เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
มาตรฐานอาหารไทย ปลอดภัยระดับโลก
05 ม.ค. 2558
มาตรฐานอาหารไทย ปลอดภัยระดับโลก

มาตรฐานอาหารไทย ปลอดภัยระดับโลก
โดย  เพ็ชร ชินบุตร  ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม


“อุตสาหกรรมอาหาร” เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายในการพัฒนาของภาครัฐ เพราะเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารของไทยมีการใช้วัตถุดิบในประเทศ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85 ที่เหลือเป็นการนำเข้า ดังนั้น การเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารก็จะเป็นอานิสงค์โดยตรงกับเกษตรกรในประเทศผู้เป็นต้นน้ำของห่วงโซ่การผลิตให้เติบโตตามไปด้วย รวมถึงยังมีบทบาทเชื่อมโยงไปถึงธุรกิจและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งค้าปลีก ค้าส่ง ร้านอาหารและโรงแรม ให้ขยายตัวตามไปด้วยตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

 

 ความสำคัญของอุตสาหกรรมอาหารในเชิงตัวเลขเศรษฐกิจ ก็จะเห็นได้จาก

1.)สร้างมูลค่าเพิ่ม (GDP) ให้กับระบบเศรษฐกิจสูงที่สุดในบรรดาอุตสาหกรรมทั้งหมดของไทย โดยมีสัดส่วน 23.2% ของ GDP ภาคอุตสาหกรรมการผลิต 

2.) สร้างรายได้เข้าประเทศจากการส่งออกสูงที่สุดในบรรดาอุตสาหกรรมทั้งหมด โดยในปี 2557 คาดว่าการส่งออกอาหารของไทยจะมีมูลค่าเกิน 1 ล้านล้านบาท

3.) ผลประโยชน์จากรายได้ส่วนใหญ่ตกอยู่ภายในประเทศ โดยในปี 2557คาดว่าไทยจะได้ดุลการค้าอาหารมูลค่า 6.7 แสนล้านบาท ตัวเลขเกินดุลการค้าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมทั้งหมด

4.) มีจำนวนสถานประกอบการมากที่สุด ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารมีจำนวนสถานประกอบการกว่า 1 แสนราย หรือ 26% ของอุตสาหกรรมการผลิต (นับรวมผู้ผลิตขนาดเล็กที่ไม่ใช่โรงงานด้วย)

5.) มีการจ้างงานสูงที่สุดในอุตสาหกรรมทั้งหมด ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารมีการจ้างงานประมาณ 8 แสนราย หรือ 20% ของอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งในจำนวนนี้จำแนกเป็นแรงงานมีทักษะมากกว่าแรงงานไร้ทักษะคิดเป็นสัดส่วน 54% ต่อ 46% โดยประมาณ

 

เมื่ออุตสาหกรรมอาหารมีความสำคัญขนาดนี้ อุตสาหกรรมนี้ก็ควรได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้เติบโตขยายตัวก้าวไกลไปในเวทีโลก ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีองค์ประกอบหลายด้าน ส่วนหนึ่งคือการสนับสนุนจากภาครัฐที่จำเป็นต้องมีนโยบายลดอุปสรรคที่เป็นข้อจำกัด รวมทั้ง ต้องมีมาตรการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวให้ทันกับกระแสของการบริโภคในอนาคต โดยมีประเด็นสำคัญคือ

 1.) ส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อลดต้นทุนให้ราคาสินค้าแข่งขันในตลาดโลกได้ เนื่องจากต้นทุนของอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่มาจากวัตถุดิบซึ่งมีราคาสูงมาตั้งแต่ระดับเกษตรกรต้นน้ำ

2.)ส่งเสริมการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับสินค้า (Value creation) มิได้มีความหมายเฉพาะนำสินค้าเกษตรมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเท่านั้น แต่การสร้างคุณค่าเพิ่มที่ทำให้อาหารสามารถตอบสนองความต้องการที่ซับซ้อนมากกว่าโภชนาการ  ไม่ว่าจะเป็นคุณประโยชน์ด้านสุขภาพ  ด้านอารมณ์/ความรู้สึกดีที่ได้บริโภค ความสะดวก การคำนึงสิ่งแวดล้อม การแสดงความเป็นตัวตนที่เฉพาะเจาะจง  ต้องค้นหากระบวนการพัฒนาตัวสินค้าเพื่อให้ได้สินค้าที่มีความแตกต่างเป็นทางเลือกใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

3.) ส่งเสริมการเจาะตลาดแบบมีกลยุทธ์และตรงใจลูกค้า กลยุทธ์นี้เน้นการทำความเข้าใจตลาดในเชิงลึกเพื่อรู้จักผู้บริโภคให้มากขึ้น รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์สินค้าไทยให้ผู้บริโภครู้จักและเชื่อมั่นในสินค้าไทย

4.) พัฒนาผู้ประกอบการเข้าสู่มาตรฐานและรักษาคุณภาพสินค้าให้เทียบเท่าสากล แนวทางนี้จะเน้นในด้านการพัฒนาด้านความปลอดภัยอาหาร (Food safety) ให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และเป็นใบเบิกทางในการเจาะตลาดอาหารโลกที่นับวันกฎระเบียบมาตรฐานอาหารโลกจะเพิ่มขึ้นความเข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ

5.) เตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่การแข่งขันในยุคดิจิตัล โดยใช้การสื่อสารบนโลกออนไลน์ให้เป็นประโยชน์แก่ธุรกิจมากขึ้น และเข้าถึงลูกค้าอย่างใกล้ชิด จะเป็นการเปิดตลาดแบบไร้ข้อจำกัด ผู้ประกอบการขนาดเล็กก็สามารถเติบโตได้โดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรสูง

 

 ทั้งนี้ เพราะในตลาดอาหารโลกนั้น มีประเทศผู้ผลิตสินค้าอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก และไม่มีรายใดมีอิทธิพลเหนือตลาดอย่างชัดเจน (ในระดับภาพรวมทุกสินค้า) ราคาจำหน่ายสินค้าจึงถูกกำหนดโดยตลาด ขณะเดียวกันตลาดโลกก็เข้าสู่ยุคการค้าเสรี สินค้าและปัจจัยการผลิต สามารถเคลื่อนย้ายได้เสรีมากขึ้น จึงมีสินค้าที่ผลิตได้เหมือนๆ กันออกสู่ตลาด ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร มีส่วนเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลไปสู่ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าทดแทนได้ง่าย เมื่อผนวกกับพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ ต่อการกำหนดทิศทางอุตสาหกรรมอาหารโลกในอนาคต ก็พบว่า ความต้องการอาหารของผู้บริโภคยุคใหม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน และมีความซับซ้อนมากขึ้น

 

 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้บริโภคจะมีความต้องการอาหารเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย มีความซับซ้อนมากขึ้นเพียงใด แต่คุณค่าทางโภชนาการและความปลอดภัยของอาหารยังเป็นพื้นฐานสำคัญที่ไม่เคยล้าสมัย เห็นได้จากกฎระเบียบมาตรฐานอาหารของแต่ละประเทศโดยเฉพาะประเทศพัฒนา นับวันมีแต่จะเพิ่มความเข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผู้ผลิตที่อยู่ในวงจรการค้าโลกจำเป็นต้องก้าวให้ทันกับมาตรฐานความปลอดภัยดังกล่าว

 

 สำหรับประเทศไทยมีการนำระบบมาตรฐาน ทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยที่อ้างอิงมาตรฐานขององค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ มาตรฐานโคเด็กซ์, องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) และอนุสัญญาอารักขาพืชระหว่างประเทศ (IPPC) มาประยุกต์ใช้ตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหาร ตั้งแต่การนำเข้า การผลิตวัตถุดิบระดับฟาร์ม  การผลิตและการแปรรูประดับโรงงาน  การบรรจุ  การเก็บรักษา และการจัดจำหน่าย จนกระทั่งถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ดังนั้น หากถามว่ามาตรฐานความปลอดภัยในอาหารไทยอยู่ในระดับไหน ก็ตอบได้อย่างมั่นใจว่า “มาตรฐานความปลอดภัยในอาหารของไทยนั้นอยู่ในระดับคุณภาพมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับของคู่ค้าทั่วโลกไม่แพ้ชาติใด”

 

 ไม่ว่าการแข่งขันในเวทีโลกจะเข้มข้นหนักหน่วงอย่างไร แต่ภาคเอกชนของไทยก็มีขีดความสามารถสูงมาก สามารถตอบสนองมาตรฐานต่างๆที่ประเทศคู่ค้านำมาบังคับใช้ได้อย่างรวดเร็วและก้าวหน้ามากกว่าหลายประเทศในอาเซียน แม้ว่ามาตรฐานนั้นจะมีข้อกำหนดที่เข้มงวดสูงก็ตาม ซึ่งหากพิจารณาที่ตัวเลขการส่งออกอาหารของไทยในปี 2557 จะพบว่าไทยส่งออกอาหารปริมาณสูงถึง 1,010,000,000,000 บาท ซึ่งอาหารส่งออกเหล่านี้แน่นอนว่าจะต้องผ่านการผลิตที่ได้มาตรฐานทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยสอดคล้องกับข้อกำหนดของประเทศคู่ค้าและหากพิจารณาประเทศคู่ค้าหลักๆของไทยที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบัน ต้องมีชื่อของ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งขึ้นชื่อในด้านการกำหนดกฎระเบียบและมาตรการการนำเข้าที่เข้มงวด เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าสินค้าอาหารนำเข้านั้นมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในประเทศของตนอย่างแท้จริง เป็นการการันตีมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหารของบ้านเราได้เป็นอย่างดี 

 

 เมื่อเกษตรกรและผู้ผลิตบ้านเรามีขีดความสามารถในการประยุกต์ใช้ระบบคุณภาพและมาตรฐาน ความปลอดภัยระดับสากล  ตั้งแต่ฟาร์มจนกระทั่งถึงโต๊ะผู้บริโภคในประเทศ  ตลอดจนสินค้าอาหารส่งออก  ที่ผู้ผลิตของไทยเรามีความสามารถในการประยุกต์ใช้ระบบมาตรฐานที่มีความเข้มงวดในระดับสูง เช่น มาตรฐาน BRC, IFS และ FSSC 22000 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้า เช่น สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นเช่นนี้ .... เราเองในฐานะคนไทยก็สามารถที่จะวางใจได้ว่า อาหารการกินในบ้านเรานั้นมีมาตรฐานความปลอดภัย ต่อการบริโภคไม่แพ้ชาติใดในโลก./

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x