เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ย้อนรอยที่มาปลาป่น กับการทำประมงที่ยั่งยืน (2)
02 ก.ค. 2557
ย้อนรอยที่มาปลาป่น กับการทำประมงที่ยั่งยืน (2)

 โดยปัจจุบันซีพีเอฟ บรรลุเป้าหมายแผน 10 ประการ (CPF 10 Point Plan) สู่ความยั่งยืน อาทิ  การเลือกคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ที่ซื้อวัตถุดิบปลาป่นจากผลพลอยได้ หรือ by-product ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 42% และวางเป้าหมายไว้ที่ 70% ภายในปี 2016 ซึ่งขณะที่ซีพีเอฟกำลังเพิ่มสัดส่วนนี้ การพึ่งปลาที่เหลือจากการจับก็ลดลงเป็นจำนวนมหาศาล โดยมีผู้ค้าปลาป่นรายใหญ่ที่สุดของซีพีเอฟ คือ บริษัท Southeast Asian Packaging and Canning (SEAPAC) ในเครือ บริษัท Kingfisher Group   ซึ่งใช้ผลพลอยได้จากทูน่าที่ได้จากมหาสมุทรแปซิฟิคและเป็นบริษัทปลาป่นรายแรกในทวีปเอเชีย ที่ได้รับมาตรฐานรับรองการผลิตที่ดี (GMP+) และการเป็นผู้ค้าที่รับผิดชอบ (responsible supply)

 

ผลจากการดำเนินมาตรการเพื่อรับรองการทำประมงอย่างถูกต้อง และรับผิดชอบ ภายใต้การตรวจสอบจากกรมประมง มาเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าขณะนี้ คู่ค้า 40 จากทั้งหมด 55 รายของบริษัทนี้ได้รับการรับรองภายใต้การตรวจสอบจากกรมประมงว่าด้วยการทำประมงอย่างถูกต้อง ซึ่งกำหนดให้โรงงานผู้ผลิตปลาป่นต้องยื่นเอกสารทั้งหมด รวมถึงเอกสารการซื้อสัตว์น้ำที่จับได้ หนังสือรับรองการจับสัตว์น้ำ คำแถลงของกัปตัน และหนังสือรับรองการทำประมง ซึ่งทั้งหมดคิดเป็น 73% ของคู่ค้าของซีพีเอฟ และได้ตั้งเป้าว่าจะทำให้ได้ 100% ภายในปี 2557 นี้

 

นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ได้สร้างแรงจูงใจโดยออกมาตรการให้ราคาพรีเมียม 3 บาทต่อกิโลกรัม ให้กับโรงงานปลาป่นซึ่งเป็นคู่ค้าที่ได้วัตถุดิบปลาจากแหล่งที่มาที่ถูกต้อง ไม่ทำประมงผิดกฎหมาย (supplier premium for non-IUU) โดยต้องมีเอกสารตรวจสอบที่มาของวัตถุดิบได้อย่างถูกต้องเป็นหลักฐานรับรอง และผ่านการตรวจสอบของกรมประมง การจ่ายค่าส่วนเพิ่มดังกล่าวเป็นขั้นตอนหนึ่งที่ซีพีเอฟตัดสินใจทำทันทีเพื่อสนับสนุนให้ผู้ค้าปลาป่นทุกรายเข้าร่วมในโครงการนี้ โดยซีพีเอฟถือเป็นผู้ผลิตรายเดียวที่จ่ายค่าส่วนเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองเต็มรูปแบบว่าไม่ได้มาจากการทำประมงผิดกฎหมายแก่คู่ค้า ซึ่งเมื่อสิ้นสุดปี 2556 บริษัทจ่ายค่าส่วนเพิ่มไปแล้วอีก 48.2 ล้านบาท

 

