภคจะได้รับอันตรายได้

“สาม อันตรายด้านชีวภาพ คืออันตรายในอาหารที่เกิดจากจุลินทรีย์ก่อโรค อาทิ แบคทีเรีย ไวรัส พยาธิ ซึ่งประเทศไทยจัดอยู่ในเขตร้อน ทำให้มีโรคสารพัดชนิด ฉะนั้นวัตถุดิบบางอย่างถ้าไม่ปรุงให้สุกก่อนแล้วกินก็จะก่อโรค แต่บางอย่างถึงปรุงสุกก็วางใจไม่ได้ เช่น กรณีนักเรียนกินข้าวมันไก่ไม่สุก แต่เกิดจากการที่คนขายเอาเขียงสับเนื้อดิบหรือมีดสับเนื้อดิบที่ไม่ล้างแล้วเอามาสับไก่ ทำให้เชื้อโรคปนเปื้อนในไก่สุกและข้าวเด็กกินแล้วท้องเสีย ประการสุดท้าย คือ อันตรายจากสารก่อภูมิแพ้เฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่แพ้สารบางอย่างในอาหาร ซึ่งไทยยังขาดการจัดการความปลอดภัยทางด้านนี้อยู่”

ไทยยังขาดฟู้ดเชฟตี้จากสารก่อภูมิแพ้

            รศ.ดร.ประพันธ์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองมาตรการในการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารไทย ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีเพียงมาตรการในการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร โดยใช้ระบบมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ หรือโคเด็ซ์ (CODEX) โดยแบ่งมาตรฐานการควบคุมอาหารความปลอดภัยออกเป็น 6 ประการ ได้แก่ 1.สุขลักษณะของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต 2.เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต 3.การควบคุมกระบวนการผลิต 4.การสุขาภิบาล 5.การบำรุงรักษาและทำความสะอาด และ 6.บุคลากร ทั้งนี้ประเทศไทยยังขาดการจัดการความปลอดภัยของอาหารที่เกิดจากอันตรายของสารก่อภูมิแพ้

                “ปัจจุบันสารก่อภูมิแพ้ในอาหารมีความสำคัญสำหรับผู้บริโภคมากขึ้น โดยองค์กรภูมิแพ้โลกเผยสถิติว่า ในปี 2556 มีคนป่วยโรคภูมิแพ้อาหารกว่า 250 ล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะในเด็กพบได้มากกว่า 8% และพบในผู้ใหญ่ประมาณ 3% ซึ่งอาหาร ส่วนใหญ่ที่แพ้ ได้แก่ นมวัว ไข่ ถั่วเหลือง แป้งสาลี อาหารทะเล ซึ่งหากผู้บริโภคกลุ่มนี้รับประทานอาหารที่ตนแพ้อาจเกิดอาการตั้งแต่เป็นผื่นคัน หายใจไม่ออก หรือรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยมีตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอังกฤษ ซึ่งประเทศเหล่านี้ล้วนให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้าเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยจากสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร สำหรับประเทศไทยยังขาดมาตรการในส่วนนี้ที่ชัดเจน”

                คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตรอุตสาหกรรมให้ความเห็นทิ้งท้าย ว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสนใจและกำหนดมาตรการป้องกันอันตราย สำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่อาจมีสารก่อภูมิแพ้เจือปนอยู่ โดยภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมองค์ความรู้เรื่องสารก่อภูมิแพ้ในอาหารต่อผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อเป็นการส่งเสริมการควบคุมความปลอดภัยในภาคอุตสาหกรรมอาหารที่ช่วยสร้างความปลอดภัยสู่ผู้บริโภคยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ควรกำหนดให้ผู้ประกอบการระบุส่วนผสมข้างฉลากขงผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน เพื่อเป็นการสร้างมาตรการป้องกันอันตายที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

                “การที่ประเทศไทยจะเป็นผู้นำในการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปในตลาดอาเซียน รวมถึงการแข่งขันในเวทีตลาดโลกได้ต้องคำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เพราะทุกวันนี้ไม่ว่าประเทศไหนที่นำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารจากต่างประเทศทั้งหลายก็ดี คุณภาพและความปลอดภัยต้องมาก่อน สมัยก่อนๆความปลอดภัยอาจไม่เน้นย้ำมากนัก แต่ปัจจุบันความปลอดภัยของอาหารถือว่ามีความสำคัญว่าคุณภาพและด้านอื่นๆด้วยซ้ำ เพราะเรื่องนี้ต่อรองไม่ได้ เนื่องจากแต่ละประเทศจะมีมาตรฐาน กฎเกณฑ์ และกฎหมาย ที่เข้มงวดมาก แต่ถามว่าวันนี้เรามีผ็เชี่ยวชาญในการจัดการความปลอดภัยอาหารที่บาลานซ์ต่อโรงงานอุตสากรรมอาหาร ร้านอาหารทุกขนาด ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอาหาร และอื่นๆ ทั่วประเทศรวมกันกว่าหลายแสนรายหรือยัง คำตอบคือยัง เรายังขาดบุคลากรด้านนี้อยู่มาก ซึ่งเขาเหล่านี้แหละจะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไทยให้ก้าวไกลในตลาดโลกไม่น้อยหน้าประเทศอื่นๆ”

อ้างอิง โพสต์ทูเดย์ MAGZ

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x