ในตอนที่แล้วได้ย้อนไปถึงที่มาของระบบคอนแทรคฟาร์ม (Contract Farming) รวมถึงรูปแบบที่ภาคเอกชนนำมาใช้ ในประเทศไทย และระบบนี้ได้กลายเป็น เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของภาคเกษตรในบ้านเรา จากการทำธุรกิจร่วมกันระหว่างบริษัทผู้ประกอบการ กับเกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ โดยบริษัทเป็นผู้กำหนดมาตรฐานและคุณภาพของสินค้า เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางอาหาร หรือฟู้ดเซฟตี้ (Food safety) ก่อนส่งมอบถึงมือผู้บริโภค ขณะที่เกษตรกรมีหน้าที่ผลิตสินค้าให้ดีที่สุด เพื่อส่งมอบเข้าสู่ซัพพลายเชนของการผลิตอาหารปลอดภัย เพื่อผู้บริโภคเช่นกัน เมื่อบทบาทของทั้งสองฝ่ายชัดเจน การร่วมมือกันทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างมีความรับผิดชอบ ย่อมนำมาซึ่งความสำเร็จด้วยกันทั้งคู่ ดังเช่นตัวอย่าง ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งของพี่ใหญ่ในวงการเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร อย่างบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ที่นำระบบนี้มาใช้เพื่อการพัฒนาภาคเกษตรของไทยตั้งแต่ปี 2518 ช่วยสร้างความสำเร็จในอาชีพเกษตรกรมากว่า 4 ทศวรรษ และดูจะเป็นภาคเอกชนแห่งเดียวที่เปิดเผยข้อมูลคอนแทรคฟาร์มมิ่งอย่างชัดเจน
ณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ บอกว่า แม้ที่ผ่านมาจะมีการให้ข้อมูลความรู้และสร้างความเข้าใจในระบบคอนแทรคฟาร์มแก่สังคมมาอย่างต่อเนื่อง หากแต่ยังพบว่ามีสื่อมวลชน และนักวิชาการบางส่วนที่อาจจะยังไม่ได้ศึกษาอย่างถ่องแท้ ส่งผลให้มีมุมมองตามความเชื่อที่บอกต่อๆกันมา เช่น คอนแทรคฟาร์มมิ่งเป็นเรื่องเลวร้าย? ทั้งที่ในความเป็นจริงข้อตกลงนี้ เกิดขึ้นเพราะทั้งสามฝ่ายมาลงนามกัน และระบบนี้เกิดมานานมากหากเลวร้ายจริงคงไม่มีระบบนี้อยู่แล้ว แต่กลับดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาร่วม 40 ปี หรืออีกเรื่องที่คนมักคิดไปว่าคอนแทรคฟาร์มมิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกษตรกร? ปกติเกษตรกรจะไม่รู้เลยว่าสินค้าของตนเองจะขายได้ในราคาเท่าไหร่ ไม่รู้ว่าผลผลิตประเภทเดียวกันจะออกมาล้นตลาดขนาดไหน ส่งผลถึงราคาและรายได้ที่จะได้รับ แต่รูปแบบประกันราคา ทำให้เกษตรกรรู้ราคาผลผลิตตั้งแต่ยังไม่เริ่มผลิต หรือรูปแบบการประกันรายได้ก็มีค่าตอบแทนที่ชัดเจน ระบบนี้ จึงเป็นการลดความเสี่ยงให้เกษตรกรด้วยซ้ำ ส่วนความเข้าใจที่ว่าเกษตรกรคอนแทรคฟาร์มมิ่งส่วนใหญ่ล้มเหลว? นั้นก็ไม่จริง โดยเฉพาะ ในช่วงที่ราคาสินค้าตกต่ำ เกษตรกรโดยทั่วไป ส่วนใหญ่จะขาดทุน แต่เกษตรกรระบบคอนแทรคฟาร์มยังได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจ เกษตรกรหลายรายจึงสามารถลืมตาอ้าปากได้หลังเข้ามาอยู่ในระบบนี้
ที่สำคัญคือเมื่อพูดถึงคอนแทรคฟาร์มมิ่งทีไร คนก็มักหมายถึงบริษัทใหญ่ ซึ่งหากมองมาที่ซีพีเอฟเป็นตัวอย่าง เมื่อนับจำนวน เกษตรกรคอนแทรคที่ร่วมโครงการเลี้ยงสัตว์กับซีพีเอฟ รวม 4,999 ราย คิดเป็นเพียง 10% ของทั้งประเทศ จากข้อมูลคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ทั้งประเทศประเมินว่ามีประมาณ 2 แสนราย ในจำนวนนี้เป็นคอนแทรคฟาร์มมิ่งด้านปศุสัตว์ ประมาณ 5 หมื่น ทั้งนี้ ซีพีเอฟเองจะเน้นการดำเนินการอย่างมีระบบ โดยเฉพาะการส่งเสริม ให้มีการเลี้ยงสัตว์ด้วยเทคโนโลยีทันสมัยที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของผู้บริโภค