ขณะเดียวกันยังเดินหน้าการรับรองห่วงโซ่อุปทานอิสระผ่านทาง ห่วงโซ่อุปสงค์อุปทาน ด้วยการกำลังทำงานกับองค์กรปลาป่นสากล (International Fish Meal & Fish Oil Organization, IFFO) ในโครงการ IFFO RS IP (IFFO RS Improvers Program) ซึ่งเป็นโครงการตรวจสอบอิสระเพื่อสนับสนุนให้คู่ค้าทุกรายของเรานำกลไกที่ปรับปรุงการทำงานของตนมาใช้เพื่อนำไปสู่การผลิตปลาป่นอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน ขั้นตอนที่ต้องทำก่อนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการผู้ปรับปรุง IFFO RS IP อย่างเป็นทางการคือคู่ค้าต้องได้รับมาตรฐานการรับรองการผลิตที่ดี (GMP+) และการเป็นคู่ค้าที่รับผิดชอบก่อน ที่สำคัญในเดือนมิถุนายนนี้ โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำบ้านบึงของซีพีเอฟ จะเป็นโรงงานอาหารสัตว์แห่งแรกในโลกที่จะได้รับการรับรองมาตรฐาน IFFO RS CoC (Chain of Custody) ว่าเป็นโรงงานที่จัดซื้อและใช้วัตถุดิบปลาป่นอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน ผ่านคู่ค้าปลาป่นรายใหญ่ที่สุดของซีพีเอฟ คือ บ. Southeast Asian Packaging and Canning (SEAPAC)  และภายใน 3 ปี โรงงานแห่งนี้ตั้งเป้าว่าจะใช้ปลาป่น 100% จากคู่ค้าผู้ได้รับการรับรองมาตรฐาน IFFO RS ตามพันธะสัญญาที่เราทำไว้ในแผน 10 ประการ

 

ส่วนการทำงานกับรัฐบาลไทย ซีพีเอฟนับว่าเป็นผู้ผลิตรายใหญ่รายเดียวในเอเชียที่ทำงานกับรัฐบาลไทย โดยกรมประมง เพื่อช่วยผลักดันให้เกิดการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายประมง โดยได้มีการประชุมอย่างเป็นทางการกับหน่วยงานรัฐตลอดปี 2556 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเดินหน้าผลักดันแผนปรับปรุงการทำประมง – แถบอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่สมาคมที่อยู่ในห่วงโซ่การประมงตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำทั้ง 8 สมาคม ในนาม Thai Sustainable Fisheries Roundtable (TSFR) ร่วมกันลงนามในบันทึกเพื่อความเข้าใจ (MOU) พร้อมโครงร่างแผนที่นำทางเพื่อการพัฒนาการประมงไทยอย่างยั่งยืน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ซึ่งขณะนี้คณะทำงาน TSFR กำลังจัดทำแผนปรับปรุงการทำประมง (Fishery Improvement Plan – FIP) สำหรับอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ร่วมกับหน่วยงาน Sustainable Fisheries Partnership (SFP) และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF-Thailand) ซึ่งมีทั้งทักษะและความเชี่ยวชาญในการทำการศึกษา โดยตลอดทั้งโครงการอาจจะต้องใช้เงินทุนหลายล้านดอลลาร์ โดยซีพีเอฟกำลังอยู่ระหว่างการระดมทุนก้อนแรก ทั้งหมดนี้ ต้องชื่นชมซีพีเอฟที่กล้าที่จะเปลี่ยนและออกโรงเดินหน้าสร้างความยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมประมงของไทย

 

อย่างไรก็ดี การทำประมงที่ยั่งยืนมิอาจเกิดขึ้นได้ด้วยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ให้หันมาช่วยกันเร่งพัฒนาการทำประมงอย่างถูกต้อง การทำตามกฎหมาย บนพื้นฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็ต้องมีการควบคุมและตรวจสอบที่เข้มงวดรัดกุม ระบบนิเวศทางทะเล ห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมปลาป่น และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่ยั่งยืนก็น่าจะเกิดขึ้นได้ไม่ยากในบ้านเรา./

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x