ด้วยจำนวนประชากรมากกว่า 70% ของไทย ประกอบอาชีพเกษตรกรรม "เกษตรกร" จึงถือเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศที่ควรได้รับการพัฒนาและให้การสนับสนุนด้านอาชีพ แต่ที่ผ่านมายังพบว่าเกษตรกรต้องเผชิญกับความเสี่ยงและปัญหามากมาย ทั้งความเสี่ยงต่อสภาวะสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงกระทบต่อผลผลิตทำให้มี รายได้ไม่แน่นอน ความเสี่ยงต่อโรคระบาดและสภาวะราคาที่ผันผวนในขณะที่ต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้น ความเสี่ยงจากการไม่มีตลาดรองรับสินค้าที่แน่นอน นอกจากนี้ เกษตรกรยังขาดความรู้ด้านวิชาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่จะช่วยผลักดันให้การผลิตก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพ และมีปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สาเหตุทั้งหมดนี้ทำให้เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ ต้องล้มลุกคลุกคลาน และตกอยู่ภายใต้วังวนของความยากจนมาตลอด
จากปัญหาดังกล่าว ภาคเอกชนไทย จึงมีการนำระบบส่งเสริมอาชีพเกษตรรายย่อย หรือระบบคอนแทรคฟาร์ม (Contract Farming) มาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ตามนโยบายของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เมื่อกว่า 30 ปีที่ผ่านมา โดยนำมาใช้ในภาคเกษตรทั้งสัตว์และพืช อาทิ ไก่ไข่ ไก่เนื้อ เป็ด อ้อย ข้าวโพด มันฝรั่ง มะเขือเทศ ข้าวบาร์เลย์ สับปะรด ฯลฯ เพื่อให้การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรได้รับความ เป็นธรรม เกษตรกรมีรายได้แน่นอน โดยมีบริษัทเอกชนที่มีความรู้และความชำนาญด้านการผลิต มีเทคโนโลยี และเชี่ยวชาญด้านการตลาด เข้ามาบริหารงานและรับความเสี่ยงแทนเกษตรกร ช่วยให้เกษตรกรมีแหล่งรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
นายณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ผู้ที่คร่ำหวอดในวงการปศุสัตว์บ้านเรามากว่า 3 ทศวรรษ บอกว่า หลายคนอาจรู้จักคอนแทรคฟาร์มมิ่งแล้วแต่ก็ยังมีบางคนที่ยังเข้าใจระบบนี้อย่าง คลาดเคลื่อน และอาจถึงกับมองคำนี้ในภาพลบเสียด้วยซ้ำ อธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆ คอนแทรคฟาร์มมิ่ง ก็คือการทำธุรกิจที่มี ข้อตกลงไว้ล่วงหน้าภายใต้เงื่อนไข ว่าจะลงทุนผลิตอะไร ผลิตที่ไหน ใช้เทคโนโลยีแบบไหน ใช้แหล่งเงินทุนที่ใด เกษตรกรลงทุนอะไรบ้าง ภาคบริษัทฯลงทุนส่วนใดบ้าง มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน และมีข้อตกลงเรื่องรายได้ที่จะเกิดขึ้น สรุปคือ เป็นโครงการ 3 ประสาน ระหว่าง เกษตรกร บริษัท และสถาบันการเงิน
สำหรับระบบคอนแทรคฟาร์มด้านการเลี้ยงสัตว์นั้น ซีพีได้นำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาภาคเกษตร ตั้งแต่ปี 2518 ที่โครงการเลี้ยงไก่เนื้อ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ต่อมาได้ขยายพื้นที่โครงการส่งเสริมไปอีกหลายจังหวัดและครบทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และมีการขยายเพิ่มจากโครงการส่งเสริมเลี้ยงไก่เนื้อ เป็นโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสุกร และโครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ ปัจจุบันมีเกษตรกรร่วมโครงการรวม 4,999 ราย
"เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ คอนแทรคฟาร์มกับซีพีเอฟ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบประกันรายได้ร้อยละ 87 และรูปแบบ ประกันราคาร้อยละ 12 ถึงแม้รูปแบบนี้อาจมีความเสี่ยงอยู่บ้าง ในกรณีที่เกิดโรคระบาด และวิบัติภัย แต่ก็มีความเสี่ยงน้อยกว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์โดยอิสระทั่วไป ที่ต้อง รับความเสี่ยงทางธุรกิจทั้งหมดไว้เอง" นายณรงค์ อธิบาย
ส่วนดัชนีที่ใช้วัดความสำเร็จของเกษตรกรคอนแทรคฟาร์มมิ่งกับซีพีเอฟนั้น ณรงค์ บอกว่า มีอยู่ 3 ประเด็นหลักคือ เกษตรกรสามารถคืนเงินกู้ให้กับสถาบัน การเงินภายในระยะเวลาของโครงการ (ภายใน 8-9 ปี) สูงถึงร้อยละ 98, มีเกษตรกรมากกว่าร้อยละ 50 เข้าร่วมโครงการนานกว่า 10 ปี บ่งบอกถึงการส่งเสริมอาชีพที่มั่นคง, ที่สำคัญเกษตรกรหลายราย ที่มีศักยภาพ มีการขยายกิจการ จาก 1 ฟาร์ม เป็นหลายๆฟาร์ม และส่งต่อความสำเร็จเป็นมรดกอาชีพจากรุ่นพ่อ-แม่ สู่รุ่นลูก-หลาน ให้เกษตรกรรุ่นใหม่ได้เข้ามาสานต่อความยั่งยืนของอาชีพได้อย่างมั่นคง
โครงการคอนแทรคฟาร์มกับซีพีเอฟ แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ การประกันรายได้ การประกันราคา และ การประกันตลาด โดยรูปแบบการประกันรายได้ เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยเนื่องจากมีรายได้ค่อนข้างแน่นอน ส่วนบริษัทจะเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบ ในการเลี้ยงสัตว์ทั้งหมดให้ พร้อมเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงทุกอย่างแทน ไม่ว่าจะเป็นกรณีสัตว์เกิดความเสียหายจากการป่วยตาย หรือภัยพิบัติ และบริษัทยังรับความเสี่ยงต่อสภาวะ ตลาดและราคาสินค้าที่ผันผวนด้วย ส่วนรูปแบบ การประกันราคา เหมาะสำหรับเกษตรกร รายกลางหรือเกษตรกรรายใหญ่ ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ และพร้อมที่จะลงทุนเพิ่มขึ้น โดยซื้อวัตถุดิบและทำสัญญาเรื่องการรับซื้อ ผลผลิตกับบริษัทในราคาตามที่ตกลงกันไว้ ระบบนี้เกษตรกรจึงไม่ต้องการเสี่ยงหรือกังวลเรื่องการหาตลาดและเรื่องราคาผลผลิตที่ผันผวน สำหรับรูปแบบการประกันตลาดเป็นเกษตรกรรายใหญ่ ที่มีเงินทุนและพร้อมเสี่ยงกับภาวะราคา แต่ต้องการให้บริษัทช่วยหาตลาดแทนเพราะมีความชำนาญมากกว่า
นายณรงค์ กล่าวว่า ตลอด 4 ทศวรรษที่ผ่านมา เกษตรกรที่ร่วมโครงการส่งเสริม มีความมั่นคงในอาชีพและรายได้ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่เพียงเพราะบริษัทเข้าไปส่งเสริมอาชีพและสร้างงานเท่านั้น หากแต่ความมุ่งมั่น ขยันขันแข็ง มีความซื่อสัตย์ และพร้อมเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาของเกษตรกรเอง นับเป็นปัจจัยของความสำเร็จที่น่ายกย่อง ที่สำคัญคอนแทรคฟาร์มยังมีส่วนในการพัฒนาภาคเกษตร สร้างอาชีพที่มั่นคงแก่เกษตรกร และสร้างอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภค เรียกว่าเป็นระบบที่สร้างประโยชน์ให้ทุกฝ่าย
ตลอด 4 ทศวรรษที่ผ่านมา การเกษตรกรที่ร่วมโครงการส่งเสริม มีความมั่นคงในอาชีพและรายได้ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่เพียงเพราะบริษัทเข้าไปส่งเสริมอาชีพและสร้างงานเท่านั้น หากแต่ความมุ่งมั่น ขยันขันแข็ง มีความซื่อสัตย์ และพร้อมเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาของเกษตรกรเอง นับเป็นปัจจัยของความสำเร็จที่น่ายกย่อง
ขอบคุณ มติชนสุดสัปดาห์