เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
ซีพี ประสานพลัง 4 ภาคส่วน พัฒนา “บัลลังก์โมเดล”  ต้นแบบการรวมกลุ่มผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เข้มแข็ง
14 พ.ย. 2559
ซีพี ประสานพลัง 4 ภาคส่วน พัฒนา “บัลลังก์โมเดล” ต้นแบบการรวมกลุ่มผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เข้มแข็ง

ซีพี สานต่อโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” เป็นปีที่ 3 ต่อยอดผนึกพลัง 4 ภาคส่วน สร้าง “บัลลังก์โมเดล” เป็นต้นแบบการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นำไปสู่การเพาะปลูกที่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรมีรายได้มั่นคง พึ่งพาตนเอง ด้วยการผลิตที่ยั่งยืน

 

นายไพศาล เครือวงศ์วานิช รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวใน พิธีร่วมลงนามข้อตกลง ความร่วมมือ กับ 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาคการเกษตร ประกอบด้วย  สำนักงานเทศบาลตำบลบัลลังก์ สำนักงานเกษตรอำเภอโนนไทย และสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) นครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน”  กับกลุ่มเกษตรกรเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 380 คน 17 หมู่บ้านในตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูก 7,697 ไร่  เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้การเพาะปลูกที่ถูกวิธี เพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  

 

“เป้าหมายในการดำเนินโครงการกับกลุ่มเกษตรกรในตำบลบัลลังก์ เป็นการสร้างต้นแบบการรวมกลุ่มเกษตรกรที่มีความรู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีการบริหารจัดการในการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย มีการบริหารเก็บเกี่ยวและขนส่งผลผลิตอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอาชีพเสริมอื่นๆ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น” นายไพศาลกล่าว

 

โครงการ “บัลลังก์โมเดล”  ได้อบรมให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ มีความรู้การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินใช้วางแผนการใช้ปุ๋ยได้เหมาะสม  ส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่ม ทั้งการจัดสรรใช้เครื่องมือและทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ  การแลกเปลี่ยนข้อมูลและเก็บข้อมูลแปลงเพาะปลูกเพื่อสนับสนุนระบบตรวจสอบแหล่งที่มาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ตลอดจนการจัดการเก็บเกี่ยวและขนส่งผลผลิตร่วมกันอย่างเป็นระบบ และมีเป้าหมายให้เกษตรกรพัฒนามาตรฐานการเพาะปลูก ตามหลัก การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agriculture Practices: GAP) ต่อไป

 

การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ทั้ง 4 หน่วยงานจะแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อผลักดันโครงการฯ ได้ดำเนินงานอย่างราบรื่น สร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในด้านต่างๆ โดยมี เทศบาลตำบลบัลลังค์จะเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนโครงการ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ อำนวยความสะดวกและจัดหาปัจจัยการผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกร โดยมีเกษตรอำเภอเป็นผู้ให้คำแนะนำและสนับสนุนข้อมูล  ส่วน สกต.ทำหน้าที่รวบรวมผลผลิต รวมถึงการจัดหาแหล่งรับซื้อผลผลิต ขณะที่ กรุงเทพโปรดิ๊วส ช่วยสนับสนุนการจัดอบรมและสนับสนุนเทคโนโลยี รวมถึงช่วยรับประกันราคารับซื้อขั้นต่ำ 7.90 บาท/กิโลกรัม

 

“บัลลังก์โมเดล” ยังเป็นครั้งแรกที่มีการนำเทคโนโลยี GIS (Geographic Information System) มาประยุกต์ใช้ในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์สภาพพื้นที่เพาะปลูกอย่างรอบด้าน เพื่อนำไปสู่การจัดการบริหารเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงสุด รวมถึงนำระบบ GPS มาติดตั้งในระบบรถเก็บเกี่ยวและรถขนส่ง เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้อย่างครบวงจร และยังสนับสนุนให้เกษตรกรประกอบอาชีพเสริม เช่น การปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนอีกด้วย   

