เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ตามไปดู...การพัฒนาภาคเกษตรในอาเซียนกับ “ซีพีเอฟ”
24 พ.ค. 2559
ตามไปดู...การพัฒนาภาคเกษตรในอาเซียนกับ “ซีพีเอฟ”

ตามไปดู...การพัฒนาภาคเกษตรในอาเซียนกับ “ซีพีเอฟ”

โดย ผู้เข้าอบรม โครงการอบรมความรู้เรื่องการเป็นประชาคมอาเซียนสำหรับสื่อมวลชน รุ่นที่ 4

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

 

ในจำนวนสมาชิกประชาคมอาเซียน 10 ประเทศ หากไม่นับสิงคโปร์และบรูไนแล้วคงกล่าวได้ว่าทุกประเทศล้วนเป็นประเทศเกษตรกรรมและถ้าจะนับการเป็นผู้นำในการพัฒนาภาคเกษตรปศุสัตว์แล้วประเทศไทยก็จัดอยู่ในแถวหน้าที่มีมาตรฐานการผลิตเทียบเท่าระดับโลกก้าวไปถึงการเป็นธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมแล้ว ดังเช่นการผลิตไก่เนื้อที่ไทยจัดอยู่ในลำดับ 9 ของโลก และส่งออกไก่เนื้อมากเป็นอันดับ 4 ของโลก มิพักต้องพูดถึงในระดับอาเซียน ... เมื่อไทยมีความสามารถสูงที่สุดในเรื่องเกษตรปศุสัตว์ การผสานความเป็นอาเซียนด้วยเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ย่อมถูกถ่ายทอดผ่านการขยายตลาดขยายการลงทุนของแต่ละบริษัทในอุตสาหกรรมนี้เข้าสู่หลายๆประเทศอาเซียน

 

บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) หรือซีพีเอฟ เป็นหนึ่งในบริษัทคนไทยที่มีประสบการณ์ขยายตัวสู่อาเซียนมายาวนานกว่า 40 ปี ได้นำเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ถ่ายทอดสู่เกษตรกรในแต่ละประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นไทย พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยปัจจัยส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการก้าวสู่ประเทศต่างๆในอาเซียนของซีพีเอฟนั้น ดร.อาชว์ เตาลานนท์ ผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่าเกิดจาก3 เทคนิคนั่นคือ 1.)การเอาใจเขามาใส่ใจเรา 2.)การเข้าไปเพื่อสร้างประโยชน์ไปช่วยเหลืออย่างเป็นมิตรและ 3.)การสนับสนุนคนของเขาให้เติบโตไปกับองค์กรของเรา ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญา 3 ประโยชน์ของเครือฯที่ระบุว่าทุกธุรกิจที่ทำต้องเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ต่อประชาชนในประเทศนั้น และจะเกิดประโยชน์ต่อบริษัทตามมา ลองมาติดตามบางประเทศอาเซียนที่ซีพีเอฟเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคเกษตรกัน...

 

ซินจ๋าว...เวียดนาม!!

ซีพีเอฟ เข้าไปลงทุนในเวียดนามตั้งแต่ปี 2531 ด้วยการจัดตั้งสำนักงานตัวแทนการค้า ณ นครโฮจิมินห์และในปี 2536 ได้ก่อตั้งบริษัท ซี.พี.เวียดนาม ไลฟ์สต๊อคจำกัด  ทำการก่อตั้งโรงงานผลิตอาหารสัตว์บกภาคใต้ที่จังหวัดด่องนายเป็นแห่งแรก หลังจากนั้นในปี 2554 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ซี.พี. เวียดนาม คอร์ปอเรชั่น จากนั้นขยายไปสู่ธุรกิจเพาะเลี้ยงสุกร ไก่เนื้อ ไก่ไข่ ส่วนทางภาคใต้เน้นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะกุ้งขาวแวนนาไม และปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ ณ บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ปัจจุบัน ซีพีเวียดนาม มีธุรกิจตั้งแต่อาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงงานแปรรูป และจุดจำหน่าย ครอบคลุมทั้งในสัตว์บกและสัตว์น้ำ ซึ่งถ้าพิจารณาดีๆจะเห็นว่าซีพีเวียดนาม ยกโมเดลธุรกิจแบบครบวงจรจากประเทศไทยไปดำเนินการ การทำธุรกิจครบวงจรเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรที่จะสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งกระบวนการผลิต อันเป็นปัจจัยสำคัญในการตอบสนองความปลอดภัยในอาหาร (Food Safety) เพื่อผู้บริโภคทั่วโลก นี่จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะยกระดับภาคเกษตรของประเทศเวียดนามให้ทัดเทียมสากล

