เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ตามไปดูความสำเร็จเวียดนาม ดันแพนกาเซียส ดอร์รี่ สู่ปลาเศรษฐกิจ
14 ต.ค. 2558
ตามไปดูความสำเร็จเวียดนาม ดันแพนกาเซียส ดอร์รี่ สู่ปลาเศรษฐกิจ

เวียดนาม นับเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่นับว่ามีพัฒนาการและแนวโน้มความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจในเชิงบวกอย่างต่อเนื่อง นั่นเพราะยังคงความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ กอปรกับเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง ทั้งยังมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง เวียดนามจึงเป็นอีกประเทศที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาธุรกิจผลิตสินค้าเกษตรและแปรรูปสินค้าเกษตร ที่รัฐบาลเวียดนามให้ความสำคัญไม่แพ้การพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ วันนี้เองมีสินค้าเกษตรอย่างหนึ่งที่เวียดนามผลักดันให้เป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศ คือ “ปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่” (pangasius hypophthalmus) และเป็นปลาเศรษฐกิจของเวียดนาม โดยปัจจุบันเป็นประเทศผู้เลี้ยงและผู้ส่งออกปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ รายใหญ่ที่สุดโดยผลิตได้ถึง 1.5 ล้านตัน และมีการส่งออกผลผลิตปลากว่า 90% หรือกว่า 650,000 ตันต่อปี มีตลาดส่งออกสำคัญ 9 ประเทศ คือ อเมริกา ยุโรป อาเซียน บราซิล เม็กซิโก จีน ซาอุดิอาระเบีย โคลัมเบีย และไทย จากข้อมูลของ Vietnam Association of Seafood Exporter and Producers (VASEP) พบว่าในปี 2555 เวียดนามมีมูลค่าส่งออกปลาชนิดนี้สูงถึง 1,745 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในผู้นำเข้าปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ มาจำหน่ายอยู่หลายราย โดยปลาชนิดนี้ยังเข้ามาแพร่หลายและสามารถตีตลาดบ้านเราได้ จนได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี

จากปริมาณการส่งออกที่มีมูลค่าสูงนี้เอง ที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การเลี้ยงปลาชนิดนี้ต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ เนื่องจากประเทศผู้นำเข้ามีความเข้มงวดและมาตรฐานด้านความปลอดภัยในอาหาร (Food Safety) สูง และผู้นำเข้าเหล่านี้เองที่มีส่วนในการผลักดันให้การเลี้ยงปลาชนิดนี้เข้าสู่มาตรฐาน ไม่ใช่การเลี้ยงแบบพื้นบ้านอย่างเมื่อ 10 กว่าปีก่อน โดยผู้นำเข้าจะต้องส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบการเลี้ยง และร่วมกันปรับปรุง กระบวนการเลี้ยงให้ทันสมัย ทั้งการจัดการและการแปรรูป เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นคุณูปการให้อุตสาหกรรมการเลื้ยงปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ เติบโตจนกลายเป็นปลาที่มีมูลค่าถึงปัจจุบัน

สำหรับบริษัทเอกชนของไทยที่ได้เข้าไปลงทุนในธุรกิจการเพาะเลี้ยง และแปรรูปปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ ที่ประเทศเวียดนาม คือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ที่ทุกขั้นตอนดำเนินการภายใต้กระบวนการมาตรฐาน และได้เผยเคล็ดลับความสำเร็จ ดังนี้

 

3 ปัจจัยหลัก ผลักดันความสำเร็จการเลี้ยงปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่

หากจะล้วงลึกถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ หรือ Key Success Factor ในการเลี้ยงปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ เกิดจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ 1. พันธุ์ปลาที่ดี 2. คุณภาพน้ำที่ดี และ 3. การใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูป

