เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ส่องความสำเร็จของศูนย์ FLEC…ต้นแบบการบูรณาการ 5 องค์กรแก้ปัญหาไอยูยูยั่งยืน
22 ม.ค. 2562
ส่องความสำเร็จของศูนย์ FLEC…ต้นแบบการบูรณาการ 5 องค์กรแก้ปัญหาไอยูยูยั่งยืน

โดย นาตยา เพชรัตน์ กรรมการศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา

ข่าวการปลดใบเหลืองประมงไอยูยูของประเทศไทย นอกจากจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเกษตรกร และภาคประมง ในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาเรื่องการทำประมงผิดกฏหมายกันอย่างจริงจังและแข็งขันตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา

 

ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา (Fishermen Life Enhancement Center หรือ FLEC) ที่ตั้งอยู่ท่าเทียบเรือประมงสงขลา อ.เมือง จ.สงขลา เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการบูรณาการความร่วมมือ 5 องค์กรทั้งภาครัฐ NGO และเอกชน ประกอบด้วย องค์การสะพานปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา(บ้านสุขสันต์) และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เพื่อมาช่วยกันแก้ปัญหาและยกระดับมาตรฐานด้านแรงงานในอุตสาหกรรมประมงของไทยแบบครบวงจร รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมประมงที่จังหวัดสงขลาและพื้นที่ใกล้เคียง

 

ศูนย์ FLEC มีบทบาทเป็นตัวกลางที่ช่วยเชื่อมระหว่างหน่วยงานราชการกับแรงงานที่ได้รับผลกระทบ และเป็นสถานที่ให้บริการแก่แรงงานประมงข้ามชาติและครอบครัว เหมือนกับ One Stop Service ซึ่งมีล่ามและเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแรงงานในทุกด้าน รวมทั้งเรื่องสุขภาพ การศึกษา และการพัฒนาทักษะชีวิต ขณะที่ศูนย์ฯ ยังเป็นสถานที่รวมตัวและพบปะของเพื่อนแรงงานประมง หรือมาใช้ห้องละหมาดร่วมกัน และเป็นที่พึ่งในยามที่แรงงานหรือนายจ้างที่ต้องการความช่วยเหลือเรื่องต่างๆ อาทิ แปลเอกสาร ล่ามภาษา หรือประสานงานกับองค์กรอื่นๆ

 

ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาของการดำเนินงาน ศูนย์ FLEC ได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากแรงงานประมง ประมงเกี่ยวเนื่อง และครอบครัว รวมถึงนายจ้างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการให้ความร่วมมือ และเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของศูนย์ฯ อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะ ปี 2561 ที่ผ่านมา มีแรงงานประมงและครอบครัวเข้ามาใช้บริการที่ศูนย์ FLEC เดือนละ 35-36 ครั้ง ได้รับความร่วมมือให้พบแรงงานบนเรือเพื่อแจกกล่องยาสามัญ และสอนการใช้ยาและการดูแลสุขภาพตนเองของลูกเรือ ซึ่งสามารถเข้าถึงแรงงานข้ามชาติที่ทำงานบนเรือประมงถึง 76 ลำ สามารถเข้าลูกเรือประมงได้กว่า 2,000 คน ขณะที่ ศูนย์ฯ ยังสามารถขยายเครือข่ายและอาสาสมัครที่กลายเป็นกระบอกเสียงและนำข่าวสารที่เป็นประโยชน์มาให้แรงงานข้ามชาติเพิ่มมากขึ้น

 

ศูนย์ FLEC ยังได้ช่วยเหลือให้คำปรึกษาแก่แรงงานที่ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ หรือการใช้แรงงานผิดกฎหมายได้กว่า 38 คน ขณะที่ ศูนย์ฯ จัดการอบรมให้ความรู้เรื่องสิทธิและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ความปลอดภัยในการทำงานบนเรือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ช่วยให้แรงงานข้ามชาติทำงานด้วยความมั่นใจและสามารถรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้ดี ขณะเดียวกัน ศูนย์ฯ ยังนำปัญหาที่พบจากการพูดคุยกับแรงงานมาปรับกิจกรรมให้ตรงกับสถานการณ์และแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น เช่น การเปิดช่องทางสื่อโซเชียลให้เข้าถึงแรงงาน การสอนลูกเรือใช้บัตร ATM ซึ่งเป็นปัญหาเล็กน้อย แต่อาจจะกระทบกับภาพลักษณ์ของมาตรฐานแรงงานประมงข้ามชาติในอนาคตได้

 

