ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
ภาคปศุสัตว์ ป้องเชื้อดื้อยาได้ดีกว่าคน!!
24 Jun 2015
ภาคปศุสัตว์ ป้องเชื้อดื้อยาได้ดีกว่าคน!!

นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล

ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


 ข้อมูลจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขในปี พ.ศ.2553 ระบุว่า "โรคติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ" เป็นโรคติดเชื้อที่มีอันตรายร้ายแรง เนื่องจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายชนิด ไม่มียารักษาและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต แต่ละปีมีคนไทยติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะมากกว่า 100,000 คน อยู่โรงพยาบาลนานขึ้น 3.24 ล้านวัน เสียชีวิต 38,481 ราย และประเทศสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากกว่าสี่หมื่นล้านบาท และปัจจัยสำคัญที่ทำให้เชื้อในประเทศไทยดื้อยาอย่างรวดเร็วก็คือมีการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็นอย่างกว้างขวาง


          การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็นเกิดขึ้นจากการจ่ายยาปฏิชีวนะ และ/หรือ ซื้อยาปฏิชีวนะรักษาทุกอาการอย่างพร่ำเพรื่อ ทั้งที่โดยหลักการไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะเกิน 20% ในโรคทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น โรคหวัด ไอ เจ็บคอ ท้องร่วงและอาหารเป็นพิษ แต่ในบ้านเรามีการจ่ายยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคดังกล่าวในโรงพยาบาลรัฐโดยเฉลี่ยสูงถึง 49-56% และในโรงพยาบาลเอกชนมีการจ่ายสูงถึง 80-90% ส่งผลให้โรคติดเชื้อแบคทีเรียรักษาด้วยยายากขึ้น


          ขณะที่ผู้ป่วยหลายรายมักเป็นฝ่ายเรียกร้องให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจ่ายยาปฏิชีวนะทั้งด้วยคำพูดและการแสดงออก เป็นการบีบบังคับทางอ้อมให้ต้องจ่ายยาปฏิชีวนะ ด้วยความเชื่อผิดๆ ส่วนตัวที่ว่าต้องกินยาปฏิชีวนะจึงจะหายป่วย แม้กระทั่งบางรายขอกินยากันไว้ก่อนทั้งๆ ที่ยังไม่เกิดอาการ รวมถึงคนไข้บางรายเมื่ออาการดีขึ้นก็หยุดรับประทานยาปฏิชีวนะทันที ทำให้ร่างกายได้รับยาไม่ครบโดส เหล่านี้ล้วนเป็นการใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อและใช้อย่างไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการดื้อยาในปัจจุบัน


          ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เช่น แพทย์ เภสัชกร และผู้เกี่ยวข้องในแวดวงสาธารณสุข ตลอดจนภาคปศุสัตว์ผู้ผลิตเนื้อสัตว์เป็นอาหารต่างตระหนักดีถึงอันตรายดังกล่าว จึงได้เร่งหามาตรการป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ โดยเจาะลึกเข้าไปที่สาเหตุหลักของปัญหา นั่นคือการใช้ยามากเกินจำเป็นและเป็นที่มาของโครงการต่างๆ ภายใต้คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติซึ่งครอบคลุมถึงการใช้ยาปฏิชีวนะทั้งในมนุษย์และในสัตว์...


          ประเด็นที่น่าสนใจคือ...การรณรงค์ส่งเสริมเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นนี้ กลับเห็นผลที่รวดเร็วและชัดเจนจากภาคปศุสัตว์ มากกว่าภาคสาธารณสุข ... เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?


          ประการแรก : น่าจะเป็นความรวดเร็วและเข้มแข็งของหน่วยราชการต่างๆ ในกรมปศุสัตว์ที่มีการประชุมหารือในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินการแก้ไขทันทีที่พบปัญหา ตลอดจนออกกฎระเบียบกฎกระทรวงเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติอย่าง รวดเร็ว


          จากอดีตที่อาจเคยได้ยินว่ามีการผสมยาปฏิชีวนะลงในอาหารสัตว์เพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนัก แต่ในปัจจุบันกรมปศุสัตว์มีการออกกฎหมายที่เข้มงวด ห้ามมิให้มียาปฏิชีวนะเจือปนในอาหารสัตว์ โดยหากจะมีการใช้ยาปฏิชีวนะใดๆ ภายในฟาร์มจะต้องเป็นไปเพื่อ "รักษา" สัตว์ป่วย และต้องสั่งยาโดย "สัตวแพทย์" เท่านั้น อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฎระเบียบและกฎหมายต่างๆ ยังไม่สามารถครอบคลุมผู้ประกอบการได้ทั้ง 100%


          ประการต่อมา : ภาคปศุสัตว์มีเงื่อนไขเชิงเศรษฐกิจเป็นแรงขับเคลื่อนอันทรงพลัง ด้วยมาตรฐานสากลของประเทศคู่ค้าของไทยมีความเข้มงวดในประเด็นสารตกค้างอย่างมาก ขณะที่บริษัทเอกชน ผู้ผลิตอาหารจากเนื้อสัตว์และสัตว์น้ำรายใหญ่เองก็ต้องการยกระดับสินค้าของตนเองให้เป็นมาตรฐานโลก จึงร่วมมือกับภาครัฐอย่างเต็มที่ในการดำเนินการตามข้อกำหนดต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐาน Food Safety ตอบสนองความต้องการของประเทศคู่ค้า หากไม่ทำย่อมกระทบคุณภาพสินค้าและการยอมรับของผู้บริโภค ซึ่งหาก ผู้บริโภคในประเทศเรียกร้องให้อาหารดังกล่าวปลอดจากสารเคมีและยาปฏิชีวนะด้วยมาตรฐานเดียวกันกับสินค้าส่งออกในทุกช่องทางการจำหน่ายด้วย ก็จะเป็นแรงผลักดันให้คนในประเทศได้บริโภคอาหารที่ปลอดจากสารตกค้างกันอย่างทั่วถึง


          ความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องในสาขาปศุสัตว์ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างจริงจังเช่นนี้นี่เองที่ทำให้การป้องกันเชื้อดื้อยาของภาคปศุสัตว์ดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แม้การรับประทานเนื้อสัตว์ที่มียาปฏิชีวนะตกค้างอาจทำให้เกิดอาการดื้อยาในมนุษย์ได้ แต่ก็ถือว่าเป็นสาเหตุลำดับรอง และยิ่งในปัจจุบันมีระบบป้องกันยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์ที่มีประสิทธิภาพขึ้น ยิ่งทำให้ประเด็นนี้มีความน่ากังวลน้อยลง โดยเฉพาะในผู้ประกอบการที่มี ธรรมาภิบาลซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ


          ทว่า...ความตระหนักต่อปัญหาเชื้อดื้อยาของผู้รู้ในแวดวงสาธารณสุข กลับนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเชื่องช้าและขาดประสิทธิภาพดังจะเห็นได้จาก


          ประการแรก : การขายยาปฏิชีวนะยังเป็นไปอย่างเสรีปราศจากการกำกับ ควบคุม แม้มีกฎหมายห้าม แต่ประชาชนยังสามารถซื้อยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นยาอันตรายได้จากร้านชำในหมู่บ้าน


          ประการต่อมา : ยังไม่มีภาคเอกชนใดที่เกิดความตระหนักรู้และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง


          ประการที่สาม : ยังขาดการลงทุนเพื่อช่วยให้แพทย์รักษาโรคติดเชื้อได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เช่น การเพาะเชื้อในห้องแล็บเพื่อจะเลือกใช้ยาให้ตรงกับเชื้อ ไม่ต้องสุ่มใช้ยาที่มีฤทธิ์กว้าง แต่โรงพยาบาลอีกนับร้อยแห่งในประเทศไทยกลับไม่มีห้องแล็บไว้รองรับ นอกจากนี้ยังขาดแรงผลักดันที่กระตุ้นให้เกิดการแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาในมนุษย์อย่างจริงจัง เนื่องจากการทุพพลภาพและการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาเป็นไปอย่างช้าๆ เงียบๆ ไม่เป็นข่าว ทำให้แรงบีบเชิงสุขภาพยังไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและลงมือปฏิบัติ ต่างจากการติดเชื้ออีโบล่า ซาร์ส หรือเมอร์ส ที่มีการแพร่กระจายในผู้ป่วยจำนวนมากให้เห็นชัดๆ และมีรายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง


          ที่สำคัญ ยังไม่มีแรงจูงใจหรือแรงขับเคลื่อนในเชิงเศรษฐกิจเข้ามาเป็นตัวบังคับอย่างเช่นที่ภาคปศุสัตว์มี ทำให้ความกระตือ รือร้นของผู้มีอำนาจและผู้ที่จะช่วยผลักดันให้โครงการสัมฤทธิผล มีไม่เพียงพอ การป้องกันเรื่องเชื้อดื้อยาในมนุษย์จึงเห็นผลค่อนข้างน้อย...


          ดูไปการแก้ไขปัญหาเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะในมนุษย์ ก็อาจจะไม่ต่างกับเรื่องมาตรฐานของกรมการบินพลเรือนที่ไม่มีคนสนใจมานาน กระทั่งมีแรงบีบจากภายนอกเข้ามา จึงส่งผลให้เกิดความกังวลว่าจะกระทบการท่องเที่ยว กระทบจีดีพี และกระตุ้นให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างที่เห็น...


          น่าแปลกไหม? ที่คนเราจะมีแอ๊กชั่นได้ต้องมีแรงบีบทาง "เศรษฐกิจ" เท่านั้น ทั้งๆ ที่มันเป็นเรื่อง "สุขภาพ" ของพวกเราเอง


          อย่างไรก็ตาม บุคคลที่อยู่ในวิชาชีพสาธารณสุขควรต้องเป็นคนจุดประกาย โดยเริ่มทำในสิ่งที่ถูกต้อง ด้วยการลด-ละ-เลิกการจ่ายยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ พร้อมที่จะให้ความรู้แก่ประชาชน ไม่ละเลยที่จะอธิบายเพื่อชี้ให้เขาเห็นว่าควรใช้ยาเท่าที่จำเป็น และโรคในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่แล้วไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา ต้องช่วยลบความเชื่อเดิมๆ ว่ายาปฏิชีวนะรักษาได้ทุกอาการให้หมดไป


          รวมทั้งหยุดเรียกยาปฏิชีวนะว่า "ยาแก้อักเสบ" ...แค่นี้ก็อาจจะทำให้พอมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ในการป้องกันเชื้อดื้อยาในมนุษย์ได้บ้าง

 

ขอบคุณ มติชน

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x