เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
รู้มาเล่าไป : ไก่ไทยปลอดภัย (จบ) : โดย...ดลมนัส กาเจ
13 ต.ค. 2558
รู้มาเล่าไป : ไก่ไทยปลอดภัย (จบ) : โดย...ดลมนัส กาเจ

                              วันนี้นำบทความของ "รศ.ดร.ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์" อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) จากเวันพุธที่แล้ว เรื่อง "ไก่ไทยปลอดภัยไม่มีสารเร่งโต" ต่อจากวันพุธที่แล้วครับ

 

                              อาจารย์ชัยภูมิ ระบุด้วยว่า บางคนอาจตั้งคำถามว่า “มาตรฐานการผลิตเพื่อการส่งออกและเพื่อบริโภคในประเทศต่างกันหรือไม่?” ในแง่การผลิตไม่ว่าจะเป็นอาหาร การจัดการ การชำแหละ ทางกรมปศุสัตว์มีข้อกำหนดที่มีมาตรฐานระดับเดียวกับต่างประเทศเพื่อควบคุมการผลิตให้ได้มาตรฐาน ดังนั้นในเชิงกฎหมาย วิชาการ และการผลิตแล้ว เนื้อไก่บริโภคในประเทศจึงมีมาตรฐานเดียวกับที่ส่งออกต่างประเทศ

 

                              บางคนอาจตั้งคำถามอีกว่า “ทำไมเดี๋ยวนี้ไก่ถึงโตเร็วนัก ?” คำตอบอยู่ที่การพัฒนาขององค์ความรู้ด้าน พันธุ์ อาหาร และการจัดการ หลายๆ ท่านอาจยังไม่ทราบถึงการพัฒนาองค์ความรู้วิทยาศาสตร์การเลี้ยงสัตว์ว่าไปไกลขนาดไหน ผมขอเล่าสั้นๆ ดังนี้ครับ

 

                              1.การพัฒนาสายพันธุ์ไก่เกิดขึ้นตลอดเวลา (ไม่ใช่ตัดต่อพันธุกรรม) โดยเฉลี่ยพันธุกรรมไก่เนื้อจะโตเร็วขึ้น 50 กรัมทุกๆ ปี แปลว่า ไก่ที่เลี้ยงปีนี้จะโตกว่าที่เลี้ยงเมื่อ 10 ปีก่อน 500 กรัม หากเลี้ยงด้วยอาหารและการจัดการเดียวกัน

 

                              2.อาหารไก่ถูกพัฒนาไประดับโมเลกุล กรดอะมิโนหรือพลังงานงานที่กินถูกให้ตรงตามพันธุกรรมมีการคำนวณโภชนาการทุกชนิดให้ไก่อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะโรงงานอาหารสัตว์ที่ทันสมัยควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำการผสม อัดเม็ด หรือทำให้อาหารสุกอย่างมีประสิทธิภาพ

 

                              3.การจัดการที่เน้นความสะอาด ปลอดภัย ควบคุมอุณหภูมิ แสง และความชื้นตลอดเวลาโดยระบบอัตโนมัติเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนสัตว์ และการแพร่ระบาดของเชื้อโรค การเลี้ยงที่มีสัดส่วนพื้นที่ต่อตัวให้เหมาะสมไม่หนาแน่นจนเกินไป (ยึดหลักสวัสดิภาพสัตว์) การพัฒนาองค์ความรู้ทั้ง 3 ทำให้จากที่เคยเลี้ยงไก่ 42 วัน ได้น้ำหนัก 2 กิโลกรัม เป็น 2.6 กิโลกรัม ใช้เวลาเพียง 37-38 วัน เท่านั้น

 

                              จากที่กล่าวมา ด้วยกฎระเบียบที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าหรือของไทยเอง และเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่ที่ก้าวหน้ามาก จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไทยจะใช้ฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโต ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศห้ามใช้ยาเฮ็กโซเอสตรอล (Hexoestrol) ซึ่งเป็นยาที่ใช้สำหรับตอนสัตว์ปีกและเป็นฮอร์โมนสำหรับรักษาสัตว์ โดยมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่มีเฮ็กโซเอสตรอลไม่ให้จำหน่ายในประเทศไทยมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2529 หรือนานเกือบ 30 ปีมาแล้ว

 

                              ที่สำคัญไปกว่านี้ ด้วยกฎระเบียบที่จะเข้มงวดมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตอาจห้ามใช้ยาปฏิชีวนะทุกชนิด (แม้แต่รักษา) หรือการห้ามทำวัคซีน (เพื่อป้องกันโรค) ก็ได้ ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์และนักสัตวบาลทั้งหลายกำลังพยายามหาวิธีเลี้ยงไก่ไม่ให้ป่วยเลย (ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะและวัคซีน ไม่ตัดต่อพันธุกรรม) โดยยืนบนพื้นฐานการพัฒนาด้าน พันธุ์ อาหาร และการจัดการ

 

                              ดังนั้น ประเด็นการใช้ฮอร์โมนในการเลี้ยงไก่จึงเป็นเรื่องล้าสมัยมากในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่และวิชาการ ขอให้ทุกท่านได้หายสงสัยในเรื่อง “ฮอร์โมน กับ การเลี้ยงไก่” ได้เลยครับ เพราะยังมีประเด็นอื่นๆ ที่ทันสมัยกว่าไว้คอยถกเถียงอีกต่อไป

 

cr. คมชัดลึก

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x