 

กรณีตัวอย่าง : เพิ่มมูลค่าปลาแพนกาเซียสดอรี่      

ประเทศเวียดนามมีการเลี้ยงปลาเป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก แตกต่างจากไทยที่เลี้ยงปลาเพื่อการบริโภคในประเทศเป็นหลัก เป็นเพราะสภาพภูมิประเทศที่เอื้อต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเดลต้า ปลาแพนกาเซียส ดอร์รี่ เป็นปลาเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง เป็นปลาสวายแม่น้ำโขงที่มีเนื้อขาว ไขมันน้อย (ต่างจากของไทยที่เป็นปลาสวายแม่น้ำเจ้าพระยา) ในแต่ละปีประเทศเวียดนามสามารถผลิตปลาชนิดนี้ปีละ 1.5 ล้านตันปลาเป็น หรือ 6-6.5 แสนตันเนื้อปลาแปรรูป โดยส่งออกกว่า 90% เดิมเวียดนามมีบริษัทประกอบธุรกิจการเพาะเลี้ยงแปรรูปปลาส่งออก แต่โดยรวมเกษตรกรชาวเวียดนามมีวิธีการลี้ยงปลาที่เป็นแบบฉบับเฉพาะตามลักษณะของสภาพท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน ขณะที่การแปรรูปเพื่อส่งออกไปยังยุโรปและอเมริกานั้น ต้องเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารและคุณภาพตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า  ซี.พี.เวียดนาม จึงเข้าไปพัฒนาทำฟาร์มเลี้ยงปลาเนื้อ "แพนกาเซียส ดอร์รี่" ถึง 8 ฟาร์ม ในพื้นที่ 100 เฮกตาร์ หรือประมาณ 625 ไร่ บริเวณดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง หรือแม่โขงเดลต้า (Mekong Delta) พร้อมตั้งโรงงานแปรรูปปลาอันทันสมัยและสามารถส่งออกผลผลิตเกือบทั้งหมดไปยัง 20 ประเทศทั่วโลก

กระบวนการจัดการฟาร์มปลาของซีพีเอฟจะเป็นการเลี้ยงปลาในฟาร์มมาตรฐานระบบปิด เลี้ยงในน้ำสะอาดที่มีน้ำใสไหลผ่านตลอดเวลาและบริเวณแม่โขงเดลต้านี้เป็นจุดที่น้ำมีคุณภาพที่ดีมาก แม้ไม่ได้เลี้ยงในจุดแม่น้ำโขงเดลต้า ซีพีเอฟยังได้ถ่ายทอดแนวคิดให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลา จัดทำระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 30% เป็นประจำทุกวัน ในเรื่องของอาหารปลา ปกติแล้วเกษตรกรชาวเวียดนามจะใช้เศษอาหารของมนุษย์ในการเลี้ยงปลา ทำให้อาจไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ได้โภชนาการตามที่ควรจะเป็นแต่ซีพีเอฟเข้าไปพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์น้ำและนำอาหารเม็ดคุณภาพสูงมาใช้ภายในฟาร์ม ทำให้กล้ามเนื้อของปลามีสีขาวน่ารับประทาน ทั้งยังสามารถเลี้ยงได้อย่างหนาแน่นซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ในวงกว้าง นอกจากนี้ ซีพีเวียดนาม ยังวางระบบโรงงานตัดแต่งเนื้อปลาที่ได้มาตรฐาน ใช้แรงงานฝีมือชาวเวียดนามที่สามารถแล่เนื้อได้อย่างถูกต้อง สวยงาม รวมถึงมีกระบวนการรักษาอุณหภูมิด้วยการแช่แข็ง นับเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าปลาเศรษฐกิจชนิดนี้ให้แก่ประเทศเวียดนาม

