ABOUT CPF
ABOUT CPF
CPF operates integrated agro-industrial and food business with its objectives to provide products in high quality and environmentally and socially responsible manner.
Business Overview Staff Login
BUSINESS
Business
CPF is committed to providing high quality products that are nutritious, tasty, safe and traceable.
Overview
SUSTAINABILITY
CPF and Sustainability
To strengthen capacity and growth opportunities while creating shared value with diverse stakeholder groups.
Lead the way to Sustainability
sustainability
CPF and Sustainability
CPF operates its business on the principle of Corporate Social Responsibility towards Sustainability under 3 pillars - “Food Security, Self-Sufficient Society and Balance of Nature”
MEDIA CENTER
Media Center
Discover our latest news, covering sustainability, innovations, industry news and more
Media Center
media-center
Media Center
Find CPF’s latest news and many of our good stories.
ENGLISH
 ต่างมุมมอง "คอนแทรคฟาร์ม" ช่วยเกษตรกรไทยก้าวหน้า
12 May 2015
ต่างมุมมอง "คอนแทรคฟาร์ม" ช่วยเกษตรกรไทยก้าวหน้า

แม้ว่าระบบเกษตรกรพันธสัญญา ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยมาแล้วกว่า 40 ปี และปัจจุบันมีเกษตรกรทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์อยู่ในระบบไม่น้อยกว่า 150,000-200,000 รายทั่วประเทศ ซึ่งผูกพันอยู่กับบริษัทเกษตรอุตสาหกรรมหลายสิบบริษัท น่าจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าเป็นระบบที่ประสบความสำเร็จในประเทศได้ แต่เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการ NGO และแม้แต่เกษตรกรเอง ยังมีมาโดยตลอดโดยเฉพาะประเด็นเรื่องความเป็นธรรมของสัญญา ทำให้เกษตรกรตกเป็นเบี้ยล่าง แล้วทำไมเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จและร่ำรวยจากระบบนี้ยังมีเป็นจำนวนมาก...พวกเขาทำอย่างไรกัน?


เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนมีโอกาสได้อ่านข้อคิดเห็นของ นายสมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง ในระหว่างการลงพื้นที่ติดตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และผลจากการทำเกษตรพันธสัญญา ที่จังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่า เกษตรพันธสัญญา ถือเป็นรูปแบบการประกอบกิจการด้านการเกษตรรูปแบบใหม่ที่มีประโยชน์ ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร พัฒนาให้ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น ถ้ามีการดำเนินงานที่ดี ก็จะนำไปสู่การกระจายรายได้แก่เกษตรกรมากยิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ควรยกเลิกระบบเกษตรพันธสัญญา แต่ควรจะต้องมีการกำกับดูแลปรับปรุงให้เกิดความยุติธรรม และรูปแบบของเกษตรพันธสัญญามาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีบทบาททางการเกษตรในอนาคต เพราะเป็นระบบที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถควบคุมหรือกำหนดทิศทาง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจจะกระต่อประเทศชาติได้

 

ก่อนหน้านี้ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ก็กล่าวกับหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ว่า การปฏิรูปภาคเกษตร ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องใหญ่ที่อยากทำให้เป็นเกษตรรูปแบบพันธสัญญา ให้มีสัญญาที่เป็นธรรม เพราะอยากจะเปลี่ยนชีวิตเกษตรกร ตามด้วยการมีประกันภัยภาคเกษตร ซึ่งแนวคิดนี้ สุดท้ายแล้วเกษตรกรต้องพึ่งบริษัทใหญ่เป็นพี่เลี้ยง ที่ใช้เทคโนโลยีเข้าควบคุมการผลิตและโรงงานทั้งหมด ซึ่งสิ่งสำคัญคือ สัญญาไม่เป็นธรรม ดังนั้นต้องทำให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย ซึ่งจะทำให้อยู่ร่วมกันด้วยดี และกำลังคิดเรื่องนี้เพื่อออกกฏหมายเขียนลงในรัฐธรรมนูญ


เห็นได้ว่าทั้งนักกฎหมายและนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของเมืองไทย เห็นพ้องว่าระบบเกษตรพันธสัญญามีความสำคัญต่อการปฏิรูปและพัฒนาภาคการเกษตรและเศรษฐกิจของประเทศ แต่จะต้องปรับแก้สัญญาให้มีความเป็นธรรมกับเกษตรกรเพื่อให้เกิดความยั่งยืน   


ส่วนตัวผู้เขียนเห็นด้วยว่า คอนแทรคฟาร์มเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาภาคการเกษตรของไทย โดยเฉพาะการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งในด้านการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ ที่แต่เดิมนั้นรูปแบบดั้งเดิม สู่ระบบฟาร์มทันสมัยใช้เทคโนโลยี และการจัดการที่มีประสิทธิภาพ สู่ความสามารถในการแข่งขันทั้งในเรื่องต้นทุนการผลิต คุณภาพสินค้าและความปลอดภัยทางอาหาร  


อย่างไรก็ตาม การเกษตรของไทยมีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่และมีความเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะด้านปศุสัตว์ที่มีการพัฒนาทั้งรูปแบบการเลี้ยง ระบบการจัดการที่เข้าสู่มาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น แน่นอนการลงทุนต้องสูงขึ้นตามไปด้วย เกษตรกรที่ต้องลงทุนด้วยวงเงินสูงได้จำเป็นต้องมีหลักประกันที่มีมูลค่าน่าเชื่อถือเพื่อยืนยันความสามารถในการจ่ายหนี้  ซึ่งหลักประกันด้านตลาดและหลักประกันด้านราคาจะเป็นหลักประกันสำคัญเรื่องรายได้ของเกษตรกร


