เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ย้อนรอยที่มาปลาป่น กับการทำประมงที่ยั่งยืน (1)
30 มิ.ย. 2557
ย้อนรอยที่มาปลาป่น กับการทำประมงที่ยั่งยืน (1)

“ปลาป่น” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการอบแห้งปลาสด และส่วนใหญ่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ โดยเฉพาะอาหารสัตว์น้ำจะมีปลาป่นเป็นองค์ประกอบประมาณ ร้อยละ 7 - 10 แต่ในอาหารสัตว์บางชนิดจำเป็นต้องใช้ปลาป่นเป็นส่วนผสมถึง ร้อยละ 20 - 30 เพื่อให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสัตว์ เช่น ในอาหารกุ้ง เป็นต้น ส่วนขั้นตอนวิธีการกว่าจะได้มาซึ่งปลาป่นคุณภาพ จะเป็นอย่างไรวันนี้จะพาท่านผู้อ่านไปย้อนรอยกัน

เริ่มจากการออกเรือของผู้ประกอบการประมงใน 23 จังหวัดทั้งในแถบอันดามันและฝั่งอ่าวไทย โดยระบบฐานข้อมูลเรือประมงไทย จากสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กรมประมง ระบุว่า มีเรือประมงกระจายอยู่ใน 23 จังหวัด มากถึง 57,141 ลำ เป็นเรือที่จดอาชญาบัตรเครื่องมือทำการประมง รวม 18,089 ลำ (ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศ กรมประมง) ที่เหลือส่วนมากเป็นเรือขนาดเล็กและเรือประมงพื้นบ้าน ที่ใช้เครื่องมือประมงเป็นเครื่องมือนอกพิกัด โดยชาวประมงต้องขอจดทะเบียนผู้ประกอบอาชีพการทำประมง ซึ่งปริมาณการจับสัตว์น้ำเค็มจากแหล่งธรรมชาติของเรือร่วม 5 หมื่นลำดังกล่าว เมื่อปี 2554 ประมาณ 1,610,400 ตัน ในจำนวนนี้เป็นปลา 1,273,700 ตัน ประกอบด้วยปลาเบญจพรรณ (Food Fish) สำหรับคนบริโภค อยู่ 917,900 ตัน ส่วนอีก 355,800 ตัน เป็นปลาเป็ด (by-catch Fish) หรือที่ชาวเรือเรียกว่า ปลาเรือ ซึ่งเป็นปลาที่คนไม่นิยมรับประทาน หรือไม่ได้คุณภาพตามที่ตลาดต้องการ ปลาเหล่านี้เองที่จะกลายมาเป็นปลาวัตถุดิบในการทำปลาป่น

ทั้งนี้ กรมประมงให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันการทำประมงในประเทศไทย  เป็นการทำประมงในน่านน้ำของประเทศไทยจำนวน 50%  อีก 50% ที่เหลือเป็นการทำประมงนอกน่านน้ำของประเทศไทย โดยเรือประมงก็มีหลากหลายประเภท หากจำแนกตามเครื่องมือประมง อาทิ อวนลาก อวนล้อมจับ อวนตา ส่วนการออกเรือก็จะมีรอบการออก หากเป็นเรือเล็ก ก็จะออกรอบละ 15 วัน ส่วนเรือใหญ่จะออกประมาณ 10 วัน บ้างก็ไปนานหลายเดือน โดยจะมีเรือทัวร์หรือเรือลำเล็กคอยขนถ่ายปลาที่จับได้มาส่งที่ฝั่ง บ้างก็เก็บปลาไว้ในท้องเรือแล้วนำขึ้นฝั่งคราวเดียว เมื่อนำปลามาที่ฝั่งแล้ว ที่ท่าปลาจะทำการคัดเอาปลาสำหรับบริโภคลงก่อน การทำงานขั้นตอนนี้จะต้องแข่งกับเวลา โดยปกติต้องถ่ายเทปลาให้เสร็จใน 10 ชม. ระหว่างนี้จะมีพ่อค้ามาคัดปลาที่ต้องการเพื่อนำไปจำหน่ายต่อ รวมถึงคนในอุตสาหกรรมปลากระป๋อง และซูริมิ (เนื้อปลาแปรรูป) มารับซื้อปลาเข้าโรงงาน ขณะที่บางเจ้าจะมีโรงงานปลาป่นมารับปลาเป็ดที่ท่าเรือ หรือบางที่เอาเรือเล็กล่องไปรับปลาเรือจากเรือใหญ่เพื่อนำไปทำปลาป่นทันที และโรงงานปลาป่นบางแห่งก็จะให้เรือประมงมาขึ้นปลาที่ท่าของโรงงานเลยก็มีสุดแล้วแต่การประสานงานของแต่ละโรงงาน