"ที่สำคัญเกษตรกรในโครงการมีความเสี่ยงน้อยมาก มีความมั่นคงในอาชีพ สามารถส่งต่ออาชีพถึงรุ่นลูกหลาน และเกษตรกร หลายรายต้องการขยายงานเพิ่ม แน่นอนว่า การทำงานร่วมกับเกษตรกรหลายราย ปัญหาย่อมมีบ้างเป็นธรรมดา แต่มีจำนวนน้อย มักจะเป็นปัญหาเฉพาะบุคคล เช่น การที่เกษตรกรไม่ได้ดูแลฟาร์มเอง เกิดการเสียหายสูง หรือ ลักขโมย เป็นต้น โดยบริษัทได้ตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมาดูแลปัญหาที่เกิดขึ้น และเกษตรกรจะได้รับ การดูแลอย่างเหมาะสมทุกราย" ณรงค์ อธิบาย
นอกจากนี้ ณรงค์ ยังอธิบายเพิ่มเติม ถึงเรื่องความเสี่ยงที่ความเสี่ยงว่า เกษตรกรในรูปแบบประกันรายได้เรียกว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด เพราะบริษัทจะเป็นเจ้าของพันธุ์สัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์มทั้งหมด เท่ากับบริษัทรับหน้าที่เป็นผู้แบกรับความเสี่ยง ทุกอย่างแทนเกษตรกร ถ้าเกิดเกษตรกรดูแลไม่ดี หรือเกิดความเสียหายสัตว์ป่วยตาย หรือความเสียหายจากวิบัติภัย เช่น น้ำท่วม บริษัทก็ต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด ขณะเดียวกันยังต้องรับความเสี่ยงต่อสภาวะตลาดและราคาสินค้าที่ผันผวน เกษตรกรจึงมีรายได้ค่อนข้างแน่นอน ส่วนจะได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ เช่น ถ้าประสิทธิภาพการผลิตดี เสียหายน้อย สินค้ามี คุณภาพได้มาตรฐาน เกษตรกรก็จะมีรายได้ดี ซึ่ง บริษัทฯจะมีข้อมูลที่ใช้เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบ กับเกษตรกรในโครงการทั่วประเทศ และกำหนดเป็นข้อตกลงเพื่อกำหนดรายได้ที่เหมาะให้แก่เกษตรกร
ส่วนรูปแบบประกันราคานั้น เกษตรกร กลุ่มนี้ไม่อยากเสี่ยงเรื่องสภาวะราคาพันธุ์สัตว์ และวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ผันผวน การกำหนดราคาล่วงหน้า ทำให้สามารถคำนวณต้นทุนได้แน่นอน ที่สำคัญยังไม่ต้องเสี่ยงหรือกังวลเรื่องการหาตลาด และราคาผลผลิตที่ผันผวน เกษตรกรกลุ่มนี้จึงเน้นการผลิตให้มีประสิทธิภาพดี ซึ่งจะส่งผลให้มีต้นทุนต่ำ เท่ากับว่าถ้าทำได้ดีก็จะมีรายได้สูงกว่ารูปแบบประกันรายได้ ในทางกลับกันถ้าการจัดการเลี้ยงไม่มีประสิทธิภาพ เกิดปัญหาภัยพิบัติ หรือโรคระบาด ก็อาจจะขาดทุนอย่างมากได้เช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าจะรูปแบบใดถ้ามีความใส่ใจและตั้งใจจริงย่อมประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยาก
ปัจจุบันเกษตรกรที่ร่วมโครงการกับซีพีเอฟมากกว่า 99% ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เกษตรกรในรุ่นแรกๆ ยังคงดำเนินธุรกิจส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ร่วมกับบริษัทต่อไป ที่สำคัญยังมีเกษตรกรที่ส่งต่อมรดกอาชีพสู่รุ่นลูกหลานให้เข้ามาสานต่อความยั่งยืนของอาชีพได้อย่างมั่นคง ทั้งหมดนี้คงพอจะตอบโจทย์ข้อสงสัยที่มีต่อระบบคอนแทรคฟาร์ม ว่าไม่ใช้ระบบที่ทำร้ายเกษตรกร หรือเอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากแต่เป็นการสร้างประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายทั้ง บริษัท เกษตรกร และที่สำคัญคือผู้บริโภค ที่จะได้รับอาหารที่ปลอดภัยเพื่อสุขภาพที่ดีต่อไป
ปัจจุบันเกษตรกรที่ร่วมโครงการกับซีพีเอฟมากกว่า 99% ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เกษตรกรในรุ่นแรกๆ ยังคงดำเนินธุรกิจส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ร่วมกับบริษัทต่อไป ที่สำคัญยังมีเกษตรกรที่ส่งต่อมรดกอาชีพสู่รุ่นลูกหลานให้เข้ามาสานต่อความยั่งยืนของอาชีพได้อย่างมั่นคง
ขอบคุณ มติชนสุดสัปดาห์