เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ซีพีเอฟ อินเดีย ร่วมมือภาครัฐและหน่วยงานประมงของอินเดีย ลงนาม MoU นำร่องโครงการพัฒนาประมงตามมาตรฐาน IFFO
11 ส.ค. 2560
ซีพีเอฟ อินเดีย ร่วมมือภาครัฐและหน่วยงานประมงของอินเดีย ลงนาม MoU นำร่องโครงการพัฒนาประมงตามมาตรฐาน IFFO

อินเดีย :10 สิงหาคม 2560 – 6 สมาคมประมงและภาคอุตสาหกรรมประมงที่เกี่ยวข้องของอินเดีย ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจเปิดตัวโครงการพัฒนาประมง (Fishery Improvement Project หรือ FIP) นับเป็นครั้งแรกในการนำร่องแนวทางปฏิบัติเพื่อการรณรงค์การอนุรักษ์ห่วงโซ่การผลิตและระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืนของประเทศอินเดีย ที่มุ่งปรับปรุงพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตกตั้งแต่เมืองกัวถึงเมืองรัตนคีรี

 

สมาคมประมงและภาคเอกชนที่ร่วมลงนามใน MoU ครั้งนี้ประกอบด้วย Ratnadurga Macchimar Society, Adarsh Machchimar Society บริษัทสหกรณ์ประมงและการตลาดมันโนวี จำกัด บริษัทสหกรณ์เจ้าของเรือประมงขนาดเล็กและการตลาดวาสโก้ จำกัด บริษัทสหกรณ์ประมงและการตลาดซูอาริ จำกัด สมาคมเจ้าของเรือเพื่อการพัฒนาคัตแบน บริษัทโอเมก้าปลาป่นและน้ำมัน จำกัด และบริษัท ซีพีเอฟ อินเดีย จำกัด โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคประมงทั้งจากรัฐบาลอินเดียและองค์กรเอกชน (NGO) เช่น กรมประมง สถาบันวิจัยประมงกลาง มหาวิทยาลัยรัตนคีรี รวมถึงผู้แทนจากโครงการหุ้นส่วนการประมงอย่างยั่งยืน (Sustainable Fisheries Partnership หรือ SFP) เป็นสักขีพยานในการลงนามครั้งนี้

 

การเปิดตัวโครงการ FIP ให้ความสำคัญกับการจับปลาซาร์ดีนและการผลิตน้ำมันปลาตามแนวชายฝั่งทะเลทางตะวันตกตั้งแต่เมืองรัตนคีรีถึงเมือง โดยมุ่งการปรับปรุงประสิทธิภาพการจับปลาและการจัดการ ด้วยความโปรงใสตามแนวทางอาหารปลอดภัย รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต สอดคล้องกับมาตรฐานสากล


นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังดำเนินการตามแนวทางองค์กรปลาป่นและน้ำมันปลาสากล (International Fishmeal and Fish Oil Organization หรือ IFFO) ของประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ไม่หวังผลประโยชน์และเป็นตัวแทนผู้ผลิตปลาป่นและน้ำมันปลาทั่วโลก โดยมีวิสัยทัศน์ในการเพิ่มความสำคัญในประเด็นโภชนาที่ดีต่อสุขภาพของมนุษย์และสวัสดิภาพปศุสัตว์เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคทั่วโลก ขณะเดียวกัน IFFO ยังเป็นองค์กรที่ให้การรับรองแนวทางปฎิบัติความรับผิดชอบในการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืนเพื่อใช้ในการผลิตปลาป่นและน้ำมันปลาซึ่งใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเป็นอาหารมนุษย์ อาหารสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ

 

นายแซนเดส เซิร์ฟ ประธานกรรมการของ Ratnadurga Macchimar Society กล่าวว่า การลงนามในบันทึกความตกลงครั้งนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมประมงทั้งหมดในการป้องการทรัพยากรทางทะเล โดยมีพันธะสัญญาร่วมกัน 4 ประการ ประกอบด้วย

 

  • ผลิตภัณฑ์ประมงต่างๆ ต้องมาจากการแหล่งที่ทำการประมงด้วยความรับผิดชอบ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต
  • ห่วงโซ่การผลิตจะต้องมีความโปรงใสและข้อมูลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตจะต้องมีการสื่อสารกับผู้ซื้อในต่างประเทศและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างชัดเจน
  • ต้องมีการปฏิบัติและบริหารงานด้านการประมงให้เกิดผลในการป้องกัน, ยับยั้งและกำจัดการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน (IUU)ในทุกรูปแบบ รวมถึงการจับปลาเกินขนาด เพื่อปกป้องระบบนิเวศทางทะเลในวงกว้าง
  • การสร้างความน่าเชื่อถือในระบบการติดตามและระบบตรวจสอบย้อนกลับ  เพื่อลดการทำประมงผิดกฎหมายและขาดการรายงาน ขณะเดียวยังช่วยปกป้องผู้ที่เคารพกฎหมาย