 

กูมูสต้า...ฟิลิปปินส์

เมื่อราว 10 กว่าปีที่ผ่านมา ในสมัยประธานาธิบดีกลอเรีย อาโรโย ได้เล็งเห็นว่าประเทศฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการพัฒนาภาคเกษตรในการผลิตเนื้อสัตว์ให้เพียงพอต่อปริมาณประชากร จึงได้เจรจาขอให้ซีพีเข้าไปช่วยพัฒนาประเทศ ซีพีเอฟจึงมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีทางการเกษตรและอาหาร ถ่ายทอดสู่เกษตรกรชาวฟิลิปปินส์ เพื่อเพิ่มผลผลิตอาหารโปรตีนคุณภาพสูง พร้อมร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่น พัฒนากระบวนการผลิตอาหารของฟิลิปปินส์ให้เข้าสู่ผู้ผลิตอาหารปลอดภัยและมีความมั่นคงทางอาหารมาโดยตลอด ทั้งยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศฟิลิปปินส์ ผ่านโครงการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อย

ปัจจุบันธุรกิจของซีพีเอฟในฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยการผลิตอาหารสัตว์บกและสัตว์น้ำ ฟาร์มไก่และฟาร์มสุกร โดยการผลิตดังกล่าวเป็นไปเพื่อรองรับความต้องการในประเทศเป็นหลักช่วยทดแทนการนำเข้าเนื้อสัตว์ และมุ่งเน้นการสร้างงานสร้างอาชีพตลอดจนสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยชาวฟิลิปปินส์ เพื่อให้ปัจจัยการผลิตอาหารมนุษย์มีคุณภาพดีตั้งแต่ต้นทางคืออาหารสัตว์ ตลอดจนพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ทั้งไก่และสุกร ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องมาถึงการผลิตอาหารคุณภาพดีเพื่อเลี้ยงผู้บริโภคในประเทศอย่างเพียงพอในราคายุติธรรม

 

ซาลามัด ดาตัง….. มาเลเซีย

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์มาเลเซีย จำกัด (ซีพีมาเลเซีย) เข้าไปดำเนินธุรกิจเกษตรในประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่ปี 2522  ดังกล่าวข้างต้นถึงเทคโนโลยีการเกษตรของซีพีจัดอยู่ในแถวหน้าของโลก ล่าสุด ซีพีมาเลเซีย ได้นำโครงการเลี้ยงไก่ไข่ครบวงจร มาสร้างประโยชน์มหาศาลแก่ประเทศมาเลเซีย โดยเชิญภาครัฐบาล กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร ของมาเลเซีย เข้ามาเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตไก่ไข่ที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม (Green Farm-Zero Waste) ศึกษาระบบBiogas ที่ทำให้ฟาร์มสามารถผลิดไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์มได้ถึง 7.2 ล้านกิโลวัตต์ต่อปี ลดต้นทุนพลังงานได้ปีละ 30 ล้านบาท ขณะที่ผลผลิตไข่ไก่ที่วางจำหน่ายจะเป็นไข่ไก่ที่ผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ  มีระบบการลำเลียงไข่โดยสายพานมาโรงบรรจุที่เรียกว่าระบบ Inline ไม่ต้องใช้มือสัมผัสไข่จนกว่าจะถึงมือผู้บริโภค เครื่องคัดขนาดไข่ของที่นี่ ถือว่าทันสมัยที่สุดในเอเชียไข่ทุกฟองจะผ่านการล้าง และฆ่าเชื้อโดยระบบ UV ถึง 3ครั้ง ก่อนเครื่องจะนำไข่ลงบรรจุภัณฑ์ ที่มีระบบฆ่าเชื้อระดับNano Technology ใหม่ล่าสุดในเอเชียไข่ไก่จากฟาร์มซีพีมาเลเซียจึงปลอดจากเชื้อ Salmonella 100% ส่วนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในมาเลเซียนั้น มีความโดดเด่นอย่างมากในการเพาะเลี้ยงกุ้ง ตลอดจนแปรรูปกุ้งตามมาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง กระทั่งสามารถส่งออกไปยัง สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น สร้างรายได้แก่ประเทศมาเลเซียอีกทางหนึ่ง  มาเลเซีย จึงเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ซีพีเอฟ เข้าไปมีบทบาทในการต่อยอดการพัฒนาภาคเกษตรในภูมิภาคอาเซียน ด้วยการส่งมอบคุณภาพการผลิตที่สะอาด ปลอดภัย ตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งช่วยให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรต่ำลง เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก

