ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
ฟาร์มสุกรขาดน้ำ-ข้าวโพดแพง ส่งผลปริมาณหมูน้อยดันราคาสูง
14 Aug 2015
ฟาร์มสุกรขาดน้ำ-ข้าวโพดแพง ส่งผลปริมาณหมูน้อยดันราคาสูง

ผู้เลี้ยงสุกรปรับตัวลดเสี่ยง หลังแบกต้นทุนสูงจากปัญหาฟาร์มขาดน้ำช่วงแล้งและข้าวโพดราคาสูง ด้วยการชะลอการนำลูกสุกรรอบใหม่เข้าเลี้ยง คาดส่งผลให้มีปริมาณออกสู่ตลาดน้อยลง ดันราคาสูงในช่วงสั้น

       นายสุนทราภรณ์ สิงห์รีวงศ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ เปิดเผยว่า สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปีต่อเนื่องมาถึงกลางปีที่ผ่านมา (เดือนมกราคม-กรกฎาคม) ทำให้หลายพื้นที่ประสบกับภาวะน้ำแล้ง เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรจึงไม่สามารถนำสุกรเข้าเลี้ยงในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากน้ำไม่สะอาดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพสุกรที่เลี้ยง

       ขณะที่ความต้องการของตลาดมีไม่มากนัก ผู้เลี้ยงจึงตัดสินใจไม่นำลูกสุกรรอบใหม่เข้าเลี้ยง ส่งผลให้เกษตรกรที่ทำฟาร์มพ่อ-แม่พันธุ์จำเป็นต้องตัดวงจรการผลิตด้วย เพื่อลดปริมาณลูกหมูและลดต้นทุน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการปลดพ่อ-แม่พันธุ์มาเป็นเวลา 4 เดือนแล้ว แต่ลูกสุกรก็ยังขายไม่ได้

       นายสุนทราภรณ์กล่าวต่อไปว่า ภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้นปีนี้ทำให้หลายพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงและการเติบโต เพราะปกติสุกรจะกินน้ำเป็นสามเท่าของปริมาณอาหารที่กินในแต่ละวัน เมื่อขาดน้ำดื่มการกินอาหารจึงลดลงไปด้วย ทำให้สุกรเติบโตช้ากว่าปกติ การสร้างภูมิคุ้มกันลดลง ส่งผลให้มีปริมาณผลผลิตลดลง

       นอกจากนี้ ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังถีบตัวสูงขึ้นมาก เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดได้รับผลกระทบจากภัยแล้งด้วย ทำให้ต้องเสียรอบการผลิตไป ประกอบกับสาธารณรัฐประชาชนจีนรับซื้อข้าวโพดอาหารสัตว์ทั้งหมด ส่งผลให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวสูงขึ้นจากเดิมมีราคากิโลกรัมละ 9.40 บาท เพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 10.80 บาท สำหรับผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูกาลใหม่ต้องรออีก 2-3 เดือนจึงจะมีผลผลิตออกมา

       นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือกล่าวด้วยว่า จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นผู้เลี้ยงจึงต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นจากการเลี้ยงที่เบาบาง และวัตถุดิบที่แพงขึ้น ส่งผลให้ราคาหมูขยับขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยขณะนี้มีราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 65-68 บาท แต่ผู้บริโภคไม่ต้องกังวลกับราคาที่ปรับขึ้นนี้ เพราะเป็นการขึ้นในช่วงสั้นๆ และมีโอกาสที่จะปรับตัวลงในช่วงเทศกาลกินเจ ซึ่งตรงกับเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้โดยเป็นช่วงที่มีความต้องการบริโภคน้อยลง 

cr. ผู้จัดการออนไลน์ 

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x