เกี่ยวกับซีพีเอฟ
เกี่ยวกับซีพีเอฟ
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม
เกี่ยวกับซีพีเอฟ สำหรับบุคลากร
ธุรกิจ
ธุรกิจ ซีพีเอฟ
ซีพีเอฟมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัย และตรวจสอบย้อนกลับได้
ภาพรวมธุรกิจ
บรรษัทภิบาล
บรรษัทภิบาล
พัฒนาการความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโต ทางธุรกิจและเติมเต็มความมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าร่วมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
our mision
สารถึงผู้ถือหุ้น
บริษัทยังคงพยายามอย่างเต็มกำลังในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อเป้าหมายการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักลงทุนสัมพันธ์
นักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทมุ่งเน้นที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยความใส่ใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
นักลงทุนสัมพันธ์ ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์
ความยั่งยืน
ความยั่งยืน
เพื่อเสริมสร้าง “ศักยภาพและโอกาสการเติมโต“ สู่ “การสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วน“
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
sustainability
ซีพีเอฟกับความยั่งยืน
ซีพีเอฟขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลัก “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่“
สื่อเผยแพร่
สื่อเผยแพร่
ศูนย์ข่าวสารซีพีเอฟ นำเสนอเรื่องราวครอบคลุมทั้งความยั่งยืน นวัตกรรม ข่าวสารอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ
สื่อเผยแพร่
media-center
สื่อเผยแพร่
ติดตามข่าวสารล่าสุด และเรื่องราวดีๆ จากซีพีเอฟได้ที่นี่
THAI

คณะกรรมการบริษัท

ศ.พิเศษ ดร.กิตติพงษ์
กิตยารักษ์
ประธานกรรมการอิสระ
กรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
กรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน

 

อายุ

65 ปี

สัดส่วนการถือหุ้น CPF/1

ไม่มี

ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร

ไม่มี

คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด   

- ปริญญาเอก - กฎหมาย 
  Stanford University ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาโท - กฎหมาย 
  Harvard University ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาโท - กฎหมายการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
  Cornell University ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาตรี - นิติศาสตร์
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท

1 กันยายน 2564

ประวัติการฝึกอบรมที่สำคัญ

- อบรม Director Accreditation Program รุ่นที่ 112/2014
- อบรม Advance Audit Committee Program รุ่นที่ 28/2015
  สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติ
  บัณฑิตยสภา
- หลักสูตรการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยสำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 5
  สถาบันพระปกเกล้าฯ (ปปร.5)
- หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง
  วิทยาลัยการยุติธรรม (บ.ย.ส.10)
- หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 49
  วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- หลักสูตรสถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่น 8
- หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.) รุ่น 1
- หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงอาเซียน
  (ASEAN Executive Management Program) รุ่น 1
- หลักสูตรนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย  (นธป.)
  สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
- หลักสูตรภูมิพลังแผ่นดิน รุ่นที่ 3
  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านการพัฒนาธุรกิจ อุตสาหกรรมและการลงทุน (วธอ.)
  รุ่น 2

ประสบการณ์

กรรมการอิสระ และ ประธานคณะกรรมการกํากับดูแลกิจการที่ดีและกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน
 
- บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น
กรรมการอิสระ
  - บมจ. ซีพี ออลล์
กรรมการอิสระ ประธานกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมและกรรมการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
 
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
กรรมการอิสระ และกรรมการสรรหาพิจารณาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล
 
- บมจ. ดุสิตธานี
ที่ปรึกษา
 
- สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย
นายกสภา
 
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ศาสตราจารย์พิเศษ
 
- คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรรมการ
 
- แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC)
กรรมการบริหาร และรองประธานกรรมการ
  - มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย
กรรมการอํานวยการ
  - โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์
กรรมการบริหาร และประธานสาขาประเทศไทย
  - มลูนิธิป้องกันอาชญากรรมแห่งเอเชีย(ACPF)
ประธานกรรมการ
  - มูลนิธิฉะเชิงเทราเพื่อการพัฒนา
เลขาธิการ
  - มูลนิธิพัฒนากระบวนการยุติธรรม

การดำรงตำแหน่งในอดีต

กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ
 
- บมจ. ปตท.  (พ.ศ. 2557-2564)
ผู้อำนวยการ
 
- สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2558-2564)
กรรมการเนติบัณฑิตยสภา
 
- เนติบัณฑิตยสภา (พ.ศ. 2551-2564)

 

/1 เป็นข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2567 ซึ่งนับรวมการถือหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

 

บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท
  • ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท รวมถึงมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง และซื่อสัตย์สุจริต
  • กำหนดนโยบายหลักในการดำเนินธุรกิจ นโยบายด้านการเงิน การระดมทุน การบริหารเงินทุน การบริหารความเสี่ยงของบริษัท การจัดสรรและการบริหารทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และกำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • พิจารณาอนุมัติวิสัยทัศน์ และพันธกิจของบริษัท และให้มีการทบทวนทุกๆ รอบปีบัญชี
  • พิจารณาอนุมัติเป้าหมาย กลยุทธ์ แผนงานในการดำเนินธุรกิจ และให้มีการทบทวนทุกๆ รอบปีบัญชี รวมถึงดูแลให้มีการนำกลยุทธ์ของบริษัทไปปฏิบัติและและติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้
  • พิจารณาอนุมัติรายการที่นอกเหนือจากรายการที่คณะกรรมการบริษัทได้มอบอำนาจให้กับกรรมการผู้จัดการใหญ่(ร่วม) หรือรายการที่กฎหมาย ข้อบังคับ หรือระเบียบปฏิบัติของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวกำหนดให้ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท
  • จัดให้มีระบบการควบคุมภายในด้านการดำเนินงาน ด้านการรายงานทางการเงิน และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ นโยบายและระเบียบปฏิบัติของบริษัท และกำหนดให้สำนักตรวจสอบภายในมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในดังกล่าวและรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ โดยคณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาระบบบริหารความเสี่ยง รวมถึงประเมินความเพียงพอและเหมาะสมของระบบการควบคุมภายในเป็นประจำทุกปี และทบทวนระบบที่สำคัญอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และให้ความเห็นไว้ในรายงานประจำปี
  • ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม และนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยยังอยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และดูแลให้ฝ่ายจัดการนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการทบทวนกลยุทธ์
  • ประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการและทบทวนนโยบายดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่(ร่วม) และกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการใหญ่(ร่วม) ให้เป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัท ภายในกรอบแห่งอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท และประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่(ร่วม) เป็นประจำทุกปี เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่(ร่วม)
  • แต่งตั้งกรรมการหรือผู้บริหารเข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในบริษัทย่อย เพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการลงทุนในบริษัทย่อยเหล่านั้น
  • แต่งตั้งเลขานุการบริษัท เพื่อรับผิดชอบดำเนินการในเรื่องต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
  • แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ เช่น คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ เป็นต้น เพื่อช่วยคณะกรรมการในการกำกับดูแลกิจการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ โดยสมาชิกของคณะกรรมการชุดย่อยประกอบด้วยกรรมการอิสระเป็นส่วนใหญ่และประธานคณะกรรมการชุดย่อยเป็นกรรมการอิสระ
  • จัดให้มีแผนงานการพัฒนากรรมการและผู้บริหาร และแผนงานการสืบทอดงาน
cpfworldwide.com ใช้คุกกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อการบริหารเว็บไซต์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน (เรียนรู้เพิ่มเติม)
x