 

นายอิมรัน มุขะดัม ประธาน Adarsh Machchimar Society จากเมือง เมอคารวาดา กล่าวว่า การพัฒนาของ FIP เป็นบทพิสูจน์ความตั้งใจจริงและความพยายามของภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมประมงของอินเดีย เพื่อทำให้ภาคธุรกิจเกิดความตระหนักรู้ถึงปัญหาความยั่งยืนของภาคการ


ประมงจากการทำประมงผิดกฎหมาย มีผลทำให้จำนวนปลาซาร์ดีนลดลงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่พวกเขาต้องให้ความสำคัญ

 

“นับเป็นโครงการแรกในประเทศอินเดียที่นำเอาแนวทางปฏิบัติล่าสุดของ IFFO RS (IFFO Responsible Supply Standard) มาใช้ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับในระดับนานาชาติซึ่งกำหนดเฉพาะเจาะจงในประเด็นการทำประมงอย่างรับผิดชอบตามแนวทางขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ” นายมุขะดัม กล่าวย้ำ

 

นาย เอ.บี. ซาลังเก้ ผู้ช่วยคณะกรรมาธิการประมง (เมืองรัตนคีรี) กล่าวว่า ตามกฎหมายการทำประมงอย่างยั่งยืนของรัฐมหาราษฏระ (Maharastra) ปี 2524 ถือเป็นความริเริ่มที่ดีในการเอาชนะข้อขัดแย้งระหว่างการทำประมงพื้นบ้านกับการทำประมงเชิงพาณิชย์  นับตั้งแต่ปี 2526 กฎหมายฉบับนี้ถูกนำมาบังคับใช้โดยกรมประมงของรัฐมีผลดีต่อการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน เช่น สถานการณ์ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่าย วิธีการจับปลา แนวความคิดที่เห็นความจำเป็นกฎหมายดังกล่าว นับเป็นการความคิดริเริ่มที่ดีของกรมประมงฯที่กำหนดกฎเกณฑ์ในการจับปลาด้วยวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะการจับปลาจากทะเล

 

“รัฐบาลอินเดียกำลังเดินหน้าในการเพิ่มเครื่องมือในการทำงาน เช่น สปีดโบ๊ท ซึ่งจำเป็นต่อการดำเนินการตามกฎหมายในการเอาชนะปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อการทำประมงอย่างยั่งยืน รวมถึงความร่วมมือกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการสนับสนุนโครงการ FIP ตามแนวชายฝั่งของเมืองรัตนคีรีถึงเมืองกัว คู่ขนานไปกับภาคเอกชนที่ต้องการสร้างความยั่งยืนให้กับมหาสมุทรอินเดียในระยะยาว” นายซาลังเก้ กล่าว

 

นายเอมอล ปาติล ผู้อำนวยการบริษัทโอเมก้าปลาป่นและน้ำมัน จำกัด กล่าวว่า ภาคเอกชนให้คำมั่นสัญญาในการทำประมงยั่งยืนตามแนวทางของ FIP เพื่อร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรและวัตถุดิบให้เพียงพอป้อนให้กับอุตสาหกรรมปลาป่น ซึ่งสมาคมต่างๆ และเอกชน รวมด้วย ซีพีเอฟ อินเดีย และ IFFO ที่ร่วมดำเนินโครงการนี้จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนในเรื่องการบริหารจัดการของภาคอุตสาหกรรม และการเพิ่มความต้องการของปลาป่นคุณภาพจากประเทศที่มีสามารถดำเนินตามมาตรฐานสากล

 

ผู้แทนจากโครงการหุ้นส่วนการประมงอย่างยั่งยืน (SFP) กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับการประกาศความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เช่น ซีพีเอฟ อินเดีย บริษัทโอเมก้าปลาป่นและน้ำมัน เป็นต้นที่เปิดตัวโครงการ FIP ด้วยความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งที่จะเดินหน้าความยั่งยืนในภาคการประมง เพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับภูมิภาคอื่นๆ

 

