เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI
กรมปศุสัตว์-สัตวแพทย์ โรงเชือด ยันไม่มีเชื้ออหิววาต์เทียมในเลือดไก่ คาดเกิดจากการขนส่ง
15 ม.ค. 2558
กรมปศุสัตว์-สัตวแพทย์ โรงเชือด ยันไม่มีเชื้ออหิววาต์เทียมในเลือดไก่ คาดเกิดจากการขนส่ง

 เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ที่สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับกรมปศุศัตว์ แถลงข่าวเรื่อง “เลือดไก่อันตรายจริงหรือ” หลังกระทรวงสาธารณสุข พบการปนเปื้อนของเชื้ออหิวาต์เทียม (Vibrio parahaemolyticus) ในเลือดไก่ ระบบขนส่งเลือดไก่ และในโรงงานทำเลือดไก่

 

 โดยน.สพ.อยุทธ์ หรินทรานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาการแทนอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นได้ทำการตรวจสอบเข้มข้นในโรงงานเชือดไก่ ที่กรมควบคุมโรค พบเชื้อเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ซึ่งยังไม่พบการปนเปื้อนเชื้อดังกล่าวแต่อย่างใด แต่ก็ต้องทำการตรวจสอบตรงนี้ต่อไปสักระยะ ขณะเดียวกันก็ได้ตรวจสอบโรงเชือดไก่อีก 27 แห่ง ซึ่งผลการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ออกมาเมื่อเช้าวันนี้ ไม่พบการปนเปื้อนเชื้ออหิวาต์เทียม

 

 อย่างไรก็ตาม ต่อจากนี้ทางกรมปศุสัตว์ จะเข้มงวดในการตรวจสอบให้ถี่ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้มั่นใจในการบริโภคไก่ และขอให้ยึดหลักการกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ เพราะเชื้อโรคมีอยู่ทุกที่ ในอาหาร น้ำดื่ม น้ำแข็ง เป็นต้น เรื่องนี้ไม่ได้มีผลต่อการส่งออกไก่ของไทยเพราะทุกคนรู้ดีว่าเชื้อนี้ไม่ได้อยู่ในตัวไก่ 

 

 ผศ.น.สพ.สุเจตน์ ชื่นชม รองคณบดี คณะเกษตรศาสตร์กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพการผลิตในโรงงาน กล่าวว่า กระบวนการของโรงเชือดที่ขออนุญาตจากกรมปศุสัตว์แล้ว จะมีการควบคุมมาตรฐานการผลิตทุกขั้นตอน อันดับแรก คือไม่ให้นำไก่ป่วยเข้าไปในโรงงาน จากนั้นจะทำให้สลบ ก่อนเชือดให้เลือดไก่ไหลลงไปในรางแสตนเลส และกรองให้ไหลลงสู่ถ้วยสแตนเลส จากนั้นใส่น้ำเกลือลงไปร้อยละ 10 เพื่อให้เลือดแข็งตัวและคงสภาพก่อนนำไปต้มในน้ำเดือดที่คุณภูมิ 80 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นจุดวิกฤตที่ต้องมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมอุณหภูมิของน้ำ ไม่ให้ต่ำไปกว่านี้

 

 จากนั้นจะสุ่มนำเลือดก้อนบนสุด ตรงกลาง และด้านล่างสุดมาสุ่มตรวจด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิ โดยที่ได้มาตรฐานก้อนเลือดทั้งก้อน โดยเฉพาะบริเวณใจกลางจะต้องมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 75 องศาเซลเซียส จากนั้นก็นำมาล้างด้วยน้ำเปล่าอุณหภูมิ 0-4 องศาเซลเซียส ก่อนจะแพ็กส่งไปยังปลายทางต่อไป ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ประจำจุดต่างๆ จะต้องผ่านการอบรมและตรวจสุขภาพเป็นประจำ หากพบว่ามีไข้ ท้องเสีย หรือเป็นหวัดจะไม่ให้เข้ามายุ่งในสายการผลิตเลย

 

 “กล้ายืนยันล้านเปอร์เซ็นต์ว่า เมื่อผ่านกระบวนการต้มด้วยอุณหภูมิคงที่ 80 องศาเซลเซียส แล้วเชื้อตายหมด เพราะเชื้อพวกนี้สามารถฆ่าได้ด้วยอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เพราะฉะนั้นไม่น่าจะเกิดเชื้อได้ในกระบวนการของโรงเชือด ส่วนการปนเปื้อนระหว่างส่ง ยังไม่แน่ใจ เพราะโรงงานบางแห่งอาจจะแช่ด้วยน้ำเกลือ บางแห่งอาจจะแช่ด้วยน้ำแข็ง ซึ่งในน้ำแข็งก็มีเชื้อโรคอยู่ได้เช่นกัน” ผศ.น.สพ.สุเจตน์ กล่าว

 

 สพ.ญ.พัชรี ทองคำคูณ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ตรวจหาโรคจากมูลไก่ ลำไส้ไก่มาตลอด แต่ไม่เคยพบเชื้อดังกล่าว เพราะฉะนั้นการปนเปื้อนอาจจะมาจากแหล่งอื่นๆ เช่น การขนส่งหรือแม้แต่ขั้นตอนของการปรุงเป็นอาหาร ไม่ถูกสุขลักษณะจึงเป็นเหตุให้เกิดการระบาดของโรคได้ อย่างไรก็ตาม การที่กรมควบคุมโรคตรวจพบเชื้ออหิวาต์เทียม ต้องมาพิสูจน์ต่อว่าเป็นเชื้อสายพันธ์เดียวกันหรือไม่ เพราะเชื้ออหิวาต์เทียมมีหลายร้อยสายพันธ์ ซึ่งบางตัวก่อโรค บางตัวไม่ก่อโรค

 

ขอบคุณ ข่าวออนไลน์

กิจกรรมอื่น ๆ
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 มี.ค. 2564
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 ก.พ. 2564
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 ม.ค. 2564
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 ม.ค. 2564
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x