 

นางยุพวัลย์ ชมชื่นดี เกษตรอำเภอโนนไทย กล่าวว่า การดำเนินโครงการ “บัลลังก์โมเดล” จะเป็นต้นแบบการรวมกลุ่มของเกษตรกร ที่มีความรู้ความสามารถในการเพาะปลูกตามแนวทางเกษตรสมัยใหม่ รวมถึงสามารถบริหารจัดการปัจจัยการผลิต ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตและขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้เกษตรกรทุกคนมีรายได้เพิ่มขึ้น นำไปสู่การเป็นชุมชนเกษตรกรรมเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

 

โครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” เป็นโครงการที่กรุงเทพโปรดิ๊วสได้ริเริ่มมาตั้งแต่ 2557 สร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่การผลิตอาหารทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ ตามนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนของ          ซีพีเอฟ ส่งเสริมให้เกษตรกรมีองค์ความรู้การเพาะปลูกที่ถูกต้อง มีรายได้เพิ่มขึ้น แก้ปัญหาบุกรุกป่า ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ แล้ว 4,311 ราย ครอบคลุมพื้นที่ปลูก 118,069 ไร่ใน 20 จังหวัด และในปีนี้ได้ดำเนินการอบรมเกษตรกรไปแล้ว 753 คนใน 10 จังหวัดคิดเป็นพื้นที่เพาะปลูก 20,142 ไร่./

 

ซีพี สานต่อโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” เป็นปีที่ 3 ต่อยอดผนึกพลัง 4 ภาคส่วน สร้าง “บัลลังก์โมเดล” เป็นต้นแบบการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นำไปสู่การเพาะปลูกที่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรมีรายได้มั่นคง พึ่งพาตนเอง ด้วยการผลิตที่ยั่งยืน

 

นายไพศาล เครือวงศ์วานิช รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวใน พิธีร่วมลงนามข้อตกลง ความร่วมมือ กับ 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาคการเกษตร ประกอบด้วย  สำนักงานเทศบาลตำบลบัลลังก์ สำนักงานเกษตรอำเภอโนนไทย และสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) นครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน”  กับกลุ่มเกษตรกรเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 380 คน 17 หมู่บ้านในตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูก 7,697 ไร่  เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้การเพาะปลูกที่ถูกวิธี เพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  

 

“เป้าหมายในการดำเนินโครงการกับกลุ่มเกษตรกรในตำบลบัลลังก์ เป็นการสร้างต้นแบบการรวมกลุ่มเกษตรกรที่มีความรู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีการบริหารจัดการในการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย มีการบริหารเก็บเกี่ยวและขนส่งผลผลิตอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอาชีพเสริมอื่นๆ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น” นายไพศาลกล่าว

 

โครงการ “บัลลังก์โมเดล”  ได้อบรมให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ มีความรู้การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินใช้วางแผนการใช้ปุ๋ยได้เหมาะสม  ส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่ม ทั้งการจัดสรรใช้เครื่องมือและทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ  การแลกเปลี่ยนข้อมูลและเก็บข้อมูลแปลงเพาะปลูกเพื่อสนับสนุนระบบตรวจสอบแหล่งที่มาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ตลอดจนการจัดการเก็บเกี่ยวและขนส่งผลผลิตร่วมกันอย่างเป็นระบบ และมีเป้าหมายให้เกษตรกรพัฒนามาตรฐานการเพาะปลูก ตามหลัก การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agriculture Practices: GAP) ต่อไป

 

การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ทั้ง 4 หน่วยงานจะแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อผลักดันโครงการฯ ได้ดำเนินงานอย่างราบรื่น สร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในด้านต่างๆ โดยมี เทศบาลตำบลบัลลังค์จะเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนโครงการ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ อำนวยความสะดวกและจัดหาปัจจัยการผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกร โดยมีเกษตรอำเภอเป็นผู้ให้คำแนะนำและสนับสนุนข้อมูล  ส่วน สกต.ทำหน้าที่รวบรวมผลผลิต รวมถึงการจัดหาแหล่งรับซื้อผลผลิต ขณะที่ กรุงเทพโปรดิ๊วส ช่วยสนับสนุนการจัดอบรมและสนับสนุนเทคโนโลยี รวมถึงช่วยรับประกันราคารับซื้อขั้นต่ำ 7.90 บาท/กิโลกรัม

 

“บัลลังก์โมเดล” ยังเป็นครั้งแรกที่มีการนำเทคโนโลยี GIS (Geographic Information System) มาประยุกต์ใช้ในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์สภาพพื้นที่เพาะปลูกอย่างรอบด้าน เพื่อนำไปสู่การจัดการบริหารเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงสุด รวมถึงนำระบบ GPS มาติดตั้งในระบบรถเก็บเกี่ยวและรถขนส่ง เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้อย่างครบวงจร และยังสนับสนุนให้เกษตรกรประกอบอาชีพเสริม เช่น การปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนอีกด้วย   

 

นางยุพวัลย์ ชมชื่นดี เกษตรอำเภอโนนไทย กล่าวว่า การดำเนินโครงการ “บัลลังก์โมเดล” จะเป็นต้นแบบการรวมกลุ่มของเกษตรกร ที่มีความรู้ความสามารถในการเพาะปลูกตามแนวทางเกษตรสมัยใหม่ รวมถึงสามารถบริหารจัดการปัจจัยการผลิต ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตและขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้เกษตรกรทุกคนมีรายได้เพิ่มขึ้น นำไปสู่การเป็นชุมชนเกษตรกรรมเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

 

โครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” เป็นโครงการที่กรุงเทพโปรดิ๊วสได้ริเริ่มมาตั้งแต่ 2557 สร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่การผลิตอาหารทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ ตามนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนของ          ซีพีเอฟ ส่งเสริมให้เกษตรกรมีองค์ความรู้การเพาะปลูกที่ถูกต้อง มีรายได้เพิ่มขึ้น แก้ปัญหาบุกรุกป่า ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ แล้ว 4,311 ราย ครอบคลุมพื้นที่ปลูก 118,069 ไร่ใน 20 จังหวัด และในปีนี้ได้ดำเนินการอบรมเกษตรกรไปแล้ว 753 คนใน 10 จังหวัดคิดเป็นพื้นที่เพาะปลูก 20,142 ไร่./

 

  

กิจกรรมอื่น ๆ
ซีพีเอฟ คว้า 5 รางวัล Asia’s Best Companies 2024 จากนิตยสาร FinanceAsia ตอกย้ำความไว้วางใจจากนักลงทุนทั่วเอเชีย
28 มิ.ย. 2567
ซีพีเอฟ คว้า 5 รางวัล Asia’s Best Companies 2024 จากนิตยสาร FinanceAsia ตอกย้ำความไว้วางใจจากนักลงทุนทั่วเอเชีย
สจล.  – ซีพีเอฟ บูรณาการความร่วมมือพัฒนาคนรุ่นใหม่ สร้างนวัตกรรมรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร
24 มิ.ย. 2567
สจล.  – ซีพีเอฟ บูรณาการความร่วมมือพัฒนาคนรุ่นใหม่ สร้างนวัตกรรมรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร

Tag:

#STEM 
ซีพีเอฟ รับโล่เกียรติยศ"คนดี รักษ์โลก" ร่วมขับเคลื่อนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
19 มิ.ย. 2567
ซีพีเอฟ รับโล่เกียรติยศ"คนดี รักษ์โลก" ร่วมขับเคลื่อนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อไก่ ปลอดภัยระดับสูงสุด
14 มิ.ย. 2567
ซีพีเอฟ ผลิตเนื้อไก่ ปลอดภัยระดับสูงสุด
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x