คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
ณ วันที่ 1 มีนาคม 2568 คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงประกอบด้วย กรรมการอิสระ จำนวน 4 คน ดังนี้

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ
กรรมการอิสระ
ประธานกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
ประธานกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง

นางวัชรี วิมุกตายน
กรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง

นายวินัย วิทวัสการเวช
กรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง

ศ.พิเศษ ดร.กิตติพงษ์
กิตยารักษ์
กิตยารักษ์
กรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดขอบเขตหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง คุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2551 ดังนี้
- สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ
- สอบทานให้บริษัทมีการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน และการบริหารความเสี่ยง ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล
- สอบทานให้บริษัท และผู้บริหารระดับสูงปฏิบัติตามนโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงรวมถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
- สอบทานความเพียงพอและประสิทธิผลของนโยบายและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงโดยรวม รวมถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อย่างน้อยปีละครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
- สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
- พิจารณาความเป็นอิสระของสำนักตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง รวมทั้งประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารสูงสุดของสำนักตรวจสอบภายใน
- พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว ตลอดจนการเลิกจ้างผู้สอบบัญชี รวมทั้งเข้าประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละ1 ครั้ง
- พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
- จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
- ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน และเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท
- ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอและประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในของบริษัท
- ความเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารความเสี่ยงของบริษัทโดยรวม
- ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
- ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
- ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง และการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงแต่ละท่าน
- ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
- เรื่องอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
ทั้งนี้ การปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ขอบเขตดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทโดยตรง และคณะกรรมการบริษัทยังคงมีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทต่อบุคคลภายนอก