เรื่องพันธุ์ปลา นับเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ ซึ่งน่ายินดีที่มีบริษัทคนไทยเป็นหนึ่งในเบื้องหลังของความสำเร็จ จากการที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ปลา ของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันในชื่อซีพีเอฟ ได้มุ่งปรับปรุงให้ได้ปลาที่มีความแข็งแรง มีเนื้อมาก และมีเนื้อสีขาวซึ่งตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งจะถูกควบคุมโดยมาตรฐานที่รัฐบาลเวียดนามรับรอง ทำให้เกษตรกรชาวเวียดนามมีพันธุ์ปลาจา ที่ดีสำหรับเลี้ยงในเชิงพาณิชย์

ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ คุณภาพน้ำ เพราะที่เวียดนามเขาจะเลี้ยงปลาบริเวณริมแม่น้ำโขง แม่น้ำสายใหญ่ที่มีจุดเริ่มต้นในทิเบตที่ประเทศจีนไหลผ่าน 6 ประเทศ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และสิ้นสุดที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งช่วงปลายของแม่น้ำโขงในประเทศเวียดนามก่อนไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ แม่น้ำโขงได้แยกตัวออกเป็น 9 สาย ที่คนเวียดนามเรียกว่า กิ่วล่อง หรือ กิ๋วหล่อง แปลว่า มังกร 9 หัว โดยแม่น้ำกิ่วล่องจะไหลผ่านประเทศเวียดนามทางใต้เป็นระยะทาง 230 กิโลเมตร ในบริเวณที่เรียกว่า สามเหลี่ยมแม่โขง หรือแม่โขงเดลต้า (Mekong Delta) ทำให้น้ำมีปริมาณมากและมีคุณภาพดี สำหรับการเลี้ยงปลาชนิดนี้จะทำการเลี้ยงในบ่อริมฝั่งแม่น้ำโขง โดยอาศัยระดับน้ำที่ต่างกันถึง 2 เมตร จากการขึ้นลงตามธรรมชาติในช่วงเช้าและเย็นเป็นตัวปรับสภาพน้ำให้มีคุณภาพอยู่เสมอ ซึ่งการที่มีกระแสน้ำไหลแรงและมีน้ำขึ้นน้ำลงนี้เอง ที่ถือเป็นหัวใจหลักของการเลี้ยงปลาในเวียดนาม เพราะทำให้เกิดการไหลเวียนของน้ำอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการเลี้ยงปลาชนิดนี้ ที่ต้องมีการถ่ายเทน้ำอย่างน้อยร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำในบ่อเป็นประจำทุกวัน และกระแสน้ำที่ไหลเวียนอยู่ตลอดเวลาเช่นนี้ ยังทำให้น้ำที่ใช้เลี้ยงปลามีค่าออกซิเจนสูงขึ้น เอื้อต่อการเจริญเติบโต และสามารถเลี้ยงอย่างหนาแน่นได้

อีกปัจจัยสู่ความสำเร็จคือ การใช้อาหารเลี้ยงสัตว์คุณภาพที่ไม่ก่อให้เกิดสีเหลืองแทรกเข้าไปในชั้นไขมัน และปลาไม่ได้กินอะไรที่เป็นของเสียเลย โดยเกษตรกรเลือกใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูป เพราะอาหารเม็ดมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถควบคุมคุณภาพ และปริมาณโภชนาการให้เหมาะสมกับปลาได้ ทุกวันนี้เกษตรกรชาวเวียดนามทุกรายจึงหันมาใช้อาหารเม็ดในการเลี้ยงปลา อย่างเช่น อาหารปลาซีพี ที่ผ่านการคิดค้น วิจัย และพัฒนา จนได้อาหารสูตรพิเศษ ที่ไม่มีวัตถุดิบที่มีเม็ดสีสีเหลืองเป็นส่วนผสม ทำให้เนื้อปลาที่ผลิตได้เป็นสีขาวหรือสีชมพูอ่อนๆ น่ารับประทาน เนื้อแน่น และที่สำคัญคือไม่มีกลิ่นคาว จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั่วไป เมื่อผนวกกับการจัดการฟาร์มถูกวิธีและได้มาตรฐาน มีการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด ทำให้สามารถเลี้ยงปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ ได้อย่างหนาแน่น ซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ในวงกว้าง นอกจากนี้ วิธีการให้อาหารที่ทั่วถึงและสม่ำเสมอ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปลาทุกตัวได้รับอาหารอย่างเพียงพอ ปลาไม่แออัดขณะกินอาหาร ต่างกับในอดีตที่จะใช้วิธีเทอาหารให้ในคราวเดียว ปลาจึงแย่งกันกินอาหาร ทำให้เกิดการบาดเจ็บ เสียหาย และส่งผลต่อคุณภาพซาก