 

เชื่อมโยงอาเซียนด้วยเทคโนโลยีเกษตรและการจ้างงานคนท้องถิ่น

ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองว่าในกลุ่ม CLMV ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนนั้น ยังต้องการการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีเกษตรค่อนข้างมากไม่ว่าจะเป็นการเกษตรด้านพืชหรือปศุสัตว์ การใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีการเกษตรของซีพีเอฟ ตลอดจนผู้ประกอบการไทยรายอื่นๆเข้าไปในแต่ละประเทศจึงถือเป็นอีกหนึ่งการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนเข้าด้วยกัน และก่อให้เกิดการเติมเต็มให้แก่ประเทศสมาชิกเหล่านั้น

ความต้องการเทคโนโลยีใหม่ๆ อาจเห็นได้จากตัวอย่างของประเทศ สปป.ลาว ที่หากนักธุรกิจไทยจะเข้าไปทำธุรกิจจำเป็นต้องหาบริษัทของ สปป.ลาว เพื่อร่วมทุน แต่ถ้าเข้าไปโดยนำนวัตกรรมใหม่ๆเข้าไปให้ประเทศเขา ก็สามารถที่จะถือหุ้นเองได้ 100% โดยไม่จำเป็นต้องร่วมทุนกับคนของเขา  และไม่ใช่เพียงเทคโนโลยีเท่านั้น ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเติมเต็มในเรื่องของการจ้างงานแรงงานคนในประเทศของเขาด้วย ดังเช่นที่ สปป.ลาว ระบุว่าต้องจ้างงานชาวลาวตลอดชีวิตของธุรกิจ ขณะที่ พม่า ระบุให้ธุรกิจใหม่ ต้องเริ่มต้นจ้างงานชาวพม่าใน 2 ปีแรกที่ 25% แล้วเพิ่มจำนวนแรงงานชาวพม่าเป็น 50%75% และ 100% ตามลำดับ จึงไม่น่าแปลกใจที่ซีพีเอฟ สามารถเข้าไปต่อยอดธุรกิจในประเทศอาเซียนได้เกือบทั้งหมด นั่นเป็นเพราะซีพีเอฟใช้เทคโนโลยีเกษตรบวกกับการสร้างงานสร้างอาชีพให้คนท้องถิ่นไปพร้อมกันนั่นเอง./

กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ คว้า 5 รางวัล Asia’s Best Companies 2024 จากนิตยสาร FinanceAsia ตอกย้ำความไว้วางใจจากนักลงทุนทั่วเอเชีย
28 มิ.ย. 2567
ซีพีเอฟ คว้า 5 รางวัล Asia’s Best Companies 2024 จากนิตยสาร FinanceAsia ตอกย้ำความไว้วางใจจากนักลงทุนทั่วเอเชีย
สจล.  – ซีพีเอฟ บูรณาการความร่วมมือพัฒนาคนรุ่นใหม่ สร้างนวัตกรรมรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร
24 มิ.ย. 2567
สจล.  – ซีพีเอฟ บูรณาการความร่วมมือพัฒนาคนรุ่นใหม่ สร้างนวัตกรรมรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร

Tag:

#STEM 
ซีพีเอฟ รับโล่เกียรติยศ"คนดี รักษ์โลก" ร่วมขับเคลื่อนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
19 มิ.ย. 2567
ซีพีเอฟ รับโล่เกียรติยศ"คนดี รักษ์โลก" ร่วมขับเคลื่อนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อไก่ ปลอดภัยระดับสูงสุด
14 มิ.ย. 2567
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อไก่ ปลอดภัยระดับสูงสุด
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x