นายดันแคน ลีดบิทเธอร์ ผู้จัดการโครงการ FIP ชี้ว่า แนวทางการทำประมงอย่างยั่งยืนของ IFFO RS นั้น เป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการบริหารทรัพยากรทางทะเลของอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณน้ำมันปลาซาร์ดีนของประเทศ

 

นายลีดบิทเธอร์ ยังเป็นผู้อำนวยการบริษัทฟิช แมทเทอร์ จำกัด ในออสเตรเลียและผู้เชี่ยวชาญด้านประมงในมหาสมุทรแปซิฟิคและทะเลจีนใต้มากว่า 20 ปี จะเป็นผู้นำเสนอแนวทางและวิธีปฏิบัติที่ดีทีสุดให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกคนให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

 

ดร.ชาร์มิร่า มอนเตอริโอ ผู้อำนวยการการประมงกัว ให้ความเห็นว่า “มันเป็นเรื่องดีจริงๆ ที่ได้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตเดินหน้าตามโครงการ FIP เพื่อน้ำมันปลาซาร์ดีนของอินเดีย ซึ่งน้ำปลาซาร์ดีนเป็นผลิตภัณฑ์ประมงที่สำคัญของเมืองกัว รวมถึงปลาแมคเคอเรลซึ่งทำรายได้ประมาณ 50% ของปริมาณปลาทะเลที่จับได้ในเมืองนี้  ทั้งสองชนิดเป็นปลาที่มีความสำคัญอุดมไปด้วยโปรตีน โอเมก้า 3 กรดไขมัน และยังเป็นรายได้สำคัญของชาวประมง”

 

ย้อนไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เราพบว่าการผลิตน้ำปลาซาร์ดีนของอินเดียตกต่ำมาก ในปีที่แล้วเป็นอีกครั้งที่สัญญาณจากการจัดปลาแล้วได้สิ่งมีชีวิตและปลาทะเลขนาดเล็กที่มีฤดูการวางไข่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นปัจจัยมาจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและสิ่งแวดล้อม


อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้สามารถบริหารจัดการอย่างยั่งยืนได้ด้วยการร่วมมือของภาครัฐ ชาวประมง และอุตสาหกรรมประมง ซึ่งจะเป็นหลักประกันรายได้ที่มั่นคง ซึ่งการที่น้ำมันปลาซาร์ดีน ปลาป่นและน้ำมันปลาอื่นๆ ได้การรับรองจาก IFFO RS จะทำให้ผลิตภัณฑ์ได้รับราคาสูงขึ้นจากตลาดนานาประเทศ

กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ จับมือคู่ค้า ยกระดับกระบวนการจัดหาบรรจุภัณฑ์กระดาษ ปลอดการตัดไม้ทำลายป่าตามมาตรฐานโลก
03 ก.ค. 2567
ซีพีเอฟ จับมือคู่ค้า ยกระดับกระบวนการจัดหาบรรจุภัณฑ์กระดาษ ปลอดการตัดไม้ทำลายป่าตามมาตรฐานโลก
กรุงเทพโปรดิ๊วส และ อีอาร์เอ็ม-สยาม ร่วมยกระดับมาตรฐานจัดซื้อสินค้าเกษตรสู่ระดับสากล ไม่รุกป่า ไม่เผา ยึดหลักสิทธิมนุษยชน พร้อมรับกฎระเบียบการค้าโลก
01 ก.ค. 2567
กรุงเทพโปรดิ๊วส และ อีอาร์เอ็ม-สยาม ร่วมยกระดับมาตรฐานจัดซื้อสินค้าเกษตรสู่ระดับสากล ไม่รุกป่า ไม่เผา ยึดหลักสิทธิมนุษยชน พร้อมรับกฎระเบียบการค้าโลก
บังกี้ และ ซีพีเอฟ รับมอบกากถั่วเหลืองปลอดรุกป่าจากบราซิล "ตู้แรก"  ย้ำผู้นำความโปร่งใสระบบตรวจสอบย้อนกลับด้วยบล็อกเชน
10 มิ.ย. 2567
บังกี้ และ ซีพีเอฟ รับมอบกากถั่วเหลืองปลอดรุกป่าจากบราซิล "ตู้แรก" ย้ำผู้นำความโปร่งใสระบบตรวจสอบย้อนกลับด้วยบล็อกเชน
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นผลิตอาหารปลอดภัย-ร่วมคืนสมดุลธรรมชาติ
05 มิ.ย. 2567
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นผลิตอาหารปลอดภัย-ร่วมคืนสมดุลธรรมชาติ
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x