เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
 สถานการณ์“โรคตายด่วน”เริ่มกระเตื้อง หลังกรมประมงเดินเครื่องใช้งบ96ล้านบาท
22 เม.ย. 2558
สถานการณ์“โรคตายด่วน”เริ่มกระเตื้อง หลังกรมประมงเดินเครื่องใช้งบ96ล้านบาท

จากสถานการณ์การระบาดของโรคจากกลุ่มอาการตายด่วน (EMS) ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งของไทยทั้งระบบ ทำให้ผลผลิตกุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงลดลงเป็นอย่างมาก ปริมาณการส่งออกหายไปกว่าร้อยละ 40


นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาภาครัฐได้ให้ความสำคัญในการติดตามสถานการณ์และแก้ไขปัญหา EMS เป็นการเร่งด่วนอย่างใกล้ชิด  โดยเมื่อกลางปี 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สนับสนุนงบประมาณวงเงิน 96 ล้านบาท เพื่อให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงรับไปดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเพื่อควบคุมและลดความสูญเสียของสินค้ากุ้งทะเลจากโรค EMS เพื่อให้ผลผลิตกลับเข้าสู่สภาวะปกติ  โดยได้ดำเนินการใน 3 กิจกรรม ได้แก่ 1. เพิ่มประสิทธิภาพระบบคัดกรอง ป้องกัน และเฝ้าระวังกุ้งเพื่อยับยั้ง EMS 2. เพิ่มกำลังผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม. 1  และ 3. การนำเข้าพ่อแม่พันธุ์และผลิตลูกพันธุ์กุ้งคุณภาพ


ด้าน ดร.จุมพล  สงวนสิน  อธิบดีกรมประมง  กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลจากการดำเนินการปรากฏว่า ได้ให้บริการตรวจคัดกรองโรคกุ้งทะเลแก่เกษตรกร ทั้งแบคทีเรีย และไวรัส ด้วยเทคนิค PCR โดยดำเนินการตรวจแล้วเสร็จ ณ ปัจจุบันทั้งสิ้นจำนวน 76,540 ตัวอย่าง และมีการดำเนินการผลิต


หัวเชื้อจุลินทรีย์ (ปม.1) สูตรผง แจกจ่ายให้เกษตรกรแล้วทั้งสิ้นจำนวน 105,100 ซอง สูตรน้ำ จำนวน 132,388 ขวด โดยในส่วนของการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์คุณภาพ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสายพันธุ์ กรมประมงได้นำเข้าพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวจากต่างประเทศ 3 แหล่ง คือ 1. จากบริษัทเอสไอเอส ที่เป็นผู้ให้บริการชั้นนำของโลกของด้านพ่อแม่พันธุ์กุ้ง 2. นำเข้าพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวจากมหาวิทยาลัยกวม สหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาทดสอบและปรับปรุงสายพันธุ์ 3. นำเข้าพ่อแม่พันธุ์กุ้งขาวจากฟาร์มที่ผลิตพ่อแม่พันธุ์ จาก บริษัทโคน่าเบย์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งปลอดจากโรคไวรัสทุกชนิด และมีการดำเนินการขุนพ่อแม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกกุ้ง ระยะที่ 1 Nauplius (นอเพลียส) เพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 96 ราย สำหรับลูกพันธุ์ที่กรมประมงผลิตได้จนถึง ณ ปัจจุบัน จำนวน 724.77 ล้านตัว  โดยจัดจำหน่ายให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ แล้ว จำนวน 392.90 ล้านตัว ในอัตราตัวละ 0.010 บาท ซึ่งรายได้จากการจำหน่ายทั้งหมดกรมประมงจะนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน


สำหรับผลตอบรับของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ พบว่ากุ้งจากกรมประมงสามารถเลี้ยงง่าย  ไม่แตกไซส์  ผ่านช่วงวิกฤต EMS ได้ในหลายพื้นที่ เพียงเน้นการคัดกรองเชื้อโรคออกจากระบบ การบริหารจัดการที่ดี รวมทั้งใช้ ปม. 1 ของกรมประมงทำให้ได้ผลผลิตดี และมากขึ้นจากเดิมเห็นผลได้อย่างชัดเจน  ส่งผลให้ต้นทุนต่ำกว่าปกติที่เคยเลี้ยงอีกด้วย


“จะเห็นได้ว่า สถานการณ์ในการผลิตกุ้งทะเลของประเทศไทยนั้นในช่วงที่กรมประมงดำเนินการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเพื่อควบคุมและลดความสูญเสียของสินค้ากุ้งทะเล (EMS) โดยให้บริการตรวจคัดกรองโรคกุ้งทะเล และผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 ทั้งสูตรผงและสูตรน้ำแจกจ่ายให้แก่เกษตรกร ส่งผลให้การติดเชื้อ EMS มีแนวโน้มลดลงและปริมาณผลผลิตกุ้งทะเลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่สามเดือนสุดท้ายของปี 2557 เพิ่มขึ้นถึง 37% เมื่อเทียบกับปลายปี 2556 และในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2558 มีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงเดียวกันในปี 2557 ร้อยละ 13  จึงนับเป็นการส่งสัญญาณที่ดีในการเริ่มฟื้นตัวของกุ้งทะเลในประเทศไทย” อธิบดีกรมประมง กล่าวทิ้งท้าย

 

cr. แนวหน้า

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x