ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
'เกษตรอัจฉริยะ'...จุดเปลี่ยนอนาคตอาหารโลก
01 Sep 2015
'เกษตรอัจฉริยะ'...จุดเปลี่ยนอนาคตอาหารโลก

'เกษตรอัจฉริยะ'...จุดเปลี่ยนอนาคตอาหารโลก 
ผศ.ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


          ขณะที่ ยานอวกาศ รถยนต์อากาศยาน และภาคส่วนอื่นๆ ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นไปอย่างไม่มีขีดจำกัด แต่ภาคเกษตรกรรมกลับถูกทอดทิ้งมานาน ทำให้การเกษตรย่ำอยู่กับที่ ทั้งๆ ที่เกษตรกรรม คือ "ครัว"ที่ผลิตอาหารป้อนมนุษย์โลก


          อย่างไรก็ตามเมื่อมองปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของโลกในอนาคต ทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตัวการของปัญหาโลกร้อนรวมถึงการคาดการณ์จำนวนประชากรโลกที่จะเพิ่มขึ้นเป็น  9 พันล้านคน ในปี ค.ศ.2050 ซึ่งจะทำให้สังคมเมือง (Urbanization) มีขนาดใหญ่ขึ้นถึงร้อยละ 70 ของทั้งหมด นำไปสู่ความต้องการอาหารจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 ทำให้ภาคเกษตรจำเป็นต้องใช้น้ำมากขึ้นถึงกว่าร้อยละ 70 สิ่งเหล่านี้ทำให้นานาประเทศหันกลับมามองเรื่องการพัฒนาด้านการเกษตรที่จะกลายเป็นอนาคตของโลก


          โดยในศตวรรษที่  21 การเกษตรกรรมของโลกจะเข้าสู่ยุค Paradigm Shift หรือการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ครั้งใหญ่ กลายเป็น "เกษตรกรรม เวอร์ชั่น2.0" ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของภาคเกษตรกรรม ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ การเปลี่ยนจากเกษตรกรรมที่พึ่งพาสารเคมี สู่การเกษตรแบบชีววิทยาสังเคราะห์ (Bio-agriculture หรือSynthetic Biology) และการเปลี่ยนจากเกษตรกลางแจ้ง(Outdoor Farming)  ซึ่งเป็นเกษตรแบบดั้งเดิมที่ต้องต่อสู้กับสภาพดินฟ้าอากาศ สู่เกษตรในร่ม(Indoor Farming) ที่ทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในสิ่งปลูกสร้างที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อม ดังเช่น การทำไร่ในอาคารสูง (Vertical Farming), การทำเกษตรในแนวดิ่ง, การทำฟาร์มในเมืองเพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารได้เองทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์, การปลูกเนื้อสัตว์ (In vitro meat) แทนการเลี้ยงสัตว์ที่มีชีวิตและการผลิตอาหารสังเคราะห์ (Synthetic foods)


          เมื่อระบบการเกษตรเปลี่ยนผ่านสู่ยุคสมัยของ เกษตรอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm หรือ Intelligent Farm) เพื่อให้สามารถผลิตอาหารป้อนประชากรโลกที่จะมากขึ้นในอนาคตเกษตรกรและบุคลากรทางการเกษตรจะให้ความสำคัญกับการทำฟาร์มที่มีความแม่นยำสูง (Precision Farming)โดยเน้นการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด ด้วยการดูแลทุกกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำผ่านระบบเซ็นเซอร์ที่จะทำการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือสมัยใหม่เพื่อให้กระบวนการผลิตถูกต้องตั้งแต่เริ่มหว่านเมล็ด รดน้ำ ให้ปุ๋ย ให้ยาปราบศัตรูพืชการเก็บเกี่ยวและคัดเลือกผลผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด 

 

ปัจจุบันเกษตรกรรมความแม่นยำสูงเป็นที่นิยมกันมากในสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย รวมถึงหลายประเทศที่เริ่มทำการวิจัยด้านนี้ ทั้งในยุโรป ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินเดีย ขณะเดียวกันยังเน้น การทำฟาร์มอัจฉริยะ ที่มีการนำเทคโนโลยีทันสมัยทั้งระบบคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร ระบบเซ็นเซอร์ และเทคโนโลยีชีวภาพมาผสมผสานกับงานด้านการเกษตร ควบคู่กับการเกษตรแบบวิศวกรรมเปลี่ยนแปลง (Geo engineering) ที่จะนำเอาเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาช่วย เช่น การเปลี่ยนให้พื้นดินที่ไม่สามารถเพาะปลูกอะไรได้อย่างทะเลทรายให้เป็นแหล่งผลิตอาหาร ในอนาคต


          ปัจจุบันหลายประเทศรวมถึงหลายบริษัทยักษ์ใหญ่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านเกษตรและอาหารมากขึ้น และต่อไปโลกจะเข้าสู่อาหารยุคดิจิตอล ที่ผู้บริโภคเป็นผู้ผลิตอาหารเองโดยใช้เทคโนโลยีทันสมัย


          ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่นและจีน ที่มุ่งปฏิรูปเกษตรกรรม สนับสนุนการรวมที่นามาทำเกษตรแปลงใหญ่(Sharing Farming) ที่เปลี่ยนเกษตรกรเป็นผู้ถือหุ้นตามมูลค่าทรัพย์สินที่ลงไปในบริษัทที่ร่วมทุนกัน โดยเกษตรกรจะเป็นพนักงานหรือเป็นเพียงผู้ถือหุ้นก็ได้ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตเรื่องนี้ต้องเข้ามาในประเทศไทยอย่างแน่นอน, เวียดนามดึงบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างฟูจิตสึมาพัฒนาระบบสมาร์ทฟาร์มด้วยการใช้เทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาสนับสนุนด้านการเกษตรเช่นการใช้กล้องบันทึกภาพการเติบโตของพืชผักที่ปลูก ส่งตรงข้อมูลเข้าโปรแกรมทางมือถือเพื่อวิเคราะห์การเจริญเติบโต พร้อมระบบสั่งการการให้น้ำ-ให้ปุ๋ยแบบอัตโนมัติ, เกาหลีพัฒนาเมืองอาหารด้วยการส่งเสริมให้คนในเมืองที่มีมากกว่า 5 ล้านคน ลงมือปลูกผักกินเองในบ้านตนเอง หรือทำสวนผักชุมชน, สิงคโปร์ปลูกผัก-เลี้ยงปลาเก๋าในอาคาร ปลูกผักเลี้ยงผึ้งบนหลังคา


          ส่วนบริษัทที่หันมาสนใจด้านการเกษตร เช่น ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในญี่ปุ่นหันมาพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตร, Google กำลังทำการปลูกเนื้อสัตว์เฉพาะส่วน เช่น ปลูกอกไก่ ปลูกขาหมูปลูกเนื้อสันใน-สันนอกที่สามารถควบคุมรสชาติและคุณค่าทางอาหารได้,บริษัทไอทีในสหรัฐอเมริกาและจีนหันมาตื่นตัวลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารและการทำฟาร์มเกษตร สำหรับไทยเราผู้นำด้านการเกษตรอย่างซีพี (CP) เองก็ได้พัฒนาการเกษตรไปอีกขั้นด้วยโครงการเกษตรกรรมหมุนเวียนทันสมัย ผิงกู่ ที่ประเทศจีน โดยเลี้ยงไก่ไข่ 3 ล้านตัวแบบครบวงจร และนำมูลไก่ไปใช้ในพื้นที่ปลูกท้อ ในพื้นที่ 2.5 หมื่นไร่บริเวณรอบๆฟาร์มที่ซีพีได้ร่วมมือกับบริษัทผลิตผลไม้รายใหญ่ในจีนส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกท้อออร์แกนิก เป็นต้น


          นอกจากนี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในอนาคตคือ การเกษตรจะถูกผนวกไปกับ อาหาร วัสดุ ท่องเที่ยวสุขภาพ พลังงาน ดังนั้นนักลงทุนที่ทำธุรกิจอุตสาหกรรมจะหันมาทำเกษตรทั้งหมด เช่น ปตท.ที่หันมาทำธุรกิจปลูกกาแฟเนื่องจากมีกำไรจากการทำร้านกาแฟ จึงเกิดความคิดเอาอาหารมาแทนพลังงานในอนาคต, SCG ที่มองเกษตรคืออนาคตจึงปลูกต้นไม้เองเพื่อมาป้อนธุรกิจตนเอง อาจเรียกยุคนี้ว่า Bio eco nomy คือการเพาะปลูกอะไรก็ได้ที่จะเปลี่ยนเป็นวัตถุดิบสำหรับปิโตรเคมี หรือการเปลี่ยนน้ำมันใต้ดินให้เป็นน้ำมันบนดิน


          "แม้ประเทศไทยจะมีศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรอยู่แล้ว แต่ก็ต้องปรับตัวเองเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ โดยต้องมองว่าเกษตรกรคือนักธุรกิจเกษตรไม่ใช่เพียงผู้ผลิตสินค้าเกษตรเท่านั้น รวมทั้งต้องทำให้ระบบนิเวศธุรกิจ หรือBusiness Ecosystem มีความเข้มแข็งด้วยการส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายของบุคลากรด้านการเกษตรมากขึ้น เช่นสร้างผู้พัฒนาเครื่องจักรกลทางการเกษตรผู้เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตรและการส่งออก การพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่สนับสนุนด้านการเกษตรเป็นต้น"


          เมื่อแทบทุกประเทศหันมามองการทำเกษตรที่จะกลายเป็นอนาคตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเกษตรกรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จะอาศัยและอยู่ร่วมกันได้อย่างผสมกลมกลืน และต่อไปมีความเป็นไปได้สูงที่โลกจะเข้าสู่ยุคล่าอาณานิคมเกษตร (TheNewImperialism)เหมือนกับยุคล่าอาณานิคมในอดีต โดยเฉพาะประเทศที่ไม่มีพื้นที่ทำการเกษตรแต่มีเทคโนโลยีขั้นสูงและทุนหนา อย่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประเทศไทยก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับตัวเตรียมรับมือกับเรื่องดังกล่าว เพื่อให้มีทั้งอาหารเลี้ยงคนในชาติและส่งอาหารป้อนคนทั้งโลกได้ตามวิสัยทัศน์การเป็น "ครัวของโลก" ที่รัฐบาลหลายยุคสมัยดำเนินการมาตลอด

 

CR. หนังสือพิมพ์สยามรัฐ 

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x