 

กระบวนการเลี้ยง-แปรรูปมาตรฐาน สู่เนื้อปลาคุณภาพ

            ในเวียดนามซีพีเอฟมีการเลี้ยงปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ อยู่ในพื้นที่ 5 จังหวัดในแนวแม่โขงเดลต้า ได้แก่ จังหวัดด่องทับ อานยาง หวินลอง เบ็นแจ และซ๊อกจาง โดยมีพื้นที่การเลี้ยงขนาดใหญ่ติดอันดับ Top 10 ของเวียดนาม โดยในปี 2557 ที่ผ่านมา ซีพีเอฟมีผลผลิตปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ รวม 32,000 ตัน ซึ่งปริมาณทั้งหมดนำเข้าโรงงานแปรรูปของซีพีเวียดนามทั้งหมด โดยปี 2558 ซีพีเอฟตั้งเป้าหมายการผลิตไว้ที่ประมาณ 35,000 ตัน

สำหรับการเลี้ยงปลาของซีพีเอฟเป็นกระบวนการที่ปลอดจากสารเคมีในทุกขั้นตอน เช่นเดียวกับการผลิตปลาคุณภาพอย่างปลานิล-ปลาทับทิม ที่ใช้ในเมืองไทย เริ่มจากมีโรงฟักไข่ (Hatchery) เพื่อเพาะลูกปลา จากนั้นจะทำการอนุบาลปลาจนได้ขนาด 30 กรัม แล้วจึงปล่อยลงเลี้ยงในบ่อเลี้ยงเพื่อผลิตเป็นปลาเนื้อ เลี้ยงต่อไปจนน้ำหนักประมาณ 900 กรัม จึงจับออกเพื่อส่งต่อไปยังโรงงานแปรรูปต่อไป กระบวนการเลี้ยงทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 6-7 เดือน โดยการเลี้ยงปลาของซีพีเอฟอยู่ภายใต้หลักการ 5 หัวใจเลี้ยงสัตว์ที่ซีพีเอฟให้ความสำคัญมาโดยตลอด คือ  1.พันธุ์ดี  2.อาหารสัตว์ดี 3.สถานที่เลี้ยงที่ดี 4.การจัดการฟาร์มที่ดี และ 5.การป้องกันโรคอย่างเข้มงวด สู่การแปรรูปที่มีมาตรฐาน

เมื่อปลาได้น้ำหนักตามที่ต้องการแล้ว กรมประมงของเวียดนามจะเข้ามาสุ่มตรวจปลาเพื่อตรวจสอบสารเคมีตกค้าง เมื่อผ่านการตรวจแล้วปลาสดจากฟาร์มจะถูกลำเลียงโดยเรือเข้าสู่โรงงานแปรรูปมาตรฐานด้วยเครื่องจักรทันสมัย โดยใช้สายพานลำเลียงเข้าสู่โรงงานโดยตรง ทำให้ปลาไม่บอบช้ำ แล้วต่อไปยังแผนกแล่เนื้อโดยแรงงานฝีมือ ที่สามารถแล่เนื้อได้อย่างถูกต้องและสวยงาม สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อปลาล้วนจะเข้าสู่ขั้นตอนการแยกหนัง แล้วจึงทำการตัดแต่งเอาส่วนท้องและไขมันออก ต่อจากนั้นจะทำการแยกขนาดและสีของเนื้อปลา และทำการแช่เยือกแข็งด้วยเครื่อง IQF ก่อนจะบรรจุในหีบห่อเพื่อเตรียมส่งออก โดยจะต้องผ่านการทดสอบในห้องแล็บเพื่อยืนยันคุณภาพก่อนส่งไปจำหน่าย ทั้งนี้ ที่โรงงานผลิตของซีพีเอฟมีมาตราฐานรับรองมากมาย อาทิ HACCP, GMP, GAP, Halal นอกจากนี้ ยังมีการขอรับรอง ISO 9001:2000, BRC, IFS เพื่อให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น