สำหรับปลาเป็ดที่จะนำมาทำปลาป่นนั้นก็มีหลายเกรด ปลาที่เกรดดีหน่อย ก็จะได้จากการจับปลาด้วยอวนดำ คือการใช้อวนล้อมจับปลาทั้งฝูง ซึ่งจะจับได้ในช่วงเดือนแรม ปลาที่ได้จะมีคุณภาพดี ส่วนปลาที่ได้จากอวนลาก ด้วยการลากอวนไปที่บริเวณพื้นทะเล จะลากได้ปลาผิวดินปลาหน้าดิน คุณภาพปลาจะรองลงมา และปลาที่จับโดยอวนรุน หรือเรือรุน คุณภาพปลาจะต่ำสุด เนื่องจากปลาจะติดโคลน อย่างไรก็ดีตามกฎหมายแล้วอวนรุนสามารถทำได้แต่ต้องออกเรือหาปลาห่างจากชายฝั่งมากกว่า 3 กม. เพื่อไม่ให้การลงอวนไปทำร้ายปะการังและปลาหน้าดิน

ปัจจุบันไทยมีโรงงานผลิตปลาป่น 86 แห่ง กระจายอยู่ใน 18 จังหวัด โดยจะใช้ปริมาณสัตว์น้ำในการผลิตปลาป่นรวมปีละ 1,287,709 ตัน แบ่งเป็น เศษปลาที่ได้จากโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ (by-product) เช่น โรงงานซูริมิ โรงงานผลิตทูน่ากระป๋อง โรงงานผลิตลูกชิ้นปลา รวม 783,824 ตัน คิดเป็น 61 % ของวัตถุดิบทั้งหมด และเป็นปลาที่จับได้แต่เหลือจากการบริโภคหรืออุตสาหกรรม (by-catch) ได้แก่ ปลาเป็ด 355,813 ตัน หรือ 28% ของวัตถุดิบทั้งหมด รวมถึงเป็นปลาอื่นๆอีก 148,072 ตัน คิดเป็น 11% ของวัตถุดิบทั้งหมด (ข้อมูลจากศูนย์สารสนเทศ กรมประมง) โดยปลาเหล่านี้จะรับซื้อจากเรือประมงหรือพ่อค้าคนกลางในพื้นที่ ซึ่งปริมาณปลาทั้งหมดสามารถผลิตเป็นปลาป่นได้ประมาณ 327,666 ตันต่อปี มีมูลค่า 8,607,529 บาท (คิดจากราคาหน้าโรงงานเฉลี่ยที่ 30.50 บาท) ทั้งนี้ ปลาป่นนับเป็นอีกหนึ่งสินค้าส่งออกที่นำเงินตราต่างชาติเข้าประเทศไทย โดยมีประเทศปลายทางที่สำคัญได้แก่ เวียดนาม จีน มาเลเซีย และอินโดนิเซีย ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ในการทำปลาป่นของไทยยังคงมีข้อกังขาเกี่ยวกับที่มาของวัตถุดิบ ที่อาจได้มาจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้จัดทำระบบรับรองปลาป่น ซึ่งเป็นมาตรการด้านความยั่งยืนชุดแรกและมาตรการเดียวของไทย โดยเป็นระบบสมัครใจ มิได้มีการบังคับจากภาครัฐ และระบบการบันทึกยังคงเป็นการรับรองตัวเอง โดยชาวประมงเป็นผู้บันทึกข้อมูล ทั้งจุดจับปลา ประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้จับปลา ประเภทของปลาที่จับได้ ลงในสมุดบันทึกการทำประมงด้วยตัวเอง เพื่อให้โรงงานผลิตปลาป่นนำไปใช้ โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมประมงเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องในการบันทึก นี่จึงยังคงมีช่องโหว่ที่ทำให้ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของข้อมูลได้อย่างแท้จริง เพราะยังขาดแคลนเครื่องมือตรวจสอบ อาทิ ระบบระบุพิกัดผ่านดาวเทียม ที่จะช่วยบอกได้ว่าเรือประมงจับปลาตรงจุดที่รายงานจริงหรือไม่

หากกวาดตามองภาพรวมการทำประมงของไทยแล้ว ยังดีอยู่บ้างที่มีภาคส่วนที่ให้ความสำคัญและดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานสู่ความยั่งยืน อย่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ที่ได้เปิดตัวโครงการ “ทำประมงในอ่าวไทยอย่างยั่งยืน” ครั้งแรก เมื่อเดือนเมษายน 2013 เพื่อคุ้มครองอนาคตของน่านน้ำของประเทศไทยและเพื่อให้ชุมชนชาวประมงสามารถทำมาหากินได้ถึงรุ่นลูกหลาน โครงการของซีพีเอฟนี้ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจของการประมงผิดกฎหมาย...

ยังไม่จบเพียงเท่านี้ ! ใน Part 2  เผยถึง  “CPF 10 Point Plan” บรรลุเป้าหมายแผน 10 ประการ , มาตรการราคาพรีเมียน 3 บาท รายเดียวของประเทศไทย อีกทั้ง ประวัติศาสตร์ผนึก 8 สมาคมห่วงโซ่การประมงตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำใหญ่ Thai Sustainable Fisheries Roundtable (TSFR) ...

 

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x