ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
ทลายสัญญาทาส คอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง
20 Mar 2015
ทลายสัญญาทาส คอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง

เกษตรกรไทยหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ดิ้นรนทำมาหากินไปทางไหนก็หนีไม่พ้นบ่วงนายทุน พ่อค้าผูกขาด...“คอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง”...อีกระบบการเกษตรที่เกษตรกรต้องลงทุน น่าสนใจว่าระบบสัญญาส่วนใหญ่ที่ออกแบบร่างกันขึ้นมานั้น ถ้าในภาวะปกติก็มักจะไม่สร้างปัญหา...

ประเด็นปัญหา...เกิดขึ้นในภาวะที่ไม่ปกติ ความเสี่ยงต่างๆก็จะถูกโยนมาให้ “เกษตรกร”...?

ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัย ด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) สะท้อนมุมมองเอาไว้ว่า ลักษณะการลงทุนคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่งจะคล้ายธุรกิจเอสเอ็มอี เพราะการลงทุนโรงเรือนต้องใช้เงินมาก ส่วนใหญ่ก็เป็นล้าน และใช่ว่าเกษตรกรทุกรายลงทุนได้

ประเด็นสำคัญคือ “สัญญา” ถ้าเป็นธรรม มีความกระจ่างชัด กระจายความเสี่ยงกันอย่างเหมาะสมก็เป็นเรื่องดี “คอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง”...ไม่ใช่เป็นความชั่วร้าย แต่ภาครัฐหรือองค์กรที่เป็นกลางจะต้องเข้ามาติดตามดูแล คอยควบคุมกำกับ...สัญญากลางจะต้องเป็นยังไง และเมื่อมีความเสี่ยงคู่สัญญาเกิดความเสียหาย จะต้องชดเชย หรือไม่ต้องมีการชดเชยอย่างไรบ้าง หรือการให้ลงทุนระยะยาว แต่สัญญาเป็นระยะสั้น เป็นธรรมมากน้อยแค่ไหน

สำหรับบริษัทไหนที่อ้างว่า...สัญญาเป็นความลับ เปิดเผยไม่ได้ เพราะกลัวคู่แข่งจะลอกเลียนแบบ ดร.วิโรจน์ มองว่า เป็นเรื่องเหลวไหล คุณจะทำธุรกิจยังไงบนความเคลือบแคลงสงสัย?

เมื่อเป็นเช่นนั้น...“สัญญาคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง” ที่ลึกลับ อาจตีความได้ว่าเป็นความไม่โปร่งใส เสมือนเป็น “สัญญาทาส” ที่พ่อค้าเจ้าสัวหัวใสเอาไว้เบียดบัง หากินกับหยาดเหงื่อเกษตรกร

ในมุมเอกชน “คอนแทรกต์ฟาร์มมิ่ง” (Contract Farming) เป็นระบบการทำการเกษตรที่เป็นสากล มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ โดยเฉพาะค่ายอเมริกาที่เรียกว่าเป็นต้นแบบของระบบนี้ สำหรับประเทศไทยมีการนำระบบคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่งมาใช้ทั้งในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์มากว่า 30 ปี

หากจะจำแนกคอนแทรกต์ฟาร์มมิ่งเลี้ยงสัตว์ในบ้านเราแล้ว พบว่ามีรูปแบบที่แตกต่างกันอยู่หลายแบบ ณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ขอแยกออกเป็น 3 รูปแบบหลักๆ ได้แก่ แบบประกันรายได้ แบบประกันราคา และ แบบประกันตลาด

“แต่ละแบบก็มีรูปแบบ วิธีการ การลงทุน ความเสี่ยงที่แตกต่างกัน”

“แบบประกันรายได้”...ลงทุนน้อยที่สุด เกษตรกรต้องลงทุนด้านโรงเรือน อุปกรณ์ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนการผลิต...ค่าแรงงาน ค่าไฟ ค่าน้ำ ขณะที่บริษัทจะจัดหาพันธุ์สัตว์ อาหาร ยา วัคซีนสัตว์มาให้ เมื่อสิ้นสุดรอบการเลี้ยง เกษตรกรจะมีรายได้มาก...น้อยขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการผลิต อัตราเสียหายของสัตว์ในรุ่นนั้นๆ

น่าสนใจว่ารูปแบบนี้ บริษัทมีความเสี่ยงสูง ต้องเป็นผู้ลงทุนเอง และถือว่าพันธุ์สัตว์ที่นำมาเลี้ยงเป็นทรัพย์สินที่พร้อมจะเสียหายได้เสมอ ในทางกลับกันเกษตรกรจะมีรายได้ค่อนข้างแน่นอน...มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ

ถัดมา “แบบการประกันราคา” เกษตรกรจะลงทุนด้านปัจจัยการผลิตทั้งหมด โดยมีการทำข้อตกลงเรื่องราคาพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ ตลอดจนราคาผลผลิตที่จะขายคืนให้บริษัท

“สัญญาจะทำกันรุ่นต่อรุ่น รูปแบบนี้เหมาะสมสำหรับเกษตรกรรายใหญ่ มีเงินลงทุนสูง พร้อมจะใช้เทคโนโลยี...อุปกรณ์ที่ทันสมัย ทำให้สามารถเลี้ยงสัตว์ในปริมาณที่มากขึ้น และมีโอกาสที่การผลิตจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า จึงมีต้นทุนการผลิตลดลง ส่งผลต่อรายได้ที่สูงขึ้น”

สุดท้าย “แบบประกันตลาด” แบบนี้ลงทุนสูงที่สุด ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายใหญ่ที่ดำเนินงานด้านการเกษตรในลักษณะธุรกิจส่วนตัว ที่มีทั้งความรู้ ประสบการณ์ด้านการเลี้ยงสัตว์เป็นอย่างดี และพร้อมที่จะลงทุน

เกษตรกรใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งพันธุ์...อาหารสัตว์ของบริษัท เนื่องจากเป็นคู่ค้ากันมายาวนาน และมีบริษัทให้คำปรึกษาด้านวิชาการ สรรหาเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ที่ทันสมัยมาแนะนำ พร้อมทั้งชี้แนะทิศทางการเจริญเติบโต

“แบบนี้บริษัทจะรับผิดชอบด้านการตลาดให้ทั้งหมด เพื่อให้เกษตรกรสามารถมีตลาดในการขายผลผลิตที่มั่นคง เรียกว่า...เกษตรกรกลุ่มนี้พร้อมที่จะเสี่ยงในด้านการผลิต ทั้งด้านราคาพันธุ์สัตว์...อาหารสัตว์...ผลผลิต เพียงแต่ต้องการให้บริษัทช่วยรับซื้อผลผลิตเท่านั้น”

ณรงค์ ย้ำว่า ไม่ใช่เกษตรกรทุกรายจะประสบความสำเร็จด้วยระบบนี้ บางรายที่กระโดดเข้ามาอยู่ในอาชีพการเลี้ยงสัตว์ เพียงเพราะเห็นเพื่อนบ้านทำแล้วมีรายได้ดีจึงอยากจะเลี้ยงบ้าง ทั้งๆที่เขามีคุณสมบัติไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกนักลงทุนประเภทจับเสือมือเปล่า ลงทุนกู้ธนาคาร 100 เปอร์เซ็นต์...เล็งผลเลิศ โดยมั่นใจว่าร่วมโครงการกับบริษัทใหญ่แล้วอยู่รอดแน่นอน ซึ่งเกษตรกรกลุ่มนี้แทบจะไม่มีรายใดประสบผลสำเร็จเลย

คุณสมบัติหนึ่งของเกษตรกรที่ไม่ประสบความสำเร็จ คือ การไม่ใส่ใจ...ดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิด

ผศ.ดร.อภิญญา วนเศรษฐ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศึกษาเรื่อง “เกษตรพันธสัญญาในรูปแบบสหกรณ์ : ทางเลือกเพื่อเกษตรกรรายย่อย” พบว่า เกษตรกรรายย่อยจะมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุน และไม่สามารถลงทุนในเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้เงินทุนสูงได้ จึงไม่สามารถผ่านการคัดเลือกเข้าเป็นคู่สัญญากับบริษัทใหญ่ที่มีมาตรฐานสูง ในเรื่องระบบการเลี้ยงและการจัดการฟาร์ม

ดังนั้น...“เกษตรกรรายย่อย” เหล่านี้ มักเลือกทำเกษตรพันธสัญญากับบริษัทเล็กที่มีความยืดหยุ่นและไม่เข้มงวดในเงื่อนไขต่างๆมากนัก ส่วน “เกษตรกรรายใหญ่” ที่มีเงินทุนเพียงพอ...เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดี ก็สามารถลงทุนในระบบการเลี้ยงที่ทันสมัยได้ ทำให้สามารถเลือกบริษัทเอกชนที่จะมาเป็นคู่สัญญาได้

ความแตกต่างข้างต้น นำไปสู่ข้อสรุปได้ว่า...เกษตรกรรายใหญ่ที่เป็นคู่สัญญากับบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ จะได้เปรียบในเรื่องต้นทุนต่ำจากการผลิตในปริมาณมากแล้วทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง หรือที่เรียกว่า การประหยัดจากขนาด (Economy of scale) ขณะเดียวกันก็ได้ผลผลิตที่มีมาตรฐาน

“เกษตรกรกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าสู่ระบบเกษตรพันธสัญญา ส่วนเกษตรกรรายย่อยมักมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยและอัตราการสูญเสียในกระบวนการผลิตสูงกว่ากลุ่มแรก หากมีการบริหารจัดการที่ไม่ดีพอก็อาจประสบผลขาดทุนและมีหนี้สินตามมา”

ผศ.ดร.อภิญญา บอกว่า แนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยต้องใช้การรวมกลุ่มเกษตรกรในรูปแบบสหกรณ์สร้างจุดแข็ง ลดจุดอ่อน ช่วยให้สามารถเข้าถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเกษตรพันธสัญญา ทั้งเรื่องเงินทุน เทคโนโลยีที่มีมาตรฐาน นอกจากนี้ยังจะได้รับประโยชน์จากการประหยัดจากขนาดด้วยการรวมกลุ่ม การแบ่งงานกันทำจนเกิดความชำนาญเฉพาะด้าน นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

รวมทั้งการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์จะได้ประโยชน์จากการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ประการสำคัญคือช่วยแก้ปัญหาในเรื่องเงินทุน โดยการระดมทุน และการกู้ยืมที่จะทำได้ง่ายขึ้น

กลุ่มที่ประสบความสำเร็จแล้ววันนี้ อาทิ โครงการหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตร สันกำแพง จ.เชียงใหม่, โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง, โครงการตามพระราชประสงค์ดอนขุนห้วย, สหกรณ์การเกษตรหนองพลับ จำกัด, โครงการตามพระราชประสงค์กลัดหลวง จ.เพชรบุรี, โครงการหมู่บ้านสหกรณ์การเกษตรห้วยสัตว์ใหญ่ ป่าละอู-ป่าเด็ง จ.ประจวบคีรีขันธ์ และโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในผืนดินพระราชทาน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา

พลัง “สหกรณ์”...พลัง “การรวมกลุ่ม” จะช่วยให้เกษตรไทยเข้มแข็งขึ้น ลืมตาอ้าปากได้.

ที่มา : ไทยรัฐ

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x