อีกส่วนสำคัญที่ไม่อาจมองข้าม คือการเข้ามาส่งเสริมเกษตรกรชาวเวียดนามให้เลี้ยงปลา เริ่มจากการผลิตอาหารปลาจำหน่ายให้กับเกษตรกร เมื่อปี 2547 โดยซีพีเอฟเข้ามาให้สนับสนุนด้านเทคนิคและวิชาการ ส่วนผลผลิตปลาเกษตรกรจะจำหน่ายให้กับห้องเย็นในพื้นที่ จากนั้นบริษัทจึงหันมาส่งเสริมให้ห้องเย็นดำเนินกิจการเลี้ยงปลาแบบครบวงจรด้วยการรับซื้อปลาคืนจากเกษตรกรที่อยู่ในเครือข่าย เพื่อให้สามารถผลิตปลาเนื้อคุณภาพป้อนเข้าโรงงานอย่างต่อเนื่อง วันนี้อาชีพเลี้ยงปลาจึงกลายเป็นอาชีพที่มั่นคงสร้างรายได้ที่ยั่งยืน สามารถสร้างผลผลิตปลาคุณภาพดี สู่กระบวนการแปรรูปทันสมัย ได้มาตรฐานในระดับสากล สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้อย่างภาคภูมิใจ และกลายเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจแก่เวียดนาม

 

คุณค่าทางโภชนาการเต็มคำ แปลงเป็นเมนูแสนอร่อยได้หลากหลาย

ปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ เป็นปลาน้ำจืด ในประเภทปลาหนัง ไม่มีเกล็ด เนื้อนุ่ม มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นอย่างครบถ้วน มีกรดไขมันจำเป็น เช่น โอเมก้า-3 รวมถึงวิตามินบี 2ซึ่งร่างกายต้องใช้ในการเผาผลาญโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต มีวิตามินดีที่กระดูกจำเป็นต้องใช้ในการสะสมแคลเซียม นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ไอโอดีน และแมกนีเซียม เหมาะสำหรับประกอบอาหารได้หลายประเภท ทั้งต้ม นึ่ง ย่าง ทอด ผัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณแม่ส่วนมากนิยมนำไปป้อนลูกน้อย เพราะไม่มีก้าง รับประทานสะดวก ที่สำคัญเนื้อปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ ของซีพีเอฟนั้นมีให้เลือกหลายแบบทั้งเนื้อปลาล้วน และแบบติดหนัง ที่สีชมพูอ่อนน่าทาน แม้ผ่านการปรุงเนื้อก็ยังคงแน่นไม่เหลว แถมไม่มีกลิ่นคาว

จากกระบวนการเลี้ยงและการแปรรูปปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ ที่มีมาตรฐานดังกล่าวข้างต้น ทำให้รู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆในการเลี้ยงและแปรรูปให้ได้ปลาคุณภาพสู่ผู้บริโภค จากกระบวนการผลิตปลาคุณภาพด้วยมาตรฐานทั้งหมดนี้ จึงไม่แปลกใจที่เวียดนามสามารถผลักดันให้ปลาน้ำจืดชนิดนี้ กลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่นำเงินตราเข้ามาพัฒนาประเทศของเขาได้เช่นนี้ ประเทศไทยเราเองหากเอาจริงเอาจังในการชูสินค้าเกษตรให้มีการผลิตได้มาตรฐานและดำเนินการสนับสนุนการส่งออกอย่างจริงจัง เช่นเดียวกับเวียดนามบ้าง ภาคเกษตรก็จะมีความเข้มแข็งและกลายเป็นสินค้าสร้างชาติได้ไม่ยากนัก./

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x