สำหรับการศึกษาของลูกหลานประมงข้ามชาติ ศูนย์ FLEC ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองมาร่วมประชุมผู้ปกครองและจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านเพิ่มขึ้น และส่งลูกมาเรียนหนังสืออย่างสม่ำเสมอประมาณ 30 คนต่อปี และในปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมา ศูนย์ฯ สามารถส่งเด็ก 7 คนเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 และ 5 คนในระดับอนุบาล 2 ที่โรงเรียนเทศบาล 1 (ถนนนครนอก) อ.เมือง จ.สงขลา และที่ศูนย์ฯ ยังสอนอัลกุรุอานให้กับเด็กที่นับถือศาสนาอิสลามอีกด้วย

 

นอกจากนี้ ศูนย์ฯ ยังดำเนินกิจกรรมด้านเพิ่มทักษะในการใช้ชีวิตของแรงงานและครอบครัวของแรงงาน ทั้งเรียนรู้การประกอบอาชีพเสริม เช่น ปลูกผักสวนครัวช่วยลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน และยังมีการให้ความรู้ด้านการวางแผนครอบครัว การอนามัยการเจริญพันธุ์ การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานและครอบครัว

 

จากผลสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์ FLEC จึงพอจะกล่าวได้ว่า มาจากการบูรณาการหน่วยงานที่ทำงานด้านแรงงานมาอยู่ด้วยกัน ช่วยให้การดำเนินงานช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติและการป้องกันปัญหาค้ามนุษย์มีความสอดคล้อง คล่องตัว ไม่ซ้ำซ้อน และรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้นแบบของการร่วมด้วยช่วยกันเพื่อให้แรงงานข้ามชาติอยู่ในประเทศไทยอย่างอบอุ่นใจ

 

ขณะที่ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของนายจ้าง และแรงงานประมง เป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จของการแก้ปัญหาแรงงานในภาคประมง ซึ่งมาจากความไว้ใจต่อหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นเพื่อนที่จริงใจ และการทำงานของศูนย์ FLEC ที่เป็นองค์รวมและดำเนินการอย่างจริงจัง จึงได้รับความไว้วางใจจากนายจ้างและแรงงานเพิ่มขึ้นตามลำดับ

 

แม้ว่าประเทศไทยจะได้รับการปลดธงเหลืองแล้วก็ตาม การจัดการและป้องกันปัญหาด้านแรงงานในภาคประมงยังจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อเชื่อมโยงความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงานมาช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อนานาประเทศทั่วโลก ในการยกระดับมาตรฐานแรงงานในห่วงโซ่การผลิตอาหารอย่างจริงจัง

สำหรับศูนย์ FLEC เอง ยังเดินหน้าสร้างการรับรู้ด้านสิทธิมนุษยชนแก่แรงงาน และทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันปัญหาค้ามนุษย์ การใช้แรงงานบังคับ และการใช้แรงงานเด็ก ตลอดจนการใช้แรงงานผิดกฎหมายทุกรูปแบบ รวมทั้ง สร้างเสริมความรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน การวางแผนครอบครัว และดูแลสุขภาพให้แก่แรงงาน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของแรงงานประมงข้ามชาติและครอบครัว ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทยในอนาคต.

กิจกรรมอื่น ๆ
กรุงเทพโปรดิ๊วส และ อีอาร์เอ็ม-สยาม ร่วมยกระดับมาตรฐานจัดซื้อสินค้าเกษตรสู่ระดับสากล ไม่รุกป่า ไม่เผา ยึดหลักสิทธิมนุษยชน พร้อมรับกฎระเบียบการค้าโลก
01 ก.ค. 2567
กรุงเทพโปรดิ๊วส และ อีอาร์เอ็ม-สยาม ร่วมยกระดับมาตรฐานจัดซื้อสินค้าเกษตรสู่ระดับสากล ไม่รุกป่า ไม่เผา ยึดหลักสิทธิมนุษยชน พร้อมรับกฎระเบียบการค้าโลก
บังกี้ และ ซีพีเอฟ รับมอบกากถั่วเหลืองปลอดรุกป่าจากบราซิล "ตู้แรก"  ย้ำผู้นำความโปร่งใสระบบตรวจสอบย้อนกลับด้วยบล็อกเชน
10 มิ.ย. 2567
บังกี้ และ ซีพีเอฟ รับมอบกากถั่วเหลืองปลอดรุกป่าจากบราซิล "ตู้แรก" ย้ำผู้นำความโปร่งใสระบบตรวจสอบย้อนกลับด้วยบล็อกเชน
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นผลิตอาหารปลอดภัย-ร่วมคืนสมดุลธรรมชาติ
05 มิ.ย. 2567
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นผลิตอาหารปลอดภัย-ร่วมคืนสมดุลธรรมชาติ
ซีพีเอฟ เดินหน้าส่งเสริมโรงเรียน-ชุมชน บริหารจัดการขยะยั่งยืน
17 พ.ค. 2567
ซีพีเอฟ เดินหน้าส่งเสริมโรงเรียน-ชุมชน บริหารจัดการขยะยั่งยืน
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x