เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
การเลือกหุ้นส่วนธุรกิจในระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง
12 ส.ค. 2557
การเลือกหุ้นส่วนธุรกิจในระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง

การเลือกหุ้นส่วนธุรกิจในระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง
โดย ทิวา ศิริกวี
 
ปัจจุบันประชากรโลกหันมาให้ความสำคัญและใส่ใจกับอาหารการกินและสุขภาพกันมากขึ้น มีการทวนสอบย้อนกลับถึงที่มาของอาหาร ว่าใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัย ไร้สารตกค้างหรือไม่ จึงเป็นที่มาของการควบคุมมาตรฐานกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการอาหารหลายๆราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ส่งออกที่จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งจากภาครัฐภายในประเทศ และจากองค์กรสากลระดับโลก  
 
ดังนั้น เมื่อจำเป็นต้องรักษามาตรฐานคุณภาพของอาหารตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง  “ระบบบริหารจัดการ” ในภาคเกษตร จึงถูกนำมาใช้ในแทบทุกประเทศของโลก หนึ่งในระบบบริหารจัดการเพื่อควบคุมคุณภาพอาหารอันเป็นประโยชน์ของผู้บริโภคนั้นก็คือ “ระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง” ที่มีต้นกำเนิดจากสหรัฐอเมริกา มานานนับร้อยปี
 
คอนแทร็คฟาร์มมิ่งในประเทศไทยสามารถทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคงและเลี้ยงครอบครัวได้อย่างยั่งยืนก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก  ขณะเดียวกันกลุ่มที่ประสบล้มเหลวก็มีอยู่ไม่น้อย ซึ่งต้องถือว่าเป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจที่จะต้องมีทั้งคนสำเร็จและไม่สำเร็จ ... เมื่อขึ้นชื่อว่า คอนแทร็คฟาร์มมิ่งเป็นการทำธุรกิจ โดยเป็นธุรกิจที่ประกอบด้วยหุ้นส่วนสำคัญ 2 ฝ่าย นั่นก็คือ เกษตรกร กับบริษัทผู้ประกอบการเกษตร ...
เหตุปัจจัยแห่งความสำเร็จหรือล้มเหลว ย่อมขึ้นอยู่กับตัวตนของหุ้นส่วนทั้ง 2 ฝ่ายเป็นสำคัญ  ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกหุ้นส่วนธุรกิจ ย่อมต้องพิจารณาข้อมูลให้ถ้วนถี่ และครบถ้วนรอบด้าน ซึ่งพอจะจำแนกออกได้พอสังเขป ดังนี้ 
 
ด้านเกษตรกร :  เกษตรกรพึงพิจารณาว่า ผู้ประกอบการนั้น เป็นองค์กรที่มีเทคโนโลยีและวิชาการเกษตรที่มีประสิทธิภาพส่งเสริมให้เกษตรกรมีผลผลิตที่ดีได้จริงหรือไม่ มีระบบบริหารงานที่เป็นมืออาชีพหรือไม่ จำนวนสัตวบาลพี่เลี้ยงหรือเจ้าหน้าที่ที่จะเข้ามาดูแลให้คำแนะนำมีจำนวนเพียงพอหรือไม่ มีตลาดรองรับผลผลิตอย่างกว้างขวางหรือไม่  ตลอดจนบริษัทนั้นมีความมั่นคงแข็งแรงทางการเงินด้วยหรือเปล่า
ทั้งนี้ มีงานวิจัยระบุว่าเกษตรกรที่ประสบความล้มเหลวส่วนใหญ่ จะเป็นกลุ่มที่เลือกทำธุรกิจคอนแทร็คฟาร์มมิ่งกับบริษัทที่มีระบบบริหารจัดการไม่ดีนัก เทคโนโลยีที่ใช้หรือวัตถุดิบในการเลี้ยงไม่มีคุณภาพ ส่งผลต่อเนื่องให้ผลผลิตของเกษตรกรไม่ดี และกระทบรายได้ในที่สุด หรือบางตัวอย่างที่เห็นชัดๆเมื่อไม่นานมานี้ ที่ผู้ประกอบการรายใหญ่รายหนึ่ง มีปัญหาทางการเงิน กระทั่งไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรได้
 
ด้านผู้ประกอบการ : บริษัทเองก็พึงต้องคัดเลือกเกษตรกรเช่นกัน โดยพิจารณาถึงประวัติ ความขยันมั่นเพียร ความซื่อสัตย์สุจริต หรือ แม้แต่เป็นผู้ติดเหล้าเมายา หรือติดการพนันหรือไม่ มีวินัยทางการเงินอย่างไร มีความรับผิดชอบหรือเปล่า ซึ่งในแต่ละหมู่บ้านมักจะรู้จักมักคุ้นกันเป็นทุนเดิม สามารถสอบถามจากเพื่อนบ้านหรือเกษตรกรเดิมของบริษัทได้ไม่ยาก 
 
การพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรของบริษัท ย่อมมีรายละเอียดปลีกย่อยแยกไปตามประเภทของสัญญาที่จะทำ เช่น หากเป็นเกษตรกรในประเภท “ประกันรายได้” อาจต้องพิจารณาเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตให้มากขึ้นเพราะสินทรัพย์ของบริษัทนับล้าน จะถูกส่งไปให้เกษตรกรดูแลรับผิดชอบการเลี้ยงให้   ขณะที่ "ประกันราคา” อาจต้องพิจารณาเรื่องวินัยทางการเงิน เพราะพบว่าเกษตรกรบางราย ใช้เงินที่กู้จากสถาบันการเงินไปใช้ในในการอื่น ทำให้กระทบการลงทุนในเทคโนโลยีการเลี้ยง เป็นต้น 
 
ระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่งนั้น หากได้หุ้นส่วนที่ดีทั้ง 2 ฝ่าย ย่อมช่วยควบคุมมาตรฐานการผลิตวัตถุดิบที่ดี ก่อนถูกส่งต่อเข้าสู่กระบวนการผลิตอาหาร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคปลายทาง ขณะเดียวกัน ระบบนี้ก็จะช่วยให้ทั้งเกษตรกร บรรลุเป้าประสงค์ด้านรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงบริษัทผู้ประกอบการ ก็จะบรรลุเป้าหมายการจัดเตรียมวัตถุดิบที่ดีสำหรับธุรกิจอาหารของตน  เรียกได้ว่า Win-Win ด้วยกันทุกฝ่าย./ 

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x