คอนแทรคฟาร์ม จึงถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมด้านการเกษตรอย่างหนึ่งที่ตอบโจทย์เรื่องนี้ โดยการทำสัญญาซื้อล่วงหน้าให้กับเกษตรกร ด้วยการกำหนดราคาไว้ล่วงหน้าและมีการกำหนดว่าจะรับซื้อผลผลิตทั้งหมด จึงกลายเป็นหลักประกันอย่างหนึ่งของเกษตรกรว่ามีรายได้แน่นอน ทำให้กล้าที่จะลงทุน อีกหนึ่งข้อดีของระบบนี้ คือการช่วยลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกร เนื่องจากมีหลักประกันที่ทำให้เขามั่นใจว่า เมื่อถึงเวลาแล้วจะสามารถขายสินค้าได้มีตลาดรองรับผลผลิตและราคาพบปะแน่นอน หรือมีกติกาเรื่องราคาที่ชัดเจน


จากเกษตรกรภายใต้เกษตรพันธสัญญาทั่วประเทศ 150,000-200,000 รายนั้น ในจำนวนนี้เป็นสัญญาในภาคปศุสัตว์ประมาณ 50,000 ราย  ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ต้องเป็นคนในวงการจึงจะรับทราบข้อมูล ยกตัวอย่างบริษัทผู้ผลิตและส่งออกไก่ขนาดใหญ่และขนาดกลางจำนวน 35 บริษัท ที่เป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออก ต่างมีบทบาทและดำเนินธุรกิจในระบบคอนแทรคฟาร์มกับเกษตรกร โดยแต่ละบริษัทจะมีการกำหนดรูปแบบสัญญาเป็นมาตรฐานของตัวเอง ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่จะวางมาตรฐานไว้สูง โดยให้ความสำคัญกับการกำกับการผลิตมาก เพราะต้องเข้มงวดและควบคุมเรื่องคุณภาพ เพื่อให้มั่นใจระบบตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนความน่าเชื่อถือและภาพพจน์ของบริษัท


สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่ผู้เขียนเห็นออกมาเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับระบบเกษตรกรพันธสัญญา คือ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) ว่ามีจำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการคอนแทรคฟาร์มจำนวน 5,000 ราย หรือประมาณ 10% ของจำนวนคอนแทรคฟาร์มภาคปศุสัตว์ทั่วประเทศ ที่น่าสนใจคือเกษตรกรที่ร่วมโครงการกับบริษัทนี้มากกว่า 10 ปี มีมากกว่า 50% ในกลุ่มนี้ยังรวมถึงเกษตรกรรุ่นแรกที่ทำสัญญากับบริษัทตั้งแต่บริษัทริเริ่มนำรูปแบบคอนแทรคฟาร์มมาใช้ในการดำเนินธุรกิจเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2518 คำถามที่ตามทำไมเกษตรกรเหล่านี้จึงไม่หนีหายไปไหน อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขายังคงซื่อสัตย์และยอมรับข้อตกลงของสัญญามาเป็นระยะยาวนานเช่นนี้


สำหรับผู้เขียน การที่เราจะเลือกและยอมรับใครหรือสิ่งใด ความพึงพอใจและความมั่นใจจะเป็นตัววัดที่สำคัญและเป็นคำตอบ จากประสบการณ์การลงพื้นที่ พบว่าเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในโครงการคอนแทรคฟาร์มนั้น เป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้า มีวินัยในการทำงานและปฏิบัติตามคำแนะนำทางวิชาการและการถ่ายทอดเทคโนโลยีของผู้แทนบริษัทซึ่งทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง  ที่น่ายกย่องคือเกษตรกรจำนวนไม่น้อยนอกจากจะเพิ่มผลผลิตและคุณภาพได้มาตรฐานตามเป้าหมายแล้ว พวกเขายังสามารถพัฒนาต่อยอดสร้างนวัตกรรมเป็นของตนเองและยังถ่ายทอดให้กับเกษตรกรในละแวกเดียวกันด้วย


สิ่งที่เกษตรกรได้เรียนรู้นั้น ถูกนำไปถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นไปเพียงแต่ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรคอนแทรคฟาร์มให้ดีขึ้น ที่สำคัญรุ่นลูก-รุ่นหลานของพวกเขาได้รับการศึกษาที่ดีจากรายได้ที่มั่นคงของพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้คนรุ่นลูกกลับไปสานต่อธุรกิจของครอบครัวและพร้อมจะพัฒนาปรับเปลี่ยนธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภค สู่การผลิตอย่างยั่งยืนต่อไป

cr.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

Other Activities
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
31 Mar 2021
เนื้อแปรรูปไม่ใช่ผู้ร้าย เพียงรู้และเข้าใจ บริโภคอย่างปลอดภัย
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
09 Feb 2021
กรมปศุสัตว์ย้ำเนื้อสัตว์ปลอดภัย ปลอดโควิด แนะเลือกซื้อแหล่งมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" เน้นทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
29 Jan 2021
เนื้อสัตว์ปรุงสุกทานได้ปลอดภัย ย้ำ!! อาหารไม่ใช่แหล่งแพร่โควิด-19
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
14 Jan 2021
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
Cpfworldwide.com use cookies for the best experience on our website, including to provide ads of products/service for your personalize content.
For more information see our information on